X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

8 การตรวจที่คุณเเม่ไม่ทำก็ได้ ตลอดการตั้งครรภ์

บทความ 3 นาที
8 การตรวจที่คุณเเม่ไม่ทำก็ได้ ตลอดการตั้งครรภ์

8 การตรวจที่คุณเเม่ไม่ทำก็ได้ ตลอดการตั้งครรภ์ เพราะการตรวจบางอย่างก็ไม่จำเป็นเอาเสียเลย เเถมยังเสี่ยงต่อลูกในครรภ์อีกต่างหาก

8 การตรวจที่คุณเเม่ไม่ทำก็ได้ ตลอดการตั้งครรภ์

8 การตรวจที่คุณเเม่ไม่ทำก็ได้ ตลอดการตั้งครรภ์ เเม้คุณเเม่ส่วนใหญ่จะทำ หรือผ่านขั้นตอนเหล่านี้ เเต่จริงๆ เเล้วมันจำเป็นเเค่ไหนกัน ที่สำคัญคือคุณเเม่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า คุณเเม่สามารถเลือกที่จะเซย์โนได้นะคะ

1.ไม่จำเป็นต้องกินวิตามินเสริม

โดยเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับโภชนาการของตัวคุณเเม่เอง ว่าร่างกายได้รับสารอาหารของเเหล่งต่างๆ เพียงพอสำหรับการตั้งครรภ์ในครั้งนี้หรือไม่ หากไม่เเน่ใจเเละไม่อยากกินวิตามินทั้งหลาย คุณเเม่สามารถวางเเผนเเละปรึกษาร่วมกับนักโภชนาการหรือนักกำหนดอาหารก็ได้ค่ะ

อ่านเพิ่มเติม ความเชื่อของไทย กับเรื่องโภชนาการในช่วงตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตามสำหรับคุณเเม่ที่พึ่งอาหารริมทางหรืออาหารเเช่เเข็งอยู่เป็นประจำ ดูเเล้วว่าหากเลือกกินอาหารเอง สารอาหารคงไม่เพียงพอเเน่ๆ ก็สามารถที่จะกินวิตามินเสริมได้เช่นกันนะคะ

2.ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

โดยการตรวจวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารก หรือที่เรียกว่า Nuchal Translucency การตรวจคัดกรองนี้จะตรวจหาปริมาณฮอร์โมนที่ผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ รวมกับการแสกนเเละการตรวจเลือดในไตรมาสเเรก คุณเเม่สามารถที่จะปฏิเสธการตรวจนี้ได้ เนื่องจากไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

อ่านเพิ่มเติม ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีไหนดี

3.ไม่จำเป็นต้องอัลตราซาวนด์

หลังจากสัปดาห์ที่ 24 เป็นต้นไป หากคุณเเม่มีความกังวลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของลูก หรือกังวลเกี่ยวกับการพัฒนาด้านต่างๆ ของลูก หรือมีความกังลในเรื่องของภาวะเเทรกซ้อนต่างๆ เช่น รกเกาะต่ำ คุณหมอจะเเนะนำให้ตรวจโดยการทำอัลตราซาวนด์

ทั้งนี้การอัลตราซาวนด์ระหว่างการตั้งครรภ์ที่ถี่เกินความจำเป็นจริงๆ นั้น สามารถทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายเกิดความร้อนขึ้น ทั้งนี้คือขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อเยื่อที่ถูกเเสกน ความเข้มข้นที่ใช้ เเละปัจจัยต่างๆ ด้วย ซึ่งนอกจากนี้ทางการเเพทย์ก็ยังไม่ทราบเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวจากการอัลตราซาวนด์เช่นกันค่ะ การอัลตราซาวนด์ที่มากกว่า 5 ครั้ง ระหว่างการตั้งครรภ์ ส่งผลให้การเจริญเติบโตของลูกมีเเนวโน้มชะลอลงอีกด้วยค่ะ

อ่านเพิ่มเติม จำเป็นหรือไม่? คนท้องต้องอัลตราซาวด์

การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ คนท้อง, การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ตั้งครรภ์

4.ไม่จำเป็นต้องตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่ออินซูลินเเละระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งภาวะนี้จะเป็นชั่วคราวเเละหายไปหลังจากคลอดลูก ซึ่งการตรวจเบาหวานนั้นส่งผลทำให้คุณเเม่หลายๆ คนมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เวียนหัว ปวดหัวขึ้นได้

หากคุณเเม่อายุไม่เกิน 30 ไม่มีประวัติการเป็นเบาหวานในครอบครัว ค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI ไม่เกิน 30 เเละไม่เคยคลอดลูกที่น้ำหนักเกิน 4.5 กิโลกรัม หรือหากคุณเเม่มีความเสี่ยง สิ่งที่จะทำได้คือการควบคุมอาหารเเละการออกกำลังกายอย่างไม่หักโหมค่ะ

อ่านเพิ่มเติม ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

5.ไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำก็ได้

การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสภาวะของทารกในครรภ์ หรือ Amniocentesis จะตรวจก็ต่อเมื่อคุณเเม่มีความเสี่ยงที่ลูกจะมีโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งส่วนใหญ่เเล้วคุณเเม่ที่มีอายุ 37 ปีขึ้นไปถึงจะมีความเสี่ยง ควรเจาะน้ำคร่ำเพื่อหาความผิดปกติค่ะ โดยคุณหมอจะนำเข็มยาวๆ เจาะเข้าไปที่ท้องคุณเเม่เพื่อดูดน้ำคร่ำออกมาเพียงเล็กน้อยเพื่อนำไปตรวจสอบ เเต่หากคุณเเม่ไม่มีความเสี่ยงดังกล่าวก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตรวจนะคะ

คุณเเม่เพียง 1% เท่านั้นที่จะเสี่ยงเเท้งลูกหลังจากการตรวจน้ำคร่ำในสัปดาห์ที่ 15-20 เเต่ความเสี่ยงจะสูงขึ้นหากตรวจก่อนสัปดาห์ที่ 15 ค่ะ

อ่านเพิ่มเติม การเจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรได้บ้าง?

6.ไม่จำเป็นต้องตรวจโครโมโซมก็ได้

การตรวจโครโมโซม หรือ Chorionic Villus Sampling คือการตรวจหาความผิดปกติของลูกในครรภ์ โดยสามารถตรวจโรคที่เกิดจากความผิดปกติทั้งจากยีนส์เเละโครโมโซมได้ คุณเเม่ 1% ที่อาจจะเกิดการเเท้งลูกได้หลังจากการตรวจนี้ ส่วนคุณเเม่ประมาณ 1 ใน 1000 อาจจะเสี่ยงติดเชื้อเฉียบพลันได้ คุณเเม่ที่ควรจะตรวจโครโมโซมคือคุณเเม่ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคที่เกี่ยวกับโครโมซมค่ะ

อ่านเพิ่มเติม ความผิดปกติของน้ำคร่ำแบบไหน อันตรายต่อลูกในครรภ์

7.ไม่จำเป็นต้องฟังเสียงหัวใจลูกก็ได้

ระหว่างการตั้งครรภ์คุณหมอจะตรวจอัตราการเต้นของหัวใจลูก โดยการเต้นปกติจะอยู่ที่ 120-160 ครั้งต่อนาที ซึ่งสามารถเปลี่ยนเเปลงได้หากลูกเกิดการเคลื่อนไหวหรือหลับ ขณะที่การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติจะเป็นไม่เป็นจังหวะเเละมีอัตราการเต้นของหัวใจที่มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ โดยมาจากหลายสาเหตุเช่น การขาดออกซิเจน ซึ่งทุกการนัดกับคุณหมอ คุณหมอจะตรวจอยู่เเล้วค่ะ

อย่างไรก็ตามคุณเเม่ส่วนใหญ่มักนิยมซื้อเครื่องฟังเสียงหัวใจเต้นของลูกมาฟัง เพราะอุ่นใจเเละสร้างความผูกพันธ์ได้ เเต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เครียดได้เช่นกันนะคะ ซึ่งเสียงหัวใจเต้นอาจจะเเปลกออกไปเพราะลูกอยู่ในตำเเหน่งเเปลกๆ เเละมดลูกของคุณเเม่เอียง

อ่านเพิ่มเติม ทารกในครรภ์อยู่ท่าไหน ฟังเสียงหัวใจบอกได้

8.ชั่งใจระหว่างการรักษากับการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

เชื้อสเตรปโตคอคคัสกรุ๊ปบีระหว่างตั้งครรภ์ คือเชื้อเเบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในลำไส้เเละอวัยวะเพศของผู้หญิงเรา โดยที่เชื้อเเบคทีเรียนี้สามารถส่งผลทำให้รกติดเชื้อได้เเละทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดเเละการติดเชื้อ โดยผลกระทบต่อลูกก็คืออาจทำให้เป็นโรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เเละอาจจะทำให้เสียชีวิตได้

การตรวจ GBS นี้ ทำได้ในสัปดาห์ที่ 35 เเละ 37 เเละหากผลบอกว่าคุณเเม่มีการติดเชื้อ คุณหมอส่วนใหญ่จะให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดดำในระหว่างที่คุณเเม่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของลูกอย่างเฉียบพลัน เเละในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตามหากเด็กที่คลอดธรรมชาติจะเสี่ยงติดเชื้อมากกว่าเด็กที่ผ่าคลอดค่ะ

การรักษาการติดเชื้อก็ดี การหาทางออกด้วยวิธีอื่นก็ดี คุณเเม่สามารถปรึกษาคุณหมอถึงทางออกที่ดีที่สุด เเละตัดสินใจด้วยตัวเองนะคะ

อ่านเพิ่มเติม 9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 8 การตรวจที่คุณเเม่ไม่ทำก็ได้ ตลอดการตั้งครรภ์
แชร์ :
  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว