X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน ป้องกันอันตรายจากสิ่งของเครื่องใช้

บทความ 5 นาที
5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน ป้องกันอันตรายจากสิ่งของเครื่องใช้

รู้หรือเปล่าว่ามีทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ต้องเข้าโรงพยาบาลในแต่ละปีนับล้านคน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าตกใจจนทำให้พ่อแม่เคร่งเครียดกับการดูแล และระมัดระวังลูกให้มากขึ้น แต่อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไปนะคะ เพราะเราได้รวบรวม 5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน มาฝากไว้ให้พ่อแม่อ่าน แล้วลองไปสำรวจภายในบ้านกันดู เพราะนี่คือสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เด็กเจ็บตัว และต้องเข้าห้องฉุกเฉินกันทุกปี

 

5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน

คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทันสังเกตว่า มีสิ่งของต่าง ๆ มากมายในบ้านที่อาจเป็นอันตรายแก่ลูกน้อยได้ โดยเฉพาะของใช้ของเด็กเล็ก เรามาดูสิ่งของที่พ่อแม่ควรดูแลเป็นพิเศษกันค่ะ

 

1. เก้าอี้กินข้าวทารกที่ไม่ปลอดภัย

เชื่อไหมว่ามีเด็กมากมายตกจากเก้าอี้กินข้าวทารก เพราะเก้าอี้กินข้าวนั้นไม่ปลอดภัย พ่อแม่จึงต้องคอยสังเกตลูกที่นั่งเก้าอี้กินข้าวทารกบ่อย ๆ ทั้งตอนกินข้าวในบ้าน หรือนั่งเก้าอี้กินข้าวตามร้านอาหารต่าง ๆ และเพื่อความปลอดภัยภายในบ้าน ต้องเลือกใช้เก้าอี้กินข้าวทารกเฉพาะเวลาที่กินข้าวต่อหน้าพ่อแม่เท่านั้น ที่สำคัญคือการเลือกซื้อเก้าอี้กินข้าวที่มีเข็มขัดรัดอย่างแน่นหนาและปลอดภัย

 

2. ระวังจุกหลอก และถ้วยหัดดื่ม

สงสัยกันใช่ไหมคะว่า จุกหลอก และถ้วยหัดดื่ม อันตรายอย่างไร ปกติแล้วถ้าลูกนั่งเล่นนิ่ง ๆ ก็ไม่เป็นปัญหา แต่เมื่อลูกลุกขึ้นเดินไปมาพร้อมกับ 2 สิ่งนี้นี่สิอันตรายในบ้านของแท้! เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมักจะเป็นเพราะลูกเริ่มหัดเดินเตาะแตะ แล้วล้มลงขณะที่มีจุกหลอกอยู่ในปาก แค่คิดก็น่าหวาดเสียวแล้วล่ะ พ่อแม่จึงต้องเช็กทุกครั้งว่าลูกไม่ได้อมอะไรอยู่ในปากตอนที่กำลังเริ่มหัดเดิน

 

3. ต้องระวังถ่านเล็กใส่นาฬิกา

ถ่านก้อนเล็ก ๆ ที่ใช้ใส่ในนาฬิกา หรือของเล่นต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะเด็กเริ่มหยิบจับของเล็ก ๆ ใส่ปาก มักจะคิดว่านี่คือขนมหวานทานได้ ด้วยขนาดของแบตเตอรี่ทรงกลม ก้อนเท่าเม็ดกระดุม ทำให้พ่อแม่หลงลืมไปว่า มันเป็นอันตราย และมักจะถูกใส่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย จึงจำเป็นจะต้องเช็กให้ละเอียดว่า สิ่งนี้ไม่ได้อยู่ใกล้มือลูก เพื่อให้ลูกปลอดภัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในบ้าน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ป้องกันลูกน้อยจากโรงรถ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักรีด ป้องกันอย่างไรจึงปลอดภัย

 

ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน

 

4. สายไฟพันลูกน้อยจนยุ่งเหยิง

ในแต่ละปี มีทารกที่พิการและเสียชีวิตจากสายไฟ ทั้งสายไฟพันขาจนสะดุดล้ม และเหตุการณ์ร้ายแรงอื่น ๆ แต่ที่น่าเศร้าคือ เด็กบางคนก็บาดเจ็บเพราะสายไฟจากเบบี้มอนิเตอร์! บ้านไหนรู้อย่างนี้แล้ว ควรจะเลือกเบบี้มอนิเตอร์ที่ไม่มีสายไฟ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็เลือกวางสายไฟจากเบบี้มอนิเตอร์ ให้ห่างจากที่ที่ลูกนอน ลูกจะได้ปลอดภัย สายไฟไม่พันขาตอนเดินไปเดินมาในบ้าน

 

5. ตรวจตราให้ดีก่อนลูกเข้านอน

เมื่อลูกเข้านอน พ่อแม่มักจะคิดว่าเป็นเวลาที่สุข สงบ และปลอดภัย แต่แท้จริงแล้วอันตรายไม่แพ้กัน ตั้งแต่การนอนของลูก ยิ่งถ้ารู้จักกับโรคตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือ Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) ที่เกิดเฉพาะตอนทารกหลับอยู่ ก็สร้างความวิตกกังวลไม่น้อย โดยท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับทารกคือท่านอนหงาย และต้องระวังไม่ให้ลูกนอนคว่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเกิดอันตราย นอกจากนี้ ในแต่ละคืน พวกหมอน และผ้าห่ม ก็ควรจะอยู่นอกที่นอนลูกเพื่อความปลอดภัย และที่นอนก็ต้องเรียบไม่มีรอยยับหรือรอยพับ ที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับลูกในขณะหลับ ทางที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นตรวจตราทุกสิ่งภายในบ้านให้ดี เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย ในทุก ๆ เวลา ให้สมกับคำพูดที่ว่า บ้านคือสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด

 

5 พื้นที่ในบ้านที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

นอกเหนือจาก 5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน แล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นเช็กพื้นที่ในบ้านอีกด้วยว่า บริเวณไหนบ้างเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุกับลูกน้อย เรามาดู 5 พื้นที่ในบ้านที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม และควรหมั่นตรวจเช็ก จัดเก็บของให้พ้นมือลูกกันค่ะ

 

1. บริเวณรอบบ้าน

เก็บสิ่งของทุกอย่างให้อยู่สูงกว่าลูก ต้องมั่นใจว่า ลูกของเราจะไม่สามารถปีนป่ายเก้าอี้ หรืออะไรก็ตามเพื่อไปหยิบสิ่งของ อ้อ! อย่าลืมที่จะหาจุกเสียบมาเสียบป้องกันไม่ให้ลูกเอานิ้วแหย่รูปลั๊กไฟกันด้วยนะคะ เพราะเด็ก ๆ กำลังอยู่ในวัยอยากรู้ หากเขาเห็นรูปลั๊กไฟ เขาก็อาจสนใจ และอาศัยจังหวะที่เราเผลอเอานิ้วแหย่เข้าไปได้

 

2. บริเวณห้องหรือพื้นที่เลี้ยงลูก

คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะปรับเปลเพน หรือเตียงเด็กให้มีขนาดต่ำ โดยติดตั้งสิ่งเหล่านั้นให้ห่างจากบริเวณหน้าต่าง ที่สำคัญ ไม่ควรเอาสิ่งของต่าง ๆ หรือมือถือไปวางไว้บนเปลเพนหรือเตียงเด็กเด็ดขาด ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกสามารถคว้าและหยิบจนอาจทำให้สิ่งเหล่านั้นตกลงมาใส่ลูกได้นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีป้องกันลูกจากสารพิษ เมื่อห้ามลูกวัยซนไม่ได้ พ่อแม่ก็ต้องหาวิธีดูแลลูก!

 

ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน

 

3. บริเวณห้องครัว

ควรจัดเก็บสิ่งของมีคม ให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย และห่างไกลจากมือของลูก รวมถึงบริเวณเตาแก๊ส เพราะหลายครั้งที่เรามักจะได้ยินเรื่องราวของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยหัดเดิน ยกตัวอย่างเช่น การถูกน้ำร้อนลวก หรือน้ำมันลวกตัวเป็นต้น และที่สำคัญที่สุด อย่าลืมล็อกหรือหาอะไรมาผูกรัดที่เปิดตู้ หรือลิ้นชักกันด้วยนะคะ

 

4. บริเวณห้องน้ำ

เพื่อเป็นการป้องกันลูก ๆ ไม่ให้ลื่นในห้องน้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะหาที่กันลื่นมาแปะบริเวณพื้นห้องน้ำกันด้วยนะคะ สำคัญที่สุดคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเก็บเหล่าบรรดาสบู่-ครีมอาบน้ำ ยาสระผม-ครีมนวด หรือแม้แต่ที่โกนหนวด หรือยาไว้ในตู้ หรือที่ที่สูง เพื่อให้มั่นใจว่า ลูกจะไม่สามารถเอื้อมหรือปีนไปหยิบได้

 

5. บริเวณบันได

ไม่ควรปล่อยให้ลูกของเราขึ้นลงบันไดเพียงลำพัง เพราะเด็ก ๆ อาจพลาดพลั้งจนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ จะให้ดีคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะทำประตูกั้นหรือหาอะไรมากันทางขึ้นทางลงไว้จะดีที่สุดค่ะ

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

 

นอกจากบริเวณที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีอีกบริเวณหนึ่งที่เรามักจะได้ยินการเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อย ๆ นั่นก็คือบริเวณที่จอดรถ บริเวณหลังบ้าน หรือแม้แต่บริเวณสระว่ายน้ำ ในกรณีที่บ้านมีสระว่ายน้ำอยู่ในตัวบ้าน และถึงแม้ว่าเราจะป้องกันแน่นหนาเท่าไหร่ อุบัติเหตุก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้อยู่ดี ดังนั้น คงจะไม่มีอะไรที่สามารถปกป้องลูกวัยหัดเดินของเราได้ดีไปกว่าตัวเราเองไม่ประมาท และเฝ้าดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิดให้มากที่สุด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

8 วิธีป้องกันเด็กถูก ไฟช็อต รับมืออย่างไรหากลูกถูกไฟช็อต

เด็กจมน้ำ วิธีป้องกันเด็กไม่ให้จมน้ำ และขั้นตอนการช่วยเหลือ

ลูกหกล้ม หัวโน ดูแลอย่างไร ควรปล่อยให้ลูกลุกด้วยตัวเองดีไหม?

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • 5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน ป้องกันอันตรายจากสิ่งของเครื่องใช้
แชร์ :
  • เทคนิคปกป้องลูกให้ปลอดภัยเมื่อเริ่มเดิน

    เทคนิคปกป้องลูกให้ปลอดภัยเมื่อเริ่มเดิน

  • พ่อแม่ต้องอ่าน 20 โรคหน้าร้อนในเด็ก 2020 เตรียมพร้อมรับมือ ดูแลลูกให้ดีกว่าเดิม

    พ่อแม่ต้องอ่าน 20 โรคหน้าร้อนในเด็ก 2020 เตรียมพร้อมรับมือ ดูแลลูกให้ดีกว่าเดิม

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • เทคนิคปกป้องลูกให้ปลอดภัยเมื่อเริ่มเดิน

    เทคนิคปกป้องลูกให้ปลอดภัยเมื่อเริ่มเดิน

  • พ่อแม่ต้องอ่าน 20 โรคหน้าร้อนในเด็ก 2020 เตรียมพร้อมรับมือ ดูแลลูกให้ดีกว่าเดิม

    พ่อแม่ต้องอ่าน 20 โรคหน้าร้อนในเด็ก 2020 เตรียมพร้อมรับมือ ดูแลลูกให้ดีกว่าเดิม

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ