จนมาถึงช่วงให้นมก็มีความเชื่อเรื่องการกินอาหารที่ช่วยเร่งน้ำนม หรืออาหารบางอย่างทำให้น้ำนมน้อย อาหารมีกลิ่นมากจะทำให้นมมีกลิ่นอีก จนมาถึงการกินอาหารของลูก เมื่อลูกต้องเริ่มกินอาหารอื่นนอกจากนมแม่ เรื่องของอาหารลูกกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่คุณต้องหนักใจ เพราะนอกจากความเชื่อมากมายที่ประดังประเดเข้ามาแล้ว ยังมีผู้ใหญ่ที่มีอิทธิพลกับคุณ ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่หรือคุณแม่สามีเข้ามาทำให้คุณต้องไขว้เขวกับเรื่องของอาหารลูก และบางครั้งก็อึดอัดใจที่จะทำตามคำแนะนำ (แกมบังคับ) นั้นด้วย
แต่แท้จริงแล้ว เรื่องของโภชนาการกับความเชื่อนั้นมีอะไรบ้าง และเราจะมีวิธ๊จัดการกับความเชื่อเหล่านี้อย่างไร เพราะบางครั้งความเชื่อเรื่องกินนั้นกไม่ได้ผิดไปเสียทั้งหมด บางอย่างก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่จะมีเรื่องไหน มาดุกันค่ะ
ก่อนตั้งครรภ์ : อยากให้ลูกมาไวๆ ต้องกินอะไรดี?
สำหรับครอบครัวชาวไทยคงหนีไม่พ้นสมุนไพรสูตรต่างๆ ส่วนครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน หลายคนคุ้นเคยกันดีกับยาจีนบำรุงต่างๆ ที่จะบอกว่าช่วยบำรุงมดลูก ให้ติดลูกได้ไว แต่แท้จริงแล้วยังไม่มีรายงานทางการแพทย์อะไรเสนอว่ากินยาจีนหรือสมุนไพรเหล่านี้แล้วจะช่วยให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น
แต่สิ่งที่ควรรับประทานสำหรับผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ก็คือ กรดโฟลิก (Folic Acid) ที่มีส่วนช่วยลดความพิการของระบบประสาทสมองของทารกและลดอัตราการแท้ง ซึ่งผู้หญิงตั้งครรภ์ต้องรับกรดโฟลิกให้เพียงพอ โดยปกติกรดโฟลิกพบมากในอาหารจำพวกผลไม้สด ผักใบเขียว ไข่ไก่ ตับ กุ้งหอย ปู ปลา หรือเสริมกรดโฟลิกในรูปแบบเม็ดวันละ 400-500 ไมโครกรัม คือประมาณวันละ 1 เม็ดก็ได้
ช่วงตั้งครรภ์ : ท้องแล้วอะไรกินได้บ้าง หลังคลอดห้ามกินของแสลง?
ปัญหาใหญ่เลยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะกองทัพความเชื่อจะถาโถเข้ามาจากทุกทาง อะไรที่ดูเหมือนจะไม่อันตรายก็กลับกินไม่ได้ ตั้งแต่ห้ามกินกาแฟ น้ำมะพร้าว สัปปะรด หรือแม้แต่เฉาก๊วย โดยความเขื่อเหล่านี้มีทั้งถูกทั้งผิด จะมีอะไรบ้าง เรามาดูกันค่ะ
- เชื่อว่า …ชา กาแฟ เป็นเครื่องดื่มต้องห้าม?
ชา กาแฟ นั้นเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ซึ่งเป็นสารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ แต่ถามว่ารับประทานได้ไหม ก็ได้ในปริมาณเล็กน้อยไม่เกิน 200-250 มิลลิกรัมต่อวัน (กาแฟประมาณ 1 แก้ว) เพราะงานวิจัยพบว่า การรับคาเฟอีนเกินวันละ 300 มิลลิกรัม เพิ่มโอกาสการแท้งลูกได้
- เชื่อว่า …“น้ำตาล” ไม่อันตราย
ทราบไหมคะว่าทุกวันนี้คนไทย 1 คนใน 11 คนเป็นเบาหวาน ดังนั้นที่น่ากลัวกาว่าคาเฟอีนก็คือน้ำตาลนั่นแหละค่ะ เพราะน้ำตาลนั้นมีอยู่ในอาหารไทยแทบทุกชนิด ไม่ใช่เพียงแค่เครื่องดื่ม หรือขนมหวานเท่านั้น ช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงที่คุณแม่กินอาหารมากขึ้น สิ่งที่ต้องระวังคือ น้ำตาลที่อยู่ในอาหารต่างๆ ที่ถ้ารับประทานมากไปก็จะเสี่ยงกับการเป็นเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ได้
- เชื่อว่า… มะพร้าว ผลไม้ต้องห้ามยามตั้งครรภ์?
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าห้ามดื่มน้ำมะพร้าว เพราะอาจเสี่ยงแท้งก็ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะในน้ำมะพร้าวแม้จะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ก็ตาม แต่มีในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งปกติในขณะตั้งครรภ์คุณแม่จะมีฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ในร่างกายจะสูงมากอยู่แล้ว ในน้ำมะพร้าวมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงไม่มีผลต่อการบีบตัวมดลูกที่ทำให้แท้งได้
- เชื่อว่า ไม่ควรกินสัปปะรดเพราะเสี่ยงแท้ง?
คนโบราณตีว่าเป็น “อาหารร้อน” ที่อาจทำให้แท้ง หรือคลอดก่อนกำหนดได้ สำหรับประเด็นนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ในความเป็นจริงนั้นสัปปะรดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ อาจทำให้มดลูกบีบตัวได้ แต่การที่จะทำให้มดลูกจะบีบตัวอย่างรุนแรงได้นั้น ต้องกินสับปะรดในปริมาณมากซึ่งคงไม่ใช่ปริมาณที่รับประทานปกติแน่นอน
- เชื่อว่า… กินน้ำเต้าหู้แล้วลูกจะขาว กินเฉาก๊วยแล้วลูกจะดำ?
อีกความเชื่อหนึ่งที่เชื่อกันมากก็คือ กินน้ำเต้าหู้แล้วลูกจะขาว กินเฉาก๊วยแล้วลูกจะดำ? นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความเชื่อที่ก็สร้างความแปลกใจอย่างมาก สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของความเชื่อที่สูงความข้อเท็จจริง เพราะของลูกนั้นขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับอาหารแม้แต่น้อย สีของอาหารไม่สามารถเปลี่ยนสีผิวของลูกได้
- เชื่อว่า….“ไข่” ของแสลงหลังคลอด?
คุณแม่หลังคลอดก็มีปัญหาเรื่องความเชื่อการกินไม่แพ้ช่วงอื่นๆ ที่มักถูกห้ามคือ “ไข่” ที่จะทำให้แผลอักเสบเป็นหนอง ซึ่งแท้จริงแล้ว “ไข่” นั้นเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกซึ่งมีประโยฃน์ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเป็นอย่างมาก แต่การที่แผลเกิดการติดเชื้อจนเป็นหนองนั้นเกิดจากการรักษาความสะอาดที่ไม่มากพอการ “ไข่” จึงไม่ใช่ของแสลงแต่อย่างใด ในช่วงหลังคลอดนี้เป็นช่วงเดียวกับช่วงของการให้นมแม่ด้วย เพราะฉะนั้นการกินอาหารที่มีประโยฃน์จึงไม่ได้ดีต่อตัวคุณแม่เท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างน้ำนมคุณภาพให้กับลูกน้อยอีกด้วย
- เชื่อว่า ต้องกิน “ยาดอง” ขับน้ำคาวปลา?
แต่น่าแปลกที่ช่วงหลังคลอดนั้นห้ามกินอาหารที่มีประโยฃน์แต่กลับให้กินของยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์เพื่อขับน้ำคาวปลา ซึ่งแท้จริงแล้วน้ำคาวปลาไม่จำเป็นต้องใช้ยาขับ แต่มันจะออกมาตามธรรมชาติ มาก – น้อยต่างกันไป การกินยาขับน้ำคาวปลาจึงไม่จำเป็นแต่อย่างใด
เรื่องของการกินจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อตัวคุณเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อลูกอีกด้วย การสร้างโภชนาการช่วงแรกของชีวิตที่ดีจึงต้องใช้สติในการเลือกที่จะ “เชื่อ ต้องใช้วิจารณญาณและการหาข้อมูลประกอบทุกครั้ง เพราะทุกครั้งที่คุณกินส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของทั้งสองชีวิตไม่ใช่แค่คุณเพียงคนเดียว ในตอนหน้าเราจะนำเสนอเรื่องของความเชื่อกันต่อค่ะ มาดูกันว่า ช่วงให้นม และอาหารของลูกนั้น มีเรื่องราวอะไรที่เป็นความเชื่อและกระทบกับเรื่องกินหรือโภชนาการได้บ้าง?
ที่มา : bangkokhospital.com, baby.kapook.com , facebook.com, th-admin.theasianparent.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!