X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ? แพ้นมวัว วิธีแก้ไข และนมทางเลือก

บทความ 5 นาที
ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ? แพ้นมวัว วิธีแก้ไข และนมทางเลือก

เรามักจะพบเห็นเด็กรุ่นใหม่มักจะมีอาการแพ้นมวัว แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าลูกของเรานั้น แพ้นมวัวหรือไม่ ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ? เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรได้บ้าง แล้วเราจะสามารถเลือกนมชนิดไหน ที่จะมาใช้ทดแทน และยังได้คุณค่าทางโภชนาการได้อย่างสมบูรณ์บ้าง มาหาคำตอบไปด้วยกันค่ะ

 

ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ? แพ้นมวัว วิธีแก้ไข และนมทางเลือก

 

ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ?

ในความเป็นจริงของการแพ้นมวัวนั้น คือการแพ้โปรตีนที่อยู่ในนมวัว ซึ่งทารกในช่วงขวบปีแรกเมื่อให้ดื่มนมวัว หากเด็กเกิดอาการแพ้โปรตีนในนมวัว ในกรณีแพ้เฉียบพลัน อาการแพ้จะเกิดขึ้นทันที และในเด็กบางคน จะมีอาการแพ้ที่ค่อย ๆ แสดงมากขึ้นในช่วง 2 – 3 สัปดาห์ ซึ่งโดยเฉลี่ย เด็กทารกเกิดใหม่ที่มีอัตราการแพ้โปรตีนในนมวัว มีมากถึง 3% ทั่วโลก

ในขณะที่ประเทศไทยกลับมีเด็กทารกเกิดใหม่ ที่มีอาการแพ้โปรตีนในนมวัว ถึง 20,000 คน จากเด็กทารกที่เกิดใหม่ 700,000 คน ต่อปี โดยทั่วไป จะมี 3 อาการหลัก ดังนี้

 

  • อาการทางผิวหนัง : ซึ่งจะพบได้ทั้งแบบผื่นลมพิษ โดยจะเป็นผื่นแดง คัน ทั้งตัว หรือเป็นบางส่วนของร่างกาย หรืออาจเป็นผื่นคัน ฝ้าขาว นูน ก็ได้
  • อาการทางเดินหายใจ : ซึ่งอาจมีอาการตั้งแต่คัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกไหลเรื้อรัง มีเสมหะในลำคอหรือหลอดลม จนกระทั่งเป็นปอดอักเสบก็ได้
  • อาการทางเดินอาหาร : พบได้ตั้งแต่ อาการสำรอกนมหรืออาเจียนบ่อย ร้องกวนโคลิกทุกคืน ถ่ายเหลวเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งท้องผูกรุนแรง

 

ซึ่งอาการเหล่านี้ เด็กที่มีอาการแพ้ สามารถเกิดอาการทั้ง 3 อย่างพร้อม ๆ กัน หรือเป็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ จำเป็นจะต้องสังเกต และเฝ้าระวังให้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังคงฝืนให้เด็กทารกต่อ อาจส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว หรือเสี่ยงให้เกิดอันตรายกับตัวเด็กได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคภูมิแพ้อาหาร แพ้อาหาร คืออะไร สาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษา

 

ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ? แพ้นมวัว วิธีแก้ไข และนมทางเลือก

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกแพ้นมวัว

  • ทารกที่แพ้โปรตีนนมวัวโดยมากจะเป็นเกิดจากพันธุกรรม ที่พ่อ หรือแม่ หรือญาติมีประวัติการเป็นภูมิแพ้มาก่อน ซึ่งอาจจะแพ้อากาศ หรือแพ้อาหาร และอาจจะแสดงอาการ หรือไม่แสดงอาการก็ได้เช่นกัน
  • แม่ดื่มนมวัว หรือทานโปรตีนเป็นจำนวนมาก แต่สาเหตุนี้ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือไม่
  • ทารกที่ไม่ได้รับนมแม่ ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ และมีส่วนทำให้ลูกแพ้โปรตีนนมวัวได้ง่ายขึ้น
  • หลังคลอดแม่ดื่มนมวัวมากไป เมื่อลูกได้รับนมแม่จึงได้โปรตีนนมวัวที่ผ่านน้ำนมแม่ แต่สาเหตุที่ลูกน่าจะแพ้โปรตีนนมวัวเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้วก็เป็นได้

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว

ถ้าหากสงสัยว่าลูกของคุณแพ้นมวัว หรือแพ้โปรตีนในนมวัว หรือไม่ ให้ลองเปลี่ยนนมเป็นนมสำหรับผู้ที่แพ้โปรตีนนมวัวให้ลูกของคุณดื่ม ในระยะเวลาประมาณไม่เกิน 3 สัปดาห์ หากอาการแพ้ หรืออาการเรื้อรังต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกของคุณเริ่มจางหายไป แต่เมื่อกลับมาดื่มนมวัวแบบเดิม อาการแพ้ ก็จะกลับมาอีกครั้ง

การแพ้โปรตีนนมวัว เป็นโรคที่วินิจฉัยได้ช่วงแรกที่ดื่มยังไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา พอดื่มไปได้สักระยะ 1 – 2 สัปดาห์จึงแสดงอาการ หากแสดงอาการหลังดื่มทันที เช่น หน้าบวม ปากบวมแดง ลมพิษ อาเจียนมาก มีผื่นขึ้นตามใบหน้าหรือตามตัว บางรายถ่ายเป็นเลือดปนมูก ท้องเสียเรื้อรัง หรือหวัดเรื้อรัง หายใจครืดคราดนาน ๆ ดังนั้นจำเป็นต้องอาศัยการสังเกตอาการอย่าร่วมกับประวัติสัมพันธ์กับอาการ และหากไม่แน่ใจกับอาการที่เกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการหาสาเหตุ ที่แท้จริง

 

วิธีแก้ไขดูแลรักษา เมื่อลูกแพ้นมวัว

ทานนมแม่ให้นานที่สุดอย่างน้อย 4 – 6 เดือน เพื่อเป็นการป้องกัน และลดอาการแพ้โปรตีนนมวัว โดยมารดาที่มีลูกแพ้นมวัว ควรงดบริโภคนมวัวและอาหารที่ผลิตจากนมวัว เพราะพบว่านมวัวผ่านมาทางน้ำนมแม่ได้ ตัวเด็กงดทานนมวัว และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากนมวัว หากสงสัยว่าลูกเข้าข่ายแพ้นมวัว ควรมาพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและคำแนะนำ เกี่ยวกับการเปลี่ยนนมเป็นนมที่เหมาะสม และแนวทางการให้อาหารเสริมในเด็กต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : เปรียบเทียบสารอาหารในนม นมแพะ นมวัว นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมแบบไหนเหมาะกับเบบี๋?

 

ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ? แพ้นมวัว วิธีแก้ไข และนมทางเลือก

 

นมทางเลือกสำหรับลูกน้อยที่แพ้นมวัว

เมื่อสงสัยว่าลูกแพ้โปรตีนนมวัว ให้เปลี่ยนเป็นนมพิเศษ ซึ่งในประเทศไทยมีนมพิเศษอยู่ 4 ชนิด

  1. นมที่มีโปรตีนนมวัวย่อยละเอียด
  2. นมที่มีโปรตีนเป็นกรดอะมิโน
  3. นมจากเนื้อไก่
  4. นมข้าวอะมิโน เป็นนมที่มีโปรตีนเป็นกรดอะมิโน และน้ำตาลที่มาจากแป้งข้าวเจ้า

เมื่อเปลี่ยนจนทราบว่าลูกเหมาะกับนมชนิดใดชนิดหนึ่งก็ให้ลูกดื่มนมชนิดนั้นต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน จึงค่อยหาทางเปลี่ยนนมวัวภายหลัง

 

กลุ่มอาหารที่มีส่วนผสมของนมวัวที่ควรเลี่ยง

กลุ่มผลิตภัณฑ์นม

  • นมวัว ไขมันจากนมวัว นมข้นจืด และนมข้นหวาน
  • ชีสทุกชนิด
  • อาหารประเภทครีม เช่น วิปครีม (Whipped Cream)
  • เครื่องดื่มผสมนมหรือไอศกรีม เช่น Malted milk
  • เนย ไขมันเนย (Butter fat butter solids) น้ำมันเนย (Ghee)
  • โยเกิร์ต
  • นมที่ผ่านการหมักด้วยเม็ดบัวหิมะ (Ker)
  • คาราเมล
  • พุดดิ้ง
  • คัสตาร์ด หรือสังขยา
  • ช็อกโกเลต
  • ขนมหวานกรอบแข็ง (Nougut)
  • อาหารที่ส่วนประกอบของโปรตีนเวย์ (Whey) หรือเคซีน (Casein) เช่น Calciuam Caseinate,Iron Caseinate,Zinc Caseinate
  • น้ำตาลแล็กโทส และ Lactulose

 

กลุ่มอาหารที่อาจมีการปนเปื้อนของนมวัวในกระบวนการผลิต (หรืออ่านฉลากโภชนาการเสมอ)

  • เนื้อโคและไส้กรอก
  • มาร์การีน (Margarine)
  • ขนมปัง และขนมอบ (พัฟฟ์-พาย)
  • ซุปและผงซุปพร้อมดื่ม
  • ซีเรียลผง
  • ลูกอมหรือขนมเจลลีชนิดเคี้ยวหนึบ
  • การแต่งกลิ่นธรรมชาติ และกลิ่นสังเคราะห์ (Natural and articial favorings)
  • ข้าวมันต่าง ๆ
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนสูง (High protein product)

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ? แพ้นมวัว วิธีแก้ไข และนมทางเลือก

 

ลูกสามารถหายขาดจากอาการแพ้นมวัวได้หรือไม่

มีตัวเลขอัตราการหายขาดจากการแพ้โปรตีนนมวัว ดังนี้

  1. อายุ 12เดือน อัตราหายประมาณ 70%
  2. อายุ 18 เดือน อัตราหายประมาณ 75%
  3. อายุ 2 ปี อัตราหายประมาณ 80%
  4. อายุ 3 ปี อัตราหายประมาณ 90%

และมีเพียง 1% เท่านั้น ที่อาจจะแพ้จนเกินอายุ 10 ปี

 

การย่อยแล็กโทสบกพร่องรักษาได้

ในผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์แลกเทสชั่วคราว แนะนำให้หลีกเลี่ยงการกินนมที่มีน้ำตาลแล็กโทส หรือกินนมสูตรเดิมปริมาณครึ่งหนึ่งของที่เคยกินอยู่ แล้วค่อย ๆ เพิ่ม ในรายที่มีอาการมากควรเลือกกินนมสูตรนมถั่ว นมวัวสูตรแล็กโทสฟรี หรือ โยเกิร์ตซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ได้เติมจุลินทรีย์ที่ได้ย่อยแล็กโทสไปบางส่วนแล้ว

ในทารกที่ทานนมแม่ให้มารดาปั๊มนมส่วนหน้าที่มีน้ำตาลแล็กโทสสูงออกก่อน และให้ทานนมส่วนหลังเมื่ออาการดีขึ้นจึงค่อยกินนมสูตรปกติแต่ให้กินปริมาณน้อย ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มเพื่อให้ลำไส้ปรับตัว

 

อย่างไรก็ตาม อาการแพ้นมวัว หรือแพ้โปรตีนนมวัว มักจะเกิดจากโภชนาการของคุณแม่ทั้งขณะที่ตั้งครรภ์ และหลังคลอด ดังนั้นนอกจากจะต้องระมัดระวังเรื่องของนมที่ให้กับลูกน้อยของคุณทานแล้ว ในกรณีที่คุณแม่ให้นมแม่ร่วมด้วย คุณแม่จำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของโปรตีนนมวัว เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย และสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องกินเวย์ได้ไหม Whey Protein ดีกับคนท้อง และทารกในครรภ์จริงหรือไม่

ลูก แพ้นมวัว ดูแลอย่างไร ไม่ขาดสารอาหารสำคัญ

“7 ข้อ ที่พ่อแม่ต้องรู้” เมื่อลูกแพ้โปรตีนนมวัว

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • โรคภูมิแพ้
  • /
  • ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ? แพ้นมวัว วิธีแก้ไข และนมทางเลือก
แชร์ :
  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ