X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความผิดปกติของน้ำคร่ำแบบไหน อันตรายต่อลูกในครรภ์

บทความ 3 นาที
ความผิดปกติของน้ำคร่ำแบบไหน อันตรายต่อลูกในครรภ์

น้ำคร่ำคืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร แบบไหนเรียกผิดปกติ

น้ำคร่ำคืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับน้ำคร่ำกันก่อนครับว่า น้ำคร่ำคืออะไร

น้ำคร่ำนั้น สร้างมาจากทั้งฝ่ายแม่และลูก โดยในช่วงเริ่มต้นน้ำคร่ำจะมาจากสารน้ำที่ซึมผ่านรกเข้ามาจากหลอดเลือดของทารก ต่อมาเมื่อทารกเริ่มพัฒนาระบบปัสสาวะ จึงมีน้ำคร่ำที่มาจากน้ำปัสสาวะของทารกเป็นส่วนใหญ่ และส่วนที่เหลือนั้นมาจากสารน้ำของปอดที่สร้างและหลั่งออกมาทางหลอดลม

น้ำคร่ำคืออะไร

น้ำคร่ำทำหน้าที่อะไร

  • ทำให้ทารกมีการเคลื่อนไหวอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำได้ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • ช่วยให้ทารกรู้จักการหายใจและการกลืน
  • ป้องกันทารกติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดต่างๆระหว่างที่อยู่ในครรภ์
  • ป้องกันการกระทบกระเทือนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ทารก
  • รักษาอุณภูมิของทารกในครรภ์ให้คงที่
  • เป็นแหล่งให้สารอาหารแก่ทารก
  • แรงดันน้ำในโพรงน้ำคร่ำมีส่วนช่วยขยายปากมดลูกเมื่อเจ็บครรภ์คลอด

หากมีน้ำคร่ำมากไปหรือน้อยไป ส่งผลอย่างไร ติดตามหน้าถัดไปได้เลย >>

ความผิดปกติของน้ำคร่ำแบบไหน อันตรายต่อลูกในครรภ์

การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากหรือน้อยเกินไป สามารถบ่งบอกได้ว่า ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตที่ดีหรือไม่ดี มีโอกาสพิการหรือไม่

น้ำคร่ำมากกว่าปกติ

แม่ท้องที่มีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่าปกติ หรือที่เรียกว่าครรภ์แฝดน้ำ พบได้ประมาณร้อยละ 1 ของการคลอด โดยคุณแม่อาจสังเกตได้จากการที่ท้องใหญ่กว่าอายุครรภ์ และรู้สึกว่าท้องโตขึ้นอย่างรวดเร็ว หายใจอึดอัด นอนราบไม่ได้ เมื่อคุณหมอสงสัยก็จะทำการตรวจยืนยันด้วยการทำอัลตร้าซาวนด์

โดยปกติแล้วครรภ์แฝดน้ำชนิดรุนแรงน้อยหรือเรื้อรัง ส่วนใหญ่อาจจะไม่มีอาการ หรือหากมีก็ไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ตรวจเช็คดูความผิดปกติที่อาจจะเกิดร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน หรือทารกในครรภ์ผิดปกติ แต่ถ้าคุณแม่หายใจลำบาก มีอาการปวดท้อง หรือเคลื่อนไหวลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์

น้ำคร่ำคืออะไร

สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะครรภ์แฝดน้ำ เกิดจากความผิดปกติของทารก จึงไม่สามารถป้องกันได้ ยกเว้นในกรณีที่คุณแม่เป็นเบาหวาน หากสามารถควบคุมน้ำตาลให้ดีก็จะลดความเสี่ยงได้มาก รวมถึงการไปฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ และแจ้งคุณหมอเมื่อรู้สึกถึงอาการผิดปกติ เพื่อให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้เร็วขึ้น

น้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ

ภาวะน้ำคร่ำน้อย เป็นภาวะที่ปริมาตรน้ำคร่ำของทารกในครรภ์ลดลง เหลือน้อยกว่าร้อยละ 5 ของปริมาตรน้ำคร่ำปกติในอายุครรภ์นั้นๆ ซึ่งสามารถตรวจทราบได้เบื้องต้นจากการตรวจอัลตราซาวนด์ โดยทั่วไปพบร้อยละ 1-2 ของการตั้งครรภ์ โดยเมื่อแม่ท้องมีภาวะน้ำคร่ำน้อย มักจะสัมพันธ์กับผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ค่อยดี โดยภาวะน้ำคร่ำน้อยอาจส่งผลดังนี้

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
  • อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด
  • อาจทำให้ทารกเกิดการสำลักขี้เทา
  • เพิ่มโอกาสผ่าตัดคลอด
  • อาจทำให้ปอดของทารกไม่พัฒนา

อย่างไรก็ตาม แม่ท้องควรมีการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์รวมทั้งการวางแผนการคลอดที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของทารกต่อไป


ที่มา med.cmu.ac.th, thebump

รูปภาพประกอบจาก en.wikipedia.org

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ความผิดปกติของน้ำคร่ำแบบไหน อันตรายต่อลูกในครรภ์
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว