TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การนอนหลับผิดปกติ ของลูกน้อย แบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ?

บทความ 5 นาที
การนอนหลับผิดปกติ ของลูกน้อย แบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ?

การนอนหลับผิดปกติ ของลูกน้อย ร่างกายของลูกที่กำลังเจริญเติบโต จะใช้พลังงานและมีการเผาผลาญแคลอรีได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ นอกจากการกินเป็นมื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อแล้ว ลูกก็ต้องนอนมากกว่าผู้ใหญ่ด้วยค่ะ มาดูกันค่ะว่า ลูกนอนแบบไหนผิดปกติ หากลูกมีความผิดปกติด้านการนอนหลับแล้วละก็ แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อลูกด้านร่างกาย สมอง และความเครียดทางอารมณ์ แต่ปัญหาการนอนของลูกไม่ได้กระทบแค่ลูกนะคะ เพราะถ้าลูกน้อยนอนไม่พอ ก็จะหงุดหงิด งอแง อารมณ์เสีย ทำให้กระทบกับคุณพ่อคุณแม่และคนอื่น ๆ ในบ้านด้วยค่ะ

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกมีปัญหาด้านการนอน

  • แพ้อาหาร ปวดท้องร้องโคลิค ปวดจุกเสียด ทำให้หงุดหงิด
  • ปัญหาพฤติกรรม เช่น ร้องไห้เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
  • บางสาเหตุของปัญหาอาจจะร้ายแรงได้ เช่น เกิดความผิดปกติด้านทางเดินหายใจที่เกิดจากต่อมอดีนอยด์โต (ต่อมน้ำเหลืองหลังโพรงจมูก) เกิดภาวะหายใจลำบากที่เกิดจากกรดไหลย้อน
  • สาเหตุอื่นๆ นั้น สามารถวินิจฉัยได้โดยการทดสอบที่เรียกว่า polysomnography

 

ประเภทของความผิดปกติด้านการนอน

  • นอนเดินละเมอ (Sleepwalking)
  • ผวาตื่น (Night terrors)
  • กรน (Snoring)
  • โรคเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ (Rhythmic movement disorders)
  • ไม่ยอมนอนในเวลาที่กำหนด (Limit setter sleep disorder)
  • ฝันร้าย (Nightmares)
  • โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA)
  • นอนหลับไม่เพียงพอหรือไม่เต็มอิ่ม (Insufficient sleep syndrome)
  • นอนยาก (Sleep onset difficulty)

 

อาการที่บ่งบอกว่าลูกมีปัญหาด้านการนอน

  • นอนหลับยาก ทำอย่างไรก็ไม่ยอมหลับสักที
  • กรน
  • มีการกลั้นหายใจเวลานอน
  • ตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง
  • นอนละเมอหรือฝันร้าย
  • นอนดิ้น
  • เหงื่อออกเยอะระหว่างคืน หรือมีอาการฝันร้าย หวาดผวาระหว่างการนอน
  • สำลักหรือไอระหว่างนอน
  • หายใจมีเสียง
  • หายใจทางปาก
  • งัวเงียหรือง่วงในเวลากลางวัน
  • เดินละเมอ
  • ตอนกลางวัน หรือช่วงที่ตื่น จะคึกและแอดทีฟมากกว่าปกติ

บทความที่น่าสนใจ : ลูกนอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี? ทำไมเด็กต้องเคี้ยวฟันตัวเอง แก้ไขได้อย่างไร?

 

baby sleeping abnormally

ผลเสียจากปัญหาด้านการนอนหลับ ลูกนอนหลับไม่สนิทตอนกลางคืน

แม้จะเป็นปัญหาที่ดูไม่มีพิษมีภัยและเด็กหลายคนเป็น จนกลายเป็นเรื่องปกติ แต่ผลเสียที่ตามมานั้นกลับไม่ธรรมดาเสียเลย การที่ลูกนอนกลับไม่สนิททำให้โกรทฮอร์โมนหลั่งได้น้อย ไม่หลั่ง หรือหลั่งได้ไม่เต็มที่ จะกระทบต่อคุณภาพชีวิตในอนาคตของเขา เด็กผู้ชายจะมีแนวโน้มมีปัญหาด้านการนอนหลับมากกว่าเด็กผู้หญิง ซึ่งจะทำให้น้ำหนักและส่วนสูงตกเกณฑ์ และสุขภาพจิตที่ไม่ค่อยดีนัก นอกจากนี้หากเด็ก ๆ ไม่ได้นอนอย่างเพียงพอ จะส่งผลทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างเช่น

  • เกิดอุบัติเหตุ
  • ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ช้าลง
  • กระทบต่อการเรียน
  • มีพฤติกรรมที่หงุดหงิด และฉุนเฉียว
  • มีปัญหาด้านความจำและสมาธิ
  • มีปัญหาด้านการเรียนรู้
  • บาดเจ็บได้
  • การเข้าสังคมลดลง หรือไม่ยอมสุงสิงกับเพื่อนๆ

 

วิธีรับมือ ปัญหาการนอนของลูก ทารกดิ้นไปมา

  • ปรับเวลาการกินอาหารมื้อใหญ่ ให้ห่างจากเวลานอน อย่างน้อย 6 ชั่วโมง และไม่ให้กินอาหารที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  • ก่อนนอนควรสร้างบรรยากาศการนอนให้สงบเงียบ มีการอ่านนิทานก่อนนอน หรือ อาบน้ำอุ่น จะทำให้ลูกสงบขึ้น
  • อุณหภูมิในห้องนอนต้องไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป ยิ่งมืดมากเท่าไหร่ยิ่งดีค่ะ
  • ในห้องนอนไม่ควรมีเสียงรบกวน ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากทีวี เสียงเพลง หรือแม้แต่เสียงมือถือ ให้เงียบที่สุดที่จะเป็นไปได้
  • งดเล่นเกมเล่นมือถือ แทปเล็ตต่างๆ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนนอนค่ะ
  • หากลูกง่วงนอน ไม่ว่าจะถึงเวลานอนหรือไม่ ควรรีบเอาลูกเข้านอนเลยนะคะ
  • ทำตารางเวลา และฝึกลูกให้นอนเป็นเวลาค่ะ หากลูกเป็นเด็กพลังเยอะ อย่าลืมหากิจกรรมให้ทำระหว่างวัน ควรเป็นกิจกรรมที่ออกแรงเยอะหน่อย เช่น ปล่อยให้คืบคลานเยอะๆ แต่ควรจะเว้นช่วงให้ห่างจากเวลานอนสักหน่อย

 

baby sleeping abnormally

 

ท่านอนของลูกแบบไหนปลอดภัย

คุณแม่ที่ต้องการให้ลูกน้อยมีรูปทรงศีรษะที่สวย หรือ ทารกแรกเกิดที่มีลักษณะหัวแบน หัวเบี้ยว การปรับรูปทรงศีรษะของทารกให้ทุยเข้ารูป สามารถเริ่มทำได้ในช่วงอายุแรกเกิด – 1 ปี เนื่องจาก กระดูกของกะโหลกศีรษะทารกยังอ่อน ด้วยการจัดท่านอนที่เหมาะแต่ละช่วงอายุของทารก คือ

  • ทารกแรกเกิด – 3 เดือน

ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับทารกในวัยนี้ คือ ท่านอนหงาย และนอนตะแคง ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด ควรจัดศีรษะให้ทารกสลับด้านบ่อย ๆ ในระหว่างนอนหลับ เนื่องจาก เป็นช่วงที่กะโหลกศีรษะอ่อนที่สุด ทารกวัยนี้ยังไม่แข็งแรงพอ โดยเฉพาะ กระดูกคอ กระดูกสันหลัง จึงไม่เหมาะสมที่จะให้ลูกนอนในท่าคว่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกเสียชีวิต ในขณะนอนหลับ หรือภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)

  • ทารก 4 – 6 เดือน

กระดูกของลูกในวัยนี้ เริ่มแข็งและสามารถยกคอได้แล้ว คุณแม่สามารถให้ลูกนอนคว่ำได้อย่างปลอดภัย เพราะ ข้อดีของการให้ลูกนอนคว่ำ นั้นจะช่วยเสริมพัฒนากล้ามเนื้อคอ และพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูกได้ดี และสามารถช่วยปรับรูปทรงของศีรษะทารกให้หัวทุยสวยได้ ทั้งยังช่วยลดการนอนสะดุ้งหรือผวาที่ถือว่า เป็นการอาการที่มักพบบ่อยสำหรับทารกในช่วงวัยนี้ด้วย

  • ทารก 7-12 เดือน

ทารกในวัยนี้ เริ่มมีพัฒนาการทางร่างกายที่แข็งแรงขึ้น สามารถนอนได้ทั้ง 3 ท่า คือ นอนหงาย นอนตะแคง และ นอนคว่ำ ทารกจะเริ่มพลิกคว่ำนอนหงายได้ด้วยตัวเองแล้ว ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่ควรปรับที่นอนของลูกให้เหมาะสม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อย โดยเบาะรองนอนนั้น ควรให้อยู่ในแนวราบบนพื้นห้อง ซึ่งสะดวกต่อคุณแม่เวลาแม่จะให้นมที่ง่าย และปลอดภัยด้วย และเมื่อลูกพร้อมคลานก็จะคลานออกจากเบาะได้ง่ายโดยไม่เจ็บตัว

 

โดยที่นอนที่เหมาะสมสำหรับทารก ควรเป็นที่นอนแบบไม่ยุบตัว ไม่ควรนิ่มเกินไป ที่นอนควรเรียบเสมอกัน ไม่มีรอยแยกระหว่างหัวเตียงหรือด้านข้างของเตียง เอื้อต่อการกลิ้งตัวไปมาของทารก และ การจัดท่านอนอย่างถูกต้องให้กับทารกในช่วงขวบปีแรก นอกจากจะช่วยในเรื่องความปลอดภัยของลูกน้อยเป็นสำคัญแล้ว ก็ยังช่วยทำให้คุณแม่หายกังวลเรื่องรูปทรงศีรษะของเจ้าตัวน้อยที่จะได้หัวทุยสวยตามไปด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เด็กที่มีนิสัยเลือกกิน: ลูกกินข้าวช้า

สอนไม่ทำ สั่งไม่จำ วิธีสอนลูกแบบใหม่ สอนลูกให้ยอมทำตาม แบบง่าย ๆ

ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

ที่มา : momjunction

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • การนอนหลับผิดปกติ ของลูกน้อย แบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ?
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว