X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สอนไม่ทำ สั่งไม่จำ วิธีสอนลูกแบบใหม่ สอนลูกให้ยอมทำตาม แบบง่าย ๆ

บทความ 5 นาที
สอนไม่ทำ สั่งไม่จำ วิธีสอนลูกแบบใหม่ สอนลูกให้ยอมทำตาม แบบง่าย ๆ

สำหรับรายการ TAP Ambassador ของเราในสัปดาห์นี้ มาพร้อมกับประเด็นที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านให้ความสนใจ โดยหัวข้อในวันนี้คือ สอนไม่ทำ สั่งไม่จำ วิธีสอนลูกแบบใหม่ สอนลูกให้ยอมทำตาม แบบง่าย ๆ ซึ่งในวันนี้  theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันกับคุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

 

สอนไม่ทำ สั่งไม่จำ วิธีสอนลูกแบบใหม่ สอนลูกให้ยอมทำตาม แบบง่าย ๆ

ภาพจาก pixabay.com

 

จริงหรือไม่ยิ่งลูกดื้อ ยิ่งลูกซน หมายความว่าลูกมีพัฒนาการที่ดี ?

ในส่วนตรงนี้จะต้องดูก่อนว่าเด็กมีความซน ความดื้อในระดับไหน เพราะ เด็กที่ดื้อและเด็กที่ซน จะมีหลายระดับ ซึ่งเรียกได้ว่า ในระดับหนึ่งจะเป็นเรื่องของพัฒนาการปกติ กับอีกด้านนึงที่มาจากความคาดหวังของพ่อแม่ เช่น พ่อแม่มักจะคาดหวังว่า ลูกจะต้องเชื่อฟังเรา ซึ่งคุณพ่อคุณแม่มักจะสงสัยว่า ทำไมเด็กที่อายุราว ๆ 1 – 2 ขวบ เมื่อพูดอะไรไปเด็กก็จะขัดขืน ดื้อ พูดอย่างทำอีกอย่าง ซึ่งจริง ๆ แล้วตรงนี้จะเป็นพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ เพราะเด็ก ๆ เริ่มที่จะมีความคิด ความต้องการเป็นของตัวเอง และเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 3 – 4 ขวบ เด็กก็จะรู้ว่า ต้องทำอย่างไรถึงจะถูก อย่างไหนที่ควรทำ และไม่ควรทำ

บทความที่น่าสนใจ : เด็กดื้อต้องถูกทำโทษ ลงโทษอย่างไรให้ลูกหายดื้อ แต่ทำไมยิ่งทำโทษลูกยิ่งดื้อ !

 

ถ้าลูกยิ่งโตยิ่งดื้อ จะมีวิธีใดบ้างที่จะทำให้ลูกเชื่อฟัง

สำหรับศิลปะในการสั่งเด็ก หรือการทำให้ลูกเชื่อฟัง เช่น ต้องการให้ลูกไปอาบน้ำ ก็จะเป็นการชวนลูกไปดูพี่เป็ดในห้องน้ำ โดยวิธีการสั่ง ก็จะมีการสั่งหลาย ๆ แบบ เช่น อาจจะเป็นการเชิญชวน หลอกล่อ เพราะเด็กในวัยนี้ เป็นวัยที่ไม่อยากทำตามคำสั่ง และถ้ายิ่งออกคำสั่ง ก็จะทำให้เด็กไม่อยากฟัง หรือจะเป็นการเพิ่มตัวเลือกให้ลูก เช่น ต้องการให้ลูกแปรงฟัน ก็จะเป็นการเพิ่มตัวเลือกให้กับลูกโดยการถามว่า จะใช้ยาสีฟันรสไหนดี เพื่อทำให้เด็กรู้สึกว่าไม่ได้โดนสั่ง และได้เลือกด้วยตัวเอง หรือจะเลือกใช้อีกหนึ่งวิธีการที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ การท้าทายเด็ก เพราะเด็กในวัยนี้มีความบ้ายอ และเชื่อมั่นว่าตัวเองทำได้ โดยวิธีการหลอกล่อก็ง่าย ๆ เช่น เมื่อลูกไม่ยอมทำการบ้าน ก็ให้หลอกล่อโดยการบอกกับลูกว่า ลูกจะทำได้ไหม เพื่อเป็นการท้าทายให้ลูกทำการบ้านให้เสร็จ

 

สอนไม่ทำ สั่งไม่จำ วิธีสอนลูกแบบใหม่ สอนลูกให้ยอมทำตาม แบบง่าย ๆ

ภาพจาก shutterstock.com

 

สำหรับวิธีการถัดมาจะเป็นการอ้อน เพื่อให้ลูกทำตาม เช่น “ลูกคะ รบกวนหนูช่วยไปหยิบน้ำให้แม่หน่อยได้ไหมคะ นิดนึงค่ะ” หรือ จะมีใครหยิบน้ำให้แม่ไหมคะ และถ้ายิ่งมีลูกในวัยใกล้เคียงกัน ก็จะยิ่งทำให้ลูก ๆ แข่งกันเอาใจ และวิธีสุดท้าย คือการตั้งกติกา เช่น 7 โมงเช้าจะเป็นเวลาอาบน้ำ และเมื่อลูกไม่ทำตามก็จะต้องมีวิธีดุ โดยจะต้องเป็นการดุที่ไม่รุนแรงเกินไป และจะต้องไม่ดุพร่ำเพรื่อ โดยจะต้องดุให้จบ และอย่าบ่นยืดเยื้อ เพราะนอกจากจะไม่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้แล้ว ยังทำให้เด็กเกิดความกลัว และจะทำให้สมองเด็กหลังฮอร์โมนส์คอร์ติซอล หรือฮอร์โมนส์ความเครียด ทำให้กดการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ได้ไม่ดี

 

บทความที่น่าสนใจ : สยบ! ลูกดื้อ เอาแต่ใจ ด้วย Positive Parenting เทรนด์ใหม่ของการเลี้ยงลูก

 

หากพ่อแม่ดุลูก หรืออ้อนลูก แต่เด็กไม่ยอมฟัง ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ด้วยไหม

ในส่วนนี้ต้องบอกว่า มีความสำคัญมาก ๆ เพราะโดยปกติเราจะเชื่อคนที่เรารู้สึกว่า คนที่เขารักเรา คนที่สนิทหรือไว้ใจ เพราะอันที่จริงก็เป็นเรื่องของทฤษฎีพัฒนาการเด็กเช่นกัน เพราะเด็กที่อายุ 3 – 5 ขวบปีแรก จะเป็นช่วงที่เด็กผูกพันกับคนที่เลี้ยงดู และการสร้างพ่อแม่ที่มีตัวตนต้องสร้างตั้งแต่ 3 ปีแรก และต้องไม่ช้ากว่านี้ เพราะอาจทำให้เด็กไม่ผูกพัน หรืออาจจะทำให้เด็กผูกพันได้ช้าและยากกว่าคนอื่น

 

และสำหรับหัวข้อ  ” สอนไม่ทำ สั่งไม่จำ วิธีสอนลูกแบบใหม่ สอนลูกให้ยอมทำตาม แบบง่าย ๆ ” นั้น อยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่า เด็กก็เหมือนคนโต ที่ไม่ชอบให้คนอื่นมาออกคำสั่ง โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนมาใช้วิธีการขอให้ทำให้เลือก หรือท้าทายเล็ก ๆ น้อย ๆ หรืออ้อนวอนขอให้ช่วย เพื่อให้ลูกสามารถยอมทำตามได้โดยง่าย

 

สอนไม่ทำ สั่งไม่จำ วิธีสอนลูกแบบใหม่ สอนลูกให้ยอมทำตาม แบบง่าย ๆ

คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

 

บทความที่น่าสนใจ :

ลูกดื้อ พฤติกรรมนี้เกิดจากอะไร? คุณแม่ควรรับมือเจ้าตัวแสบด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลดี

อาการวัยทอง 2 ขวบ ปัญหาในเด็กที่พ่อแม่ควรรู้ และวิธีการรับมือ

ปัญหาลูกกินข้าวยาก ปัญหาหนักอกของพ่อแม่ ทำอย่างไรให้ลูกทานข้าว

 

ที่มา : คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ

เจ้าของเพจ เรื่องเด็ก ๆ by หมอแอม

บทความจากพันธมิตร
51Talk แพลตฟอร์มเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ สำหรับเด็กอายุ 3-15 ปี ถือฤกษ์ดีประกาศเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อเดินหน้าพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย
51Talk แพลตฟอร์มเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ สำหรับเด็กอายุ 3-15 ปี ถือฤกษ์ดีประกาศเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อเดินหน้าพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย
แชร์กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น ตัวช่วยดี ๆ เพิ่มสมาธิให้ลูกรักมากขึ้น!
แชร์กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น ตัวช่วยดี ๆ เพิ่มสมาธิให้ลูกรักมากขึ้น!
ผลวิจัยล่าสุด MFGM  สุดยอดสารอาหาร เพื่อ IQ /EQ ที่เหนือกว่าของลูกน้อยในวัย 5 ขวบ
ผลวิจัยล่าสุด MFGM สุดยอดสารอาหาร เพื่อ IQ /EQ ที่เหนือกว่าของลูกน้อยในวัย 5 ขวบ
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Watcharin Naruephai

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • สอนไม่ทำ สั่งไม่จำ วิธีสอนลูกแบบใหม่ สอนลูกให้ยอมทำตาม แบบง่าย ๆ
แชร์ :
  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • รีวิวเจาะลึก เปรียบเทียบ นมผงสูตร 3 ใครเก่งด้านไหน มาพิสูจน์กัน

    รีวิวเจาะลึก เปรียบเทียบ นมผงสูตร 3 ใครเก่งด้านไหน มาพิสูจน์กัน

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • รีวิวเจาะลึก เปรียบเทียบ นมผงสูตร 3 ใครเก่งด้านไหน มาพิสูจน์กัน

    รีวิวเจาะลึก เปรียบเทียบ นมผงสูตร 3 ใครเก่งด้านไหน มาพิสูจน์กัน

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว