วิธีจับลูกเรอ ทำอย่างไร? เมื่อทารกกินนมเสร็จแล้วไม่ว่าจะเป็นการดูดนมแม่จากเต้า หรือดูดนมจากขวด วิธีเรอเมื่อเจ้าหนูอิ่มแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ จับเรอ เพราะตอนกินนม ลูกมักจะกินลมเข้าไปด้วยโดยไม่รู้ตัว และไม่สามารถเรอออกมาได้เอง ดังนั้นการจับเรอเพื่อให้ลมที่ผ่านเข้าไปในท้องได้ออกมาด้วยนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ดูดนมจากขวด วิธีจับลูกเรอ เทคนิคจับลูกเรอ ควรทำอย่างไรต้องมาดู
ทำไมต้องจับเด็กเรอ
การเรอช่วยให้ระบบย่อยในท้องน้อย ๆ ของลูกทำงานได้ดีขึ้น ขณะดูดนม ลูกจะกลืนลมเข้าไป และรู้สึกอิ่มอึดอัดมากกว่าที่เป็น การกำจัดลมในท้องทั้งระหว่าง และหลังให้นมแต่ละมื้อ จะช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง และทำให้ท้องว่างรับนมเพิ่มขึ้นได้อีกด้วยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ จึงต้องรู้จักวิธีอุ้มลูกเรอ ที่ถูกต้องเพื่อช่วยให้ลูกน้อยสบายท้องมากขึ้นนั่นเอง ลมที่ติดอยู่ในท้อง อาจนำไปสู่อาการโคลิค (หรือที่คนไทยเราเรียกว่าร้องร้อยวัน) ซึ่งลูกจะปวดมาก การเรียนรู้วิธีพาลูกเรอแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณสามารถขอคำปรึกษาจากกุมารแพทย์ หรือคลินิกนมแม่ได้ทุกเมื่อค่ะ

ควรจับเรอตอนไหนบ้าง
โดยมากมักต้องไล่ลมในช่วงครึ่งทางของการให้นม และทำอีกครั้งหลังให้นมเสร็จ การไล่ลมก่อนให้นมจะช่วยบรรเทาอาการได้ หากลูกมีอาการแน่นท้องมากหรือแหวะนมออกมามากหลังให้นม คุณแม่หลาย ๆ ท่านมักมีความกังวล เนื่องจากไม่สามารถช่วยให้ลูกเรอได้อย่างถูกต้อง หรือช่วยแล้วลูกกลับไม่ยอมเรอ มาดูกันค่ะว่า วิธีการจับลูกเรอ และท่าอุ้มเรอนั้นมีวิธีใดบ้าง
วิธีจับลูกเรอ วิธีอุ้มลูกเรอ วิธีเรอ ให้ได้ผลชะงัด
- อุ้มลูกให้นั่งตรง ๆ พิงอกคุณโดยใช้หัวไหล่และคางของคุณช่วยรับน้ำหนักลูกไว้ ใช้มือหนึ่งประคองคอของลูกและอีกมือตบหลังลูกเบา ๆ
- ให้ลูกนั่งตรงๆ บนตักคุณและใช้มือหนึ่งประคองส่วนอกของลูกไว้ เอนตัวลูกไปข้างหน้าเล็กน้อยและตบหลังลูกเบาๆ คุณอาจลูบหลังลูกเป็นวงกลมเพื่อกระตุ้นให้เรอด้วยก็ได้ค่ะ
- วางลูกคว่ำลงบนตักของคุณ ใช้มือหนึ่งประคองใต้อกลูก ขณะที่อีกมือลูบหลังเป็นวงกลมหรือตบเบา ๆ
- ถ้าลูกเรอไม่ออก ลองงอขาลูกขึ้นไปที่หน้าอก วิธีนี้อาจช่วยขับลมออกมาได้ค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : นมสำหรับคนท้อง แม่ท้องกินนมอะไรดี เลือกยังไงให้เหมาะกับแม่ท้อง!
3 ท่าอุ้มเรอให้ได้ผลชะงัก เทคนิคจับลูกเรอ !!!
1. ท่าอุ้มเรอ แบบพาดบ่า

ท่าอุ้มพาดบ่า เป็นท่าอุ้มเรอที่นิยมที่สุดและทำได้ง่าย โดยคุณแม่อุ้มลูกหันหน้าเข้าหาตัว ประคองศีรษะลูกวางบนบ่าหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ใช้มือข้างที่ถนัดประคองต้นคอลูกไว้ ส่วนมืออีกข้างประคองก้นลูกไว้ ท่านี้ไหล่ของคุณแม่จะช่วยนวดลิ้นปี่ของลูกไปในตัวอย่างเบา ๆ ทำให้ลูกเรอได้
2. ท่าอุ้มเรอ แบบนั่งบนตัก

ท่าอุ้มเรอแบบนั่งบนตัก ท่าอุ้มเรอท่านี้ให้คุณแม่จับลูกนั่งตักใช้มือข้างที่ถนัดประคองช่วงคางลูกเอาไว้ จากนั้นโน้มตัวลูกเล็กน้อย หลังตรง อุ้งมือของคุณแม่จะอยู่บริเวณลิ้นปี่ของลูก ให้ทิ้งน้ำหนักตัวลูกมากดทับที่มือของคุณแม่ จะช่วยคลึงท้องลูกเพื่อช่วยไล่ลมออก ส่วนมืออีกข้างให้ลูบหลังเบา ๆ ทำสักพัก 5-10 นาที ลูกก็จะเรอออกมาค่ะ
3. จับลูกเรอ แบบวางเด็กบนหน้าตัก

ท่าอุ้มเรอท่านี้ให้คุณแม่อุ้มลูกให้นอนคว่ำ ให้ช่วงหน้าอก บริเวณลิ้นปี่ของลูกอยู่บนหน้าขา โดยคุณแม่นั่งบนเก้าอี้ท่าชันเข่า ใช้มือข้างที่ถนัดประคองช่วงไหล่ลูก ใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังลูกเบา ๆ หน้าขาคุณแม่จะช่วยนวดเบา ๆ ที่ท้องลูก เพื่อช่วยไล่ลมให้ลูกได้เช่นกัน
ข้อควรรู้และควรระวัง
- ทุกครั้งที่จับลูกเรอ ให้คุณแม่เตรียมผ้าอ้อมสะอาดไว้ใกล้มือ เวลาที่ลูกแหวะนมออกมาจะได้หยิบใช้สะดวก
- ทุกครั้งที่คุณแม่อุ้มลูก ต้องใช้มือข้างที่ถนัดประคองต้นคอลูกไว้เสมอนะคะ เพราะกล้ามเนื้อต้นคอของเจ้าหนูยังไม่แข็งแรงพอนั่นเอง
- แม้ในช่วงกลางคืนที่ลูกตื่นมากินนม คุณแม่ก็ต้องจับลูกเรอเช่นกันนะคะ ลูกจะได้สบายท้อง นอนหลับต่อได้ไม่โยเย สำหรับเด็กที่ดูดนมจากเต้าจะมีลมเข้าท้องน้อยกว่าเด็กที่ดูดนมจากขวดนมค่ะ
- ให้ลูกกินนมแม่ เพราะการกินนมแม่จะช่วยลดการเอาลมเข้าปาก เข้าท้องมากกว่าการกินนมจากขวดนม ปัจจุบันมีขวดนมที่ป้องกันลมเข้าท้อง ขวดจะมีลักษณะโค้งงอ เมื่อลูกยกขวดดูดนม น้ำนมในขวดจะไหลออกมากันอากาศเข้า
- เวลาที่คุณแม่ป้อนนมจากขวด ท่าอุ้มให้อุ้มลูกเข้าอกเหมือนกับเวลาที่ให้นมแม่ค่ะ เพราะท่านี้เมื่อลูกยกขวดนมน้ำนมจะเต็มขวดอยู่เสมอไม่เหลือที่ว่างลดการดูดอากาศจากขวดนม ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนแล้วยกขวดป้อนลูก เพราะมีโอกาสที่ลมจะเข้าท้องได้มากค่ะ
ข้อควรระวังขณะจับลูกเรอ : ทุกครั้งที่จับลูกเรอ ให้เตรียมผ้าอ้อมสะอาดไว้ใกล้มือ เวลาที่ลูกแหวะนมออกมาจะได้หยิบใช้สะดวก และทุกครั้งที่อุ้มลูก ต้องใช้มือข้างที่ถนัดประคองต้นคอลูกไว้เสมอ เพราะกล้ามเนื้อต้นคอของลูกยังไม่แข็งแรง
จับลูกเรอถึงกี่เดือน
แน่นอนว่าในช่วง 0 – 3 เดือน จำเป็นต้องอุ้มลูกเรออยู่นะคะ เพราะระบบการย่อยอาหารของลูกยังทำงานได้ไม่ดีค่ะ ทารกบางคนคุณแม่อาจจะต้องอุ้มเรอยาวนาน 6 -7 เดือนก็มีค่ะ แต่ส่วนใหญ่เมื่อลูกพลิกคว่ำพลิกหงายได้เองแล้ว คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องไล่ลมให้ทุกมื้อก็ได้ค่ะ
นำมากฝากค่ะ : คลิปอุ้มลูกเรออย่างได้ผล
จำเป็นหรือไม่ที่ต้องอุ้มลูกให้เรอทุกมื้อหลังทานนม?
คุณพ่อคุณแม่ควรอุ้มลูกให้เรอหลังทานนมทุกมื้อเพื่อช่วยไล่ลมให้ลูกสบายท้อง ดังกล่าวมาข้างต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วเด็กที่ทานนมโดยการเข้าเต้าคุณแม่อย่างถูกต้องอาจจะไม่ได้กลืนลมเข้าไปเยอะเหมือนกับนมขวด จึงอาจไม่จำเป็นต้องเรอบ่อย ๆ ทั้งนี้ เด็กแต่ละคนจะท้องอืดง่ายหรือยากต่างกัน ดังนั้น จึงควรอุ้มลูกให้เรอเป็นประจำหลังจากมื้อนม นอกจากนี้ หากอุ้มลูกให้เรอหลังจากทานนมแล้วยังดูกระสับกระส่ายหรือท้องอืด ก็สามารถอุ้มให้เรอซ้ำอีกครั้งได้นะคะ
หากอุ้มให้เรอนานแล้วแต่ลูกไม่ยอมเรอสักทีควรทำอย่างไร?
หลังจากลูกทานนม แล้วอุ้มให้ลูกเรอด้วยท่าใดท่าหนึ่งแล้วลูกยังไม่ยอมเรอเป็นระยะเวลานาน อาจลองเปลี่ยนเป็นอีกท่าหนึ่ง แต่หากเปลี่ยนท่าแล้ว ลูกก็ยังไม่เรอจริงๆ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจเพียงสังเกตอาการ หากลูกดูปกติ สบายดี ท้องไม่อืด ในบางมื้อนมลูกอาจจะไม่ได้มีลมในกระเพาะเยอะ จึงไม่จำเป็นต้องเรอก็ได้ค่ะ

ป้อนนมลูกไม่ให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทำยังไง
สาเหตุหลักที่ทำให้ลูกท้องอืดนั้น มาจากกระบวนการย่อยอาหาร ดังนั้นการป้อนนมของคุณแม่นั้นจึงมีผลโดยตรง กับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อของลูกน้อย ซึ่งเทคนิคที่จะทำให้คุณแม่ป้อนนมลูกได้อย่างถูกต้อง ป้อนแล้วลูกไม่ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีดังนี้
- ป้อนนมในปริมาณพอเหมาะ ไม่ให้ลูกดูดนมเร็วหรือช้าเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดแก๊สสะสมในกระเพาะอาหาร ทำให้ลูกท้องอืดได้ค่ะ
- จัดท่าทางอุ้มลูกให้เหมาะสมขณะให้นม ไม่ว่าจะให้นมจากเต้าหรือจากขวด คุณแม่ก็ควรอุ้มลูกขึ้นมา ยกศีรษะลูกให้อยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย จะทำให้น้ำนมไหลลงสู่ท้องได้ดีกว่านอนดูดนมค่ะ
- ยกขวดนมขึ้นระหว่างป้อนนม หรือเอียงขวดทำมุม 30-45 องศา เพื่อให้อากาศลอยอยู่ที่ก้นขวด ป้องกันอากาศไหลผ่านช่องว่างบริเวณจุกนม
- ทิ้งนม 2-3 นาทีหลังจากชงเสร็จ เพื่อให้ฟองอากาศแตกตัว ก่อนให้ลูกดูดจากขวด
- จับลูกเรอหลังให้นมเสร็จ ด้วยการอุ้มลูกพาดบ่า คางเกยไหล่ แล้วลูบหลังเขาเบา ๆ ประมาณ 10-20 นาที หรือจับลูกนั่งตัก ใช้มือประคองหัวลูกให้สูงกว่าหน้าอก แล้วใช้มืออีกข้างค่อย ๆ ลูบหลังเขาอย่างแผ่วเบา อ่อนโยน
บทความที่น่าสนใจ :
ลูกอาเจียน บอกสัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ควรระวัง
อุ้มลูกท่านี้ สบ๊าย สบาย แม่ไม่เมื่อยเลย รู้ไหม ท่าให้นมท่าไหนสบายทั้งแม่และลูก
วิธีปลุกทารกแรกเกิด ทารกนอนนานควรปลุกกินนมไหม ทารกแรกเกิดกินน้อย นอนนาน ต้องปลุกไหม
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิธีทำให้ลูกเรอ ได้ที่นี่!
เรอ จับให้ลูกเรอยังไงดีคะ แล้วทำไมต้องทำให้ลูกเรอคะ
burping ลูก คืออะไรเหรอคะ แล้วช่วยอะไรบ้างคะ
ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!