TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กทารก กะพริบตา บ่อยผิดปกติ อันตรายไหม สาเหตุคืออะไร ?

บทความ 5 นาที
เด็กทารก กะพริบตา บ่อยผิดปกติ อันตรายไหม สาเหตุคืออะไร ?

อัตราการ กะพริบตา ในทารกแรกเกิด จะกะพริบตาเพียงสองครั้งต่อนาที แต่ถ้ามีอะไแปลกปลอมทำให้ลูกน้อยของคุณไม่สบายตา ก็เป็นสาเหตุของการกะพริบตามากขึ้นได้ การกะพริบตาเป็นเรื่องปกติในการปกป้องดวงตาจากความแห้ง แสงจ้า เป็นการกระทำโดยธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้งต่อนาทีและทำหน้าที่หลักในการเคลือบดวงตาด้วยน้ำตาและขจัดสิ่งสกปรกหรือเศษฝุ่นออกจากพื้นผิวของกระจกตา แต่อัตราการกะพริบของผู้ใหญ่และทารกนั้นต่างกัน

 

ทำไมลูกน้อยจึง กะพริบตา บ่อยกว่าปกติ ?

โดยปกติทารกแรกเกิดจะกะพริบตาเพียงสองครั้งต่อนาที และจะเพิ่มขึ้นเป็น 14-17 ครั้งต่อนาทีสำหรับวัยรุ่นและยังคงกะพริบตาประมาณนี้ไปจนแก่ แต่ถ้ากะพริบตาถี่เกินไปอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับเปลือกตา อาการกระตุก การหักเหของแสง (ต้องใส่แว่น) ตาพร่ามัว หรือเหม่อลอยเป็นระยะ ๆ และความเครียด

 

สาเหตุที่เด็กทารก กะพริบตา บ่อย ๆ

หากลูกน้อยของคุณกะพริบตาถี่ ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องปรึกษากับกุมารแพทย์หรือจักษุแพทย์ทันที นั่นเป็นเพราะว่าการกะพริบตามากเกินไปในทารกอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติทางระบบประสาท กล้ามเนื้อกระตุก ตาติดเชื้อ ภูมิแพ้ การมองเห็นบกพร่อง หรือเปลือกตาอักเสบ

กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก

กล้ามเนื้อกระตุกสร้างปัญหาให้กล้ามเนื้อใบหน้าและรอบดวงตาของทารก นอกจากนี้เด็กที่ขี้หงุดหงิด มักจะมีอาการกระตุกบนใบหน้าเนื่องจากสามารถแสดงออกทางร่างกายได้มากกว่า (เพราะยังพูดสื่อสารไม่ได้)

เด็กมีภาวะ Tics

ภาวะ Tics เป็นโรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ด้วยการกะพริบตา หรือยักไหล่ หรือมีอาการเกร็งอื่น ๆ ในร่างกาย และเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กวัยหัดเดินประสบกับอาการนี้ ซึ่งอาจจะทำให้กะพริบตาบ่อยกว่าปกติ ลองสังเกตว่าลูกน้อยของคุณแม่มีความวิตกกังวลเป็นพิเศษหรือไม่ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นสำคัญของภาวะ Tics ในเด็ก

โรคภูมิแพ้

อาการภูมิแพ้สามารถกระตุ้นปัญหาเกี่ยวกับดวงตาได้ เช่น ตาแดง คัน หรือตาบวม ลูกน้อยของคุณอาจกะพริบตาบ่อยขึ้นเพื่อบรรเทาอาการคัน หากทารกกะพริบตาถี่ ๆ และมีอาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหล อาจเป็นเพราะอาการแพ้ คุณแม่ต้องตรวจสอบว่าเจ้าตัวเล็กไวต่อฝุ่นหรือมีอาการแพ้ทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ หรือไม่ หากมีอาการเช่นนี้ แนะนำให้ทำการทดสอบการแพ้และการทดสอบสารก่อภูมิแพ้ที่ตามมากับแพทย์

 

กะพริบตา

 

การมองเห็นบกพร่อง

การกะพริบตาของทารกรวมถึงการตาเหล่บ่อยด้วย คุณแม่อาจต้องประเมินการมองเห็นของทารกด้วย บางครั้งการกะพริบตาบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าลูกของคุณต้องใส่แว่นเพื่อรักษาหรือเปล่า อันที่จริง การกะพริบตามากเกินไปอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่กระจกตาหรือสัญญาณเริ่มต้นของอาการตาแดง

ตาแห้งมาก

หากลูกน้อยของคุณตาแห้งมากก็จะทำให้กะพริบตาถี่เกินไปเช่นกัน สามารถป้องกันได้โดยไม่ให้ลูกน้อยขยี้ตา และที่สำคัญที่สุดคือให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาหยอดตาที่บรรเทาอาการระคายเคือง

สายตาสั้น

นี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เด็ก ๆ กะพริบตาบ่อย ๆ เป็นไปได้ว่าลูกน้อยของคุณไม่สามารถมองเห็นสิ่งใดที่อยู่ใกล้เขาและร้องไห้ออกมาเพื่อบ่งบอกถึงสิ่งเดียวกัน แม้ว่าทารกจะมองไม่เห็นทางไกลจริง ๆ จนกระทั่งอายุ 3 เดือนขึ้นไป แต่หากพวกเขายังขยี้ตาแล้วร้องไห้ ก็อาจถึงเวลาที่คุณจะต้องพาลูกน้อยของคุณไปหาจักษุแพทย์แล้วค่ะ

โรคย้ำคิดย้ำทำ

Obsessive Compulsive Disorder (OCD) หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งเป็นภาวะทางพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้เด็กกะพริบตามากเกินไป ยิ่งไปกว่านั้น เด็ก ๆ ไม่สามารถควบคุมสิ่งนี้ได้ และการกะพริบตาบ่อย ๆ อาจมาพร้อมกับคำพูดหรือเคลื่อนไหวแบบเดิมซ้ำ ๆ

ความวิตกกังวลหรือความกลัว

ความวิตกกังวลและการกะพริบตาบ่อย ๆ นั้นสัมพันธ์กันในด้านจิตใจ คอยดูลูกของคุณเพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรทำให้ลูกน้อยรู้สึกหนักใจ อาจเป็นเพราะกลัวสิ่งของหรือบุคคลที่ปรากฏอยู่ในสายตาของเด็กน้อยหรือไม่

เบื่อ

บางครั้งลูกของคุณอาจจะกะพริบตาบ่อย ๆ เพราะความเบื่อหน่าย อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ต้องให้ความบันเทิงกับลูกตลอดทั้งวัน เด็กจะหยุดทำไปเองหลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่ง

เปลือกตาอักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียที่เปลือกตา และมีอาการต่าง ๆ เช่น รอยแดง มีขี้ตา มีตุ่มหรือผดขอบเปลือกตา นี่ก็เป็นอีกสาเหตุให้เด็กเล็กรู้เคืองตา จนทำให้ต้องกะพริบตาบ่อย ๆ ได้เช่นกันค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ตากุ้งยิง เป็นยังไง? ลูกเป็นตากุ้งยิงจะบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ไหม ?

 

บทความจากพันธมิตร
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

วิธีการประเมินการกะพริบตาบ่อย ๆ

หากการกะพริบตาอย่างต่อเนื่องทำให้ลูกของคุณหงุดหงิดร้องไห้ คุณแม่อาจต้องพาลูกไปปรึกษาจักษุแพทย์ซึ่งจะคอยตรวจสอบการเคลื่อนไหวของดวงตาและดูว่าจะสามารถรักษาได้อย่างไร ระหว่างการตรวจ จักษุแพทย์จะใช้กล้องจุลทรรศน์พิเศษเพื่อดูว่ากระจกตาทำงานเป็นปกติหรือไม่

จักษุแพทย์จะพูดกับคุณแม่เกี่ยวกับอาการของลูก และอาจตรวจสอบด้วยว่าการกะพริบตาเป็นเรื่องปกติหรือเริ่มมากเกินไปในช่วงที่ผ่านมา หากมีปัญหาที่ขนตาหรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ให้รักษาตามคำแนะนำของแพทย์

 

กะพริบตา

 

การรักษาอาการกะพริบตาบ่อยผิดปกติ

การรักษาภาวะกะพริบตาบ่อยขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริง หากลูกน้อยของคุณกะพริบตาเนื่องจากติดเชื้อ จะต้องทายาให้ และกะพริบตาบ่อยเนื่องจากปัญหาด้านพฤติกรรม แพทย์จะจัดการให้ตามอาการ

  • อาการแพ้หรือตาแห้ง จักษุแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาหยอดตา
  • อาการบาดเจ็บที่กระจกตา อาจต้องสวมผ้าปิดตาเหมือนโจรสลัด วิธีนี้จะช่วยลดการกะพริบตาและรักษาบาดแผล นอกจากนี้ ลูกน้อยของคุณอาจได้รับยาหยอดตายาปฏิชีวนะอีกด้วย
  • สิ่งแปลกปลอมเข้าตา จักษุแพทย์จะเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากดวงตา อาจต้องผ่าตัดหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละคน
  • ภาวะการหักเหแสงที่ผิดปกติที่ส่งผลต่อการมองเห็น ลูกของคุณจะต้องสวมแว่นตาในกรณีที่สายตาสั้น ในกรณีที่แย่กว่านั้น ลูกของคุณอาจต้องผ่าตัดเพื่อรักษา
  • อาการกระตุก หากการกะพริบตาเกิดขึ้นเนื่องจากอาการกระตุก ไม่จำเป็นต้องกังวล พูดคุยกับกุมารแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงของอาการกระตุกของลูกคุณ ในกรณีของอาการกระตุกของเสียง ลูกของคุณอาจส่งเสียงผิดปกติพร้อมกับกะพริบตาบ่อยมาก และคุณอาจต้องพบนักประสาทวิทยาร่วมด้วยค่ะ

 

คนเป็นพ่อเป็นแม่จะต้องระมัดระวังการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมของทารกโดยธรรมชาติอยู่แล้ว และมันเป็นงานที่ไม่วันหยุด คุณพ่อคุณแม่อาจต้องระมัดระวังเป็นพิเศษหากสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น การกะพริบตาถี่เกินไป แน่นอนว่า การรักษาลูกน้อยให้ห่างจากอุปกรณ์ดิจิทัลเป็นก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่มีบางสิ่งที่สามารถลองทำดูเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะสุขภาพตานี้ได้

  • ให้ลูกน้อยของคุณเล่นกับของเล่นจริง ๆ แทนที่จะใช้อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น มือถือหรือแท็บเล็ต
  • จำกัดเวลาอยู่หน้าจอให้น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงหากลูกของคุณอายุต่ำกว่าหนึ่งขวบ
  • รวมส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพในมื้ออาหารของลูกน้อย เพิ่มผักใบเขียวบด แคร์รอต ปลาแซลมอนหรือทูน่า ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม และโปรตีน เช่น ถั่วหรือไข่

นอกจากข้อควรระวังเหล่านี้แล้ว ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยนอนหลับเพียงพอและเฝ้าติดตามเวลาอยู่หน้าจออย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ผิดปกติได้ไม่ยาก ยิ่งถ้าเป็นเรื่องดวงตาของลูกน้อยแล้ว ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่านี้อีกแล้ว ดังนั้นหากพบเห็นสิ่งผิดปกติ อย่าลืมไปพบแพทย์และรับการรักษาที่เหมาะสมจะดีที่สุดค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกไอ ลูกน้อยไอ ลักษณะอาการไอของทารกที่คุณแม่ควรรู้

ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

ตาแดง โรคตาแดงมีอาการเป็นอย่างไร สาเหตุการเกิดโรคตาแดงมาจากอะไร พร้อมวิธีรักษา

ที่มา : theAsianparent SG

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Patteenan

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • เด็กทารก กะพริบตา บ่อยผิดปกติ อันตรายไหม สาเหตุคืออะไร ?
แชร์ :
  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • 10 ของเล่นสำหรับทารก สุดเจ๋ง! เสริมพัฒนาการลูกน้อยวัย 0-6 เดือน

    10 ของเล่นสำหรับทารก สุดเจ๋ง! เสริมพัฒนาการลูกน้อยวัย 0-6 เดือน

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • 10 ของเล่นสำหรับทารก สุดเจ๋ง! เสริมพัฒนาการลูกน้อยวัย 0-6 เดือน

    10 ของเล่นสำหรับทารก สุดเจ๋ง! เสริมพัฒนาการลูกน้อยวัย 0-6 เดือน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว