X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ท้องมาตั้งนาน ลูกในท้องโตช้า ทำไงดี แล้วจะรู้ได้ไงว่าลูกในท้องโตช้า

บทความ 3 นาที
ท้องมาตั้งนาน ลูกในท้องโตช้า ทำไงดี แล้วจะรู้ได้ไงว่าลูกในท้องโตช้า

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องโตช้า สาเหตุที่ลูกในท้องโตช้า เป็นเพราะอะไร จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าลูกในท้องโตช้า คลอดธรรมชาติได้ไหม หรือต้องผ่าคลอด แล้วจะดูแลตัวเองอย่างไร ถ้าลูกในท้องโตช้า

ลูกในท้องโตช้า

ลูกในท้องโตช้า หรือ ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ คือ การที่ทารกในครรภ์ไม่สามารถเจริญเติบโตหรือมีพัฒนาการอย่างที่ควรจะเป็น ทารกบางคนอาจจะมีน้ำหนักน้อยเมื่อเทียบกับทารกที่เจริญเติบโตตามปกติ อย่างไรก็ตาม การที่ทารกในครรภ์ตัวเล็ก น้ำหนักน้อย ก็ไม่ได้หมายความว่าทารกทุกคนจะเจิญเติบโตช้าในครรภ์ทั้งหมด เพราะบางครั้ง การที่พ่อแม่ตัวเล็ก ก็อาจมีผลทำให้ทารกตัวเล็กตามไปด้วยได้เหมือนกัน

ลูกในท้องโตช้าเพราะอะไร

สาเหตุที่ทำให้ลูกในท้องโตช้า มาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ดังนี้

1. เกิดจากความผิดปกติของแม่ท้อง

ลูกในท้องโตช้า อาจเป็นผลมาจากการที่มารดาน้ำหนักตัวน้อย ขาดอาหารก่อนหรือในขณะตั้งครรภ์ หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้การลำเลียงออกซิเจนส่งไปยังลูกไม่เพียงพอ

นอกจากนี้ ในกรณีที่แม่ท้องดื่มเหล้า ก็อาจทำให้ทารกในครรภ์โตช้า มีความผิดปกติ หรือพิการ และหากสูบบุหรี่ตอนท้อง ก็จะมีผลทำให้รกเสื่อมเร็วได้

2. เกิดจากความผิดปกติของทารก

มีโครโมโซมผิดปกติ เช่นกลุ่มดาวน์ซินโดรม หรือมีความพิการแต่กำเนิดที่ทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่

อีกทั้งยังเกิดจากครรภ์แฝด โดยเฉพาะแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียว ที่มีการเชื่อมต่อผิดปกติของหลอด เลือด ทำให้มีการถ่ายเทเลือดระหว่างเด็กแฝดผิดปกติ ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กแฝดผิดปกติได้

3. เกิดจากความผิดปกติของรก มดลูก และสายสะดือ

การที่มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ ทำให้ทารกเจริญเติบโตได้ไม่ดี หรืออาจเกิดจากการที่รกเสื่อม รกลอกตัวบางส่วน รกเกาะต่ำ หรือสายสะดือพันกัน ก็อาจทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ จึงทำให้ทารกเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่

ลูกในท้องโตช้า ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์

ลูกในท้องโตช้า

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องโตช้า

Advertisement

การที่จะทราบได้ว่าลูกในท้องโตช้าหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่สังเกตได้ค่อนข้างยาก นอกเสียจากว่าลูกในท้องเจริญเติบโตน้อยมาก ซึ่งแม่ท้องก็อาจสังเกตได้ว่าขนาดครรภ์ไม่โตขึ้น หรือยอดมดลูกไม่สูงขึ้น หรือน้ำหนักตัวของแม่ท้องไม่เพิ่มขึ้น

เนื่องจากเป็นเรื่องที่สังเกตยาก แม่ท้องจึงอาจจะต้องเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจครรภ์ ซึ่งคุณหมอก็จะทำการวินิจฉัยภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ด้วยการวินิจฉัยความเสี่ยงว่ามีโอกาสที่ทารกในครรภ์โตช้าหรือไม่ จากการสอบถามประวัติเช่น

  • แม่ท้องมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องหรือไม่
  • เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกหรือไม่
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ก่อนอายุ 19 ปีหรือไม่
  • คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปหรือไม่
  • คุณแม่ตั้งครรภ์มากกว่า 5 ครั้งขึ้นไปหรือไม่

นอกจากการสอบถามประวัติ เพื่อวินิจฉัยความเสี่ยงถึงภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แล้ว คุณหมอจะทำการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการอื่น ๆ ด้วย เช่น

  • อัลตราซาวนด์ เพื่อวัดขนาดของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ ความกว้างของศีรษะ เส้นรอบวงศีรษะ เส้นรอบท้อง ความยาวกระดูกต้นขา เพื่อวินิจฉัยว่าทารกในครรภ์อยู่ในภาวะโตช้าหรือไม่
  • ตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อตรวจดูว่าขนาดของครรภ์สัมพันธ์กับอายุครรภ์หรือไม่
  • ตรวจเลือด เพื่อตรวจดูการติดเชื้อ และภาวะซีด
  • วัดความสูงยอดมดลูก
  • ตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ เช่น ตรวจคลื่นหัวใจทารก ตรวจการไหลเวียนของเลือด เป็นต้น

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าลูกในท้องโตช้า

อันตรายจากการที่ลูกในท้องโตช้ามีหลายระดับ ตั้งแต่ไม่ค่อยรุนแรง ไปจนถึงระดับรุนแรงมากจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ลูกในท้องโตช้า เช่น

  • หากเกิดจากรกเสื่อม หรือแม่มีความความดันโลหิตสูง ตั้งครรภ์เกินกำหนด หรือทารกมีภาวะขาดออกซิเจนไม่นาน หากรักษาได้ทันท่วงที และเมื่อคลอดออกมาแล้วได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เด็กก็จะสามารถเติบโตได้ดีเป็นปกติเหมือนเด็กทั่วไป
  • หากเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ทารกอาจมีชีวิตหลังคลอดหรือเสียชีวิตหลังคลอด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความผิดปกตินั้น
  • หากเกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์ อาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้
  • หากเกิดจากทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ น้ำคร่ำน้อย หรือไม่มีน้ำคร่ำ อาจส่งผลให้ทารกพิการ ติดเชื้อ หรือเสียชีวิตได้

ถ้าลูกในท้องโตช้า คลอดธรรมชาติได้ไหม หรือต้องผ่าคลอด

โดยทั่วไปแล้ว หากทารกไม่มีอาการผิดปกติ คุณหมอมักจะพิจารณาให้คลอดธรรมชาติทางช่องคลอด เพราะทารกน้ำหนักตัวน้อย จะคลอดได้ง่าย แต่หากทารกมีภาวะผิดปกติ เช่น ขาดออกซิเจนเรื้อรัง หรือกรณีมีปริมาณน้ำคร่ำน้อย เมื่อเวลามดลูกหดรัดตัวจะทำให้สายสะดือถูกกด ทารกจะขาดออกซิเจนเพิ่มขึ้น คุณหมอก็อาจจะต้องใช้วิธีผ่าคลอด

ดูแลตัวเองอย่างไร ถ้าลูกในท้องโตช้า

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
  • งดทำงานหนัก และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • สังเกตและจดบันทึกการดิ้นของลูก นับลูกดิ้นในเวลา 12 ชั่วโมง ลูกควรจะดิ้น ไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง
  • ไปพบคุณหมอเพื่อตรวจครรภ์ตามนัดเสมอ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ท้องแข็งแบบต่างๆ แยกอย่างไร ลูกโก่งตัว แค่กินอิ่ม หรือใกล้คลอดแล้ว

เจ็บท้องหลอก ต่างจากเจ็บท้องจริงอย่างไร เจ็บแบบไหนใกล้คลอด

วิธีนับลูกดิ้น นับอย่างไร ถึงจะรู้ว่าลูกปลอดภัย ไม่เสียชีวิตในครรภ์

parenttown

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ท้องมาตั้งนาน ลูกในท้องโตช้า ทำไงดี แล้วจะรู้ได้ไงว่าลูกในท้องโตช้า
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว