X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีไหนดี เด็กกลุ่มอาการดาวน์เป็นอย่างไร

บทความ 8 นาที
ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีไหนดี เด็กกลุ่มอาการดาวน์เป็นอย่างไร

คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนมีโอกาสมีลูกเป็นดาวน์ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมระหว่างตั้งครรภ์ มาดูกันว่า วิธีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในปัจจุบันวิธีไหนดีที่สุด

เด็กดาวน์ หรือ เด็กที่มี “กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม” ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบไหนถึงจะมีความผิดปกติทางโครโมโซมซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาแต่กำเนิดเด็กจะมีความพิการทางด้านสติปัญญาหรือที่เราเรียกว่ามีภาวะปัญญาอ่อน ร่วมกับมีความพิการทางร่างกาย

 

ลักษณะของเด็กกลุ่มอาการดาวน์

  • ลักษณะทางกายภาพ : ใบหน้า

ศรีษะค่อนข้างเล็ก แบน รูปหน้าผิดปกติ ตาห่างและหางตาเฉียงขึ้น หูเกาะต่ำ ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นโตคับปาก ใบหน้าจะคล้ายคลึงกันไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหนก็ตาม

 

  • ลักษณะทางกายภาพ : ร่างกาย

มือสั้น ขาสั้น นิ้วสั้น กระดูกข้อกลางของนิ้วก้อยสั้นหรือหายไป ลายฝ่ามือตัดขวาง มีช่องว่างระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ที่เท้าห่างมากกว่าปกติ ตัวเตี้ย ความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อย ลักษณะกล้ามเนื้อนิ่มอ่อนปวกเปียก

 

  • ปัญหาสุขภาพ

พัฒนาการล่าช้า นั่งช้า ยืนช้า เดินช้า และพูดช้า ระดับสติปัญญา ซึ่งวัดจากไอคิว (IQ) จะอยู่ระหว่าง 20-70 ซึ่งต่ำ หรือเรียกว่า ปัญญาอ่อน นอกจากนี้เด็กกลุ่มดาวน์มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด  โรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง หรือมีระบบการได้ยินที่ผิดปกติ

 

สาเหตุของการเกิดเด็กกลุ่มอาการดาวน์

โรคกลุ่มอาการดาวน์เป็นโรคที่เกิดจากโครโมโซมผิดปกติ โดยมีได้ 3 สาเหตุ

  • Trisomy 21เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการดาวน์ที่พบได้บ่อยที่สุด โดยปกติคนเราจะมีโครโมโซมจำนวน 46 แท่ง หรือ 23 คู่  สำหรับทารกกลุ่มอาการดาวน์จะมีความผิดปกติ โครโมโซมเกินมาหนึ่งแท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ตามปกติ ทำให้จำนวนโครโมโซมทั้งหมดมีถึง 47 แท่ง ซึ่งสาเหตุเกิดจากการแบ่งตัวของโครโมโซมในเซลล์ไข่ของแม่ช่วงที่มีการปฏิสนธิมีความผิดปกติ มักเกิดในเซลล์ไข่ของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก มีเส้นใยที่มีการแบ่งตัวค้างอยู่นาน การยืดหยุ่นตัวไม่ดีรวมถึงแม่ที่เคยมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมมาแล้ว
  • Translocation เป็นสาเหตุรองลงมา เกิดจากโครโมโซมย้ายไปอยู่ผิดที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ร้อยละ 4
  • Mosaicism เป็นสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือ มีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47แท่งในคน ๆ เดียวกันพบได้เพียงร้อยละ 1 เท่านั้น

 

Advertisement

ใครบ้างที่มีโอกาสตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรม

คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนมีโอกาสมีลูกเป็นดาวน์ ยิ่งแม่มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ลูกก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นดาวน์ซินโดรมมากขึ้นด้วย ส่วนคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อายุน้อยก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน แต่จะพบได้น้อยกว่า ตามอัตราส่วนดังนี้

  • แม่อายุต่ำกว่า 25 ปี โอกาสที่ลูกจะเป็น คือ          1              ใน            1,500 ราย
  • แม่อายุ 25-29 ปี โอกาสที่ลูกจะเป็น คือ               1              ใน            1,100 ราย
  • แม่อายุ 35 ปี โอกาสที่ลูกจะเป็น คือ                     1              ใน            250 ราย
  • แม่อายุ 38 ปี โอกาสที่ลูกจะเป็น คือ                     1              ใน            120 ราย
  • แม่อายุ 40ปี โอกาสที่ลูกจะเป็น คือ                      1              ใน            75 ราย
  • แม่อายุ 44 ปี โอกาสที่ลูกจะเป็น คือ                     1              ใน            30 ราย
  • แม่อายุ 45 ปีขึ้นไป โอกาสที่ลูกจะเป็น คือ            1              ใน            20 ราย

จะทราบได้อย่างไรว่าลูกในท้องมีอาการดาวน์

คุณแม่สามารถตรวจคัดกรองทารกดาวน์ซินโดรมได้หลายวิธี

ดาวน์ซินโดรม

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมระหว่างตั้งครรภ์

  1. เจาะน้ำคร่ำ

การเจาะน้ำคร่ำสามารถทำได้ในช่วงอายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ โดยการนำเซลล์จากตัวทารกที่หลุดลอยอยู่ในน้ำคร่ำ เช่น จากเซลล์ผิวหนังหรือเซลล์ของเยื่อบุผนังลำไส้ มาปั่นหาเซลล์ของทารก แล้วนำมาเลี้ยงเพื่อศึกษาลักษณะของโครโมโซมได้ วิธีการนี้ค่อนข้างแม่นยำมาก และเจ็บเท่ากับฉีดยา 1 เข็มเท่านั้น ผลตรวจที่ได้นั้นมีความถูกต้องสูงมากและใช้เป็นมาตรฐานในการวินิจฉัย หากเราทราบแต่เนิ่นๆ ว่าทารกมีความผิดปกติ จะได้วางแผนดูแลอย่างเหมาะสมต่อไป หรือหากผลออกมาปกติ คุณพ่อคุณแม่ก็จะได้สบายใจ หายกังวล อย่างไรก็ตามมีคุณแม่มีโอกาสแท้งบุตรจากถุงน้ำคร่ำรั่ว มีการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ หรือว่าเข็มที่เจาะไปโดนตัวทารกขณะเจาะ ประมาณ  0.5–1% ระยะเวลาการรอฟังผลค่อนข้างนานประมาณ 3-4 สัปดาห์

 

  1. เจาะเลือดคุณแม่เพื่อหาปริมาณสารเคมี

เมื่อมีการตั้งครรภ์ ทั้งตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ลูกในครรภ์ และรก จะช่วยกันสร้างสารเคมีขึ้นมาหลายตัว โดยตัวที่มีความสำคัญนำมาใช้ตรวจคัดกรองทารกดาวน์ซินโดรม ได้แก่ อัลฟ่า ฟีโตโปรตีน (alpha feto-protein) เอสตริออล (estriol) เอชซีจี (hCG) อินฮิบิน เอ (Inhibin A) แพบเอ (PAPP-A) คุณแม่สามารถตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสารเคมีดังกล่าว ขณะตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีทารกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ จะมีระดับ อัลฟ่า ฟีโต โปรตีน ต่ำกว่าคุณแม่ที่ลูกในครรภ์ปกติ ในขณะที่พบว่าระดับเอชซีจีสูงกว่า คุณแม่ที่ลูกในครรภ์ปกติ เมื่อนำค่าที่ตรวจต่างๆ มาคำนวณก็จะสามารถบอกได้ว่าลูกในครรภ์มีความเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มอาการดาวน์มากน้อยแค่ไหน

 

  1. อัลตร้าซาวนด์ร่วมกับการตรวจสารเคมีในเลือด

วิธีการนี้เป็นวิธีการที่นิยมกับอย่างแพร่หลายในหมู่สูติแพทย์ทั่วโลก เนื่องจากวิธีตรวจไม่ยุ่งยาก และสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 10-14 สัปดาห์ ซึ่งการอัลตร้าซาวนด์จะวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารกในครรภ์ ร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อหาค่าสารเคมี เอชซีจี และแพบเอ จากนั้นจะนำมาคำนวณหาค่าความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเป็นดาวน์ซินโดรมต่อไป วิธีการนี้มีความไวในการตรวจประมาณ 60– 90% แต่ยังมีความแม่นยำต่ำ และบอกได้เพียงว่าลูกน้อยในครรภ์มีความเสี่ยงแค่ไหน แต่ไม่ได้บอกว่าลูกของคุณแม่เป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่เป็นดาวน์ซินโดรม หากมีความเสี่ยงสูงต้องทำการเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจเพิ่มเติมต่อไป

 

  1. ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม เทคนิค “สนิป” Non-Invasive Prenatal Testing หรือเขียนย่อว่า NIPT

เป็นการตรวจความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ของทารกในครรภ์โดยไม่ต้องทำหัตถการที่เสี่ยง เช่น การเจาะน้ำคร่ำ การตัดชิ้นเนื้อรก หรือการดูดเลือดจากสายสะดือภายในมดลูก ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ดีเอ็นเอของแม่และลูกรวมกัน แล้วนำดีเอ็นเอของโครโมโซมแต่ละคู่มาเปรียบเทียบกันเพื่อดูอัตราส่วนต่อกันโดย ใช้เปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้มีการศึกษาไว้ อายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับการตรวจ NIPT ด้วยเทคนิค Whole Genome Sequencing นั้นจะเริ่มตั้งแต่ 10-12 สัปดาห์เป็นต้นไป

ต่อมาได้มีการตรวจ NIPT โดยเทคนิคใหม่ ชื่อว่า สนิป Single Nucleotide Polymorphism (SNP) ที่สามารถแยกดีเอ็นเอแม่ออกจากดีเอ็นเอลูกได้ ทำให้เราสามารถเลือกเฉพาะดีเอ็นเอของลูก มาทำการวิเคราะห์ต่อไป จึงไม่จำเป็นต้องนำโครโม โซมมาเปรียบเทียบอัตราส่วนกันอีกต่อไปแล้ว และความแม่นยำในการตรวจหาความผิดปกติของดีเอ็นเอทารกในครรภ์ก็มีมากกว่า 99%

 

การวินิจฉัยหลังคลอด

เมื่อทารกเกิดมาแล้ว แพทย์ตรวจร่างกายพบความผิดปกติของรูปร่างหน้าตาและอวัยวะภายในที่สงสัยว่าอาจจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ ก็จะทำการเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจดูพันธุกรรมต่อไป

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

 

การรักษาและดูแลทารกดาวน์ซินโดรม

เนื่องจากเป็นโรคของพันธุกรรม จึงไม่มียารักษาได้ แต่เมื่อเด็กเกิดออกมาแล้ว พ่อแม่และสังคมรอบข้างต้องร่วมมือกัน เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุดโดยพาลูกไปตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจากอาการกลุ่มดาวน์  ดังนี้

  • ในเด็กแรกเกิดจะต้องตรวจภาพอัลตราซาวน์หัวใจ ตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในอื่นๆ ตรวจหาการทำงานของต่อมไทรอยด์ทุกปี
  • ในช่วงวัยทารกและวัยเด็กควรตรวจดูเม็ดเลือดเป็นประจำ การตรวจเอ็กซเรย์ภาพกระดูกสันหลังส่วนคอ การตรวจการได้ยิน ตรวจตาทุกปี
  • รับวัคซีนตามกำหนดเหมือนเด็กปกติทั่วไป
  • ดูแลเรื่องอาหารให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนและเหมาะสม ระวังโรคอ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • การส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่วัยทารก ประเมินระดับสติปัญญาของเด็กว่าจะสามารถเรียนร่วมชั้นกับเด็กทั่วไปได้หรือไม่ หากลูกเรียนไม่ไหว ก็ต้องให้ออกจากโรงเรียนปกติ ไม่ควรฝืนบังคับให้ลูกเรียนต่อไป และมองหาอาชีพที่เหมาะสมให้ต่อไป

การป้องกัน

ไม่สามารถป้องกันได้ ทำได้เพียงตรวจคัดกรองเพื่อหาความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะมีกลุ่มอาการดาวน์

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีไหนดี คลิกหน้าถัดไป>>

ทารกดาวน์ซินโดรม

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีไหนดี

นายแพทย์เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูติแพทย์ ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า การเลือกวิธีการตรวจใด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของคนไข้แต่ละราย โดยมีปัจจัยที่ต้องคำนึงดังนี้

  1. เป็นการตรวจคัดกรองหรือตรวจวินิจฉัย
  • ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ เช่น มารดาอายุน้อย และเป็นการตรวจคัดกรองไม่ใช่การตรวจวินิจฉัย นิยมส่งตรวจด้วยการตรวจสารเคมีในเลือด และอาจร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวน์ด้วยมากที่สุดจากค่าใช้จ่ายน้อย และไม่มีความเสี่ยงของการเจาะน้ำคร่ำ
  • ในกลุ่มที่ความเสี่ยงสูง เช่น มารดาสูงอายุ หรือ มีประวัติบุตรคนก่อนเป็นโรคดาวน์ซินโดรม การตรวจจึงเน้นตรวจคัดกรองที่ต้องมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น แพทย์จึงมักเลือกการตรวจ NIPT หากมารดาต้องการวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายลงอีก ก็อาจใช้วิธีเจาะน้ำคร่ำไปเลย
  1. การประเมินความเสี่ยงทางคลินิก

สามารถประเมินได้จากการซักประวัติและการตรวจอัลตร้าซาวน์

  • ประวัติ คนในครอบครัวหรือพี่น้องเป็นโรคนี้มาก่อน ประวัติการแท้งบุตรต่อเนื่องกันมากกว่า 3 ครั้ง
  • การตรวจอัลตร้าซาวน์พบความผิดปกติบางอย่างที่บ่งชี้ว่าเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น พบเด็กขาสั้น พบเด็กลิ้นโต

หากประเมินแล้วมีความเสี่ยงสูง แพทย์มักนิยมให้เจาะตรวจน้ำคร่ำไปเลย จากเป็นวิธีการที่ใช้วินิจฉัยโรคได้ ค่าใช้จ่ายไม่แพงมาก และเบิกค่ารักษาได้ตามสิทธิของผู้ป่วย

  1. อายุครรภ์

หากอายุครรภ์น้อย นิยมตรวจด้วยการวัดสารเคมีในเลือด จากสามารถรอฟังผลได้ และถ้าผิดปกติสามารถตรวจยืนยันด้วยการเจาะน้ำคร่ำได้อีกที

หากอายุครรภ์มาก ไม่สามารถรอผลตรวจนานได้ อาจเลือกเป็นวิธี NIPT จากมีความแม่นยำสูงและได้ผลตรวจเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายแพงอยู่

ปัจจุบัน หากเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง นิยมตรวจเจาะน้ำคร่ำมากที่สุด

หากผู้ป่วยความเสี่ยงต่ำ นิยมตรวจเลือดวัดสารเคมีที่สุด

หากเป็นผู้ป่วยมีบุตรยาก หรือ คลินิก โรงพยาบาลเอกชน นิยม ตรวจ NIPT มากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงกับเด็กทารกในครรภ์ และลดปัญหาการฟ้องร้องหากเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะน้ำคร่ำ

ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม คลิกหน้าถัดไป>>

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีไหนดี

ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองทารกดาวน์ซินโดรม

ในบริบทของโรงพยาบาลรัฐบาล

  • การตรวจวัดสารเคมีในเลือด 2500-3000 บาท
  • วัดสารเคมีในเลือดและอัลตร้าซาวน์ 3000-4000 บาท
  • เจาะตรวจน้ำคร่ำ 6000-8000 บาท
  • ตรวจเลือด NIPT 22000-25000 บาท

ตรวจคัดกรองทารกดาวน์ซินโดรมได้ที่ไหน

สถานที่ตรวจขึ้นกับชนิดที่เลือกตรวจ

  • หากใช้วิธีเจาะเลือดตรวจสารเคมี สามารถตรวจได้ทั่วไป เนื่องจากเป็นการเก็บตัวอย่างเลือดเท่านั้น แล้วนำส่งทางห้องปฏิบัติการซึ่งมีทั้งในรพ.รัฐและบริษัทเอกชนที่รับตรวจ
  • หากใช้วิธีเจาะตรวจน้ำคร่ำจะต้องทำในโรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงานอยู่เท่านั้น เพื่อเป็นการควบคุมมาตรฐานในการให้บริการและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งนี้สามารถส่งตัวอย่างน้ำคร่ำไปตรวจยังสถานที่อื่นหรือบริษัทเอกชนที่รับตรวจได้
  • หากเลือกตรวจ NIPT จำเป็นต้องสอบถามสถานบริการนั้นๆ ก่อน ว่ามีให้บริการหรือไม่ เนื่องจากการตรวจนี้ต้องการหลอดตัวอย่างเก็บเลือดแบบพิเศษ ซึ่งไม่มีใช้ทั่วไป จำเป็นต้องขอจากบริษัทผู้ตรวจมาเก็บไว้ก่อน ปัจจุบันวิธีนี้สามารถตรวจได้ตามคลินิกใหญ่ๆ รพ.เอกชนชั้นนำ และรพ.รัฐขนาดใหญ่ทั่วไป

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

สุดยอดวิดีโอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่มีลูกเป็นดาวน์ซินโดรม

คุณจะต้องทึ่ง! เมื่อรู้ว่าสาวน้อยดาวน์ซินโดรมคนนี้ทำอะไร

ดาวน์ซินโดรมมีอาการเป็นอย่างไร อาการดาวน์ซินโดรมสามารถติดต่อทางพันธุกรรม ได้หรือไม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีไหนดี เด็กกลุ่มอาการดาวน์เป็นอย่างไร
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว