X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ข้อดีของการ จับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ใช่แค่หัวทุยสวย แต่ยังมีประโยชน์อื่นอีก !

บทความ 5 นาที
ข้อดีของการ จับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ใช่แค่หัวทุยสวย แต่ยังมีประโยชน์อื่นอีก !

การฝึก จับลูกนอนคว่ำ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภารกิจสุดท้าทายสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพราะการฝึกให้ลูกนอนคว่ำ เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยพัฒนาการด้านร่างกายของทารก 1-2 เดือน เนื่องจากกระดูกและกล้ามเนื้อคอของเด็กทารกยังไม่แข็งแรง จึงไม่สามารถยกคอและศีรษะขึ้นได้นาน ซึ่งในช่วงแรก ๆ อาจจะยากสำหรับลูกและพ่อแม่ แต่ถ้าหากช่วยกันฝึกแล้ว รับรองว่าลูกน้อยจะมีพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

 

ข้อดีของการนอนคว่ำ

ในเวลาที่ลูกหลับคุณแม่ควรให้ลูกนอนหงายตามที่ American Academy of Pediatrics แนะนำเพื่อป้องกันโรค SIDS หรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็ก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กนอนคว่ำ ดังนั้น เราจะเห็นข่าวเกี่ยวกับการเสียชีวิตของทารกที่พ่อแม่จับให้นอนคว่ำอยู่ตลอดเวลา แต่รู้หรือไม่ว่าการ จับลูกนอนคว่ำ ก็ยังมีข้อดีหลายประการ วันนี้เราได้รวบรวมมาให้คุณแล้ว ดังนี้

  • ปอดทำงานได้ดี เนื่องจากไม่ถูกหัวใจกดทับ เมื่อปอดขยายตัวได้ดีเวลาลูกหายใจ ก็ส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีกว่า
  • กระเพาะอาหารทำงานได้ดี สำหรับในเด็กเล็ก ที่มีหูรูดรอยต่อของกระเพาะอาหารกับหลอดอาหารยังทำงานได้ไม่ดีนัก หากลูกแหวะนมในท่านอนคว่ำจะปลอดภัยกว่าท่านอนหงาย ซึ่งนมอาจย้อนเข้าหลอดลมทำให้เกิดอาการสำลักได้
  • ป้องกันการผวา หรือสะดุ้งตื่น หลับไม่สนิทในเด็กทารก เมื่อจับลูกนอนคว่ำ ลูกก็จะนอนหลับได้เป็นเวลานานขึ้นกว่าเดิม
  • ป้องกันลูกหัวแบน จากการนอนหงายค้นพบว่าจะทำให้ลูกโตขึ้นมาแล้วหัวแบนแต่ การนอนคว่ำจะส่งผลทำให้ลูกหัวทุยสวย

จากข้อดีข้างต้น ทำให้พ่อแม่จำนวนไม่น้อยเลือกที่จะให้ลูกนอนหลับในท่านอนคว่ำ โดยมีความคิดว่า ลูกน้อยของเราไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ก็เคยมีเหตุการณ์ SIDS เกิดขึ้นมาแล้วกับเด็กที่นอนคว่ำ แม้จะเป็นการทำเพียงครั้งแรก หรือ ครั้งเดียวก็ตาม ซึ่งสิ่งที่เราอยากจะแนะนำ คือ การจับลูกนอนคว่ำ ในขณะที่ลูกตื่นเพื่อให้ลูกได้อยู่ในสายตาของผู้ปกครองตลอดเวลา

บทความที่เกี่ยวข้อง : การนอนหลับผิดปกติ ของลูกน้อย แบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ?

 

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

จับลูกนอนคว่ำ ในขณะที่ลูกตื่นดีอย่างไร

การจับลูกนอนคว่ำ ช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของลูกวัย 0-6 เดือนได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างทารกนอนหงายในระหว่างวัน กับทารกนอนคว่ำในระหว่างวัน โดยข้อมูลจากสถาบัน Paediatric Chartered Physiotherapists (APCP) พบว่า ทารกที่นอนคว่ำในระหว่างวันจะมีพัฒนาการที่ดีกว่าทารกที่นอนหงายในระหว่างวัน คือ สามารถพลิกตัว คลาน นั่ง ลุก ยืน และเดินได้เร็วกว่า เนื่องจาก การนอนคว่ำจะช่วยส่งผลให้ทารกเกิดการเรียนรู้ที่จะใช้กล้ามเนื้อส่วนคอ แขน ขา และลำตัวในการเคลื่อนไหว รวมทั้งสามารถควบคุมท่วงท่าต่าง ๆ ได้อย่างสมดุลมากยิ่งขึ้น

คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจได้แนะนำถึงประโยชน์ของการจับลูกนอนคว่ำ ในขณะที่ลูกตื่นไว้ว่า ดังนี้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกลูกนอนคว่ำ คือ ทารกจะฝึกยกคอขึ้นจากพื้น เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ถ้าลูกยกคอได้ดี จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค SIDS เพราะลูกสามารถหันคอหนีไปจากสิ่งที่ขัดขวางทางเดินหายใจ การนอนคว่ำช่วยส่งเสริมพัฒนาการ เพราะว่าถ้ากล้ามเนื้อคอแข็งแรง จะทำให้ลูกพลิกคว่ำได้เร็ว นำไปสู่การนั่งเองได้ และการคลานเป็นอันดับต่อไป ดังนั้น หากลูกต้องการการเรียนรู้วิธีควบคุมการทรงตัวของศีรษะให้นิ่ง รวมถึงความสามารถในการหันศีรษะไปตามทิศทางที่ต้องการ เมื่อมีสิ่งเร้ามาดึงดูดความสนใจ โดยจะต้องมีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงพอที่จะประคองศีรษะให้นิ่ง ขณะที่มีการเคลื่อนที่ของศีรษะ

 

ข้อควรรู้ก่อน จับลูกนอนคว่ำ

  • ตำแหน่งที่วางลูกควรเป็นพื้นราบอยู่ที่ต่ำ เพื่อป้องกันการตกจากที่สูง
  • ไม่มีสิ่งของนุ่มนิ่มอยู่ใกล้ๆ ซึ่งอาจอุดทางเดินหายใจของลูกได้
  • ฝึกวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งประมาณ 5-10 นาที บางคนอาจเริ่มจากวันละครั้ง ถ้าลูกไม่ร้องไห้ ให้อยู่ท่านั้นไปได้นานเท่าที่ลูกยอม ซึ่งอาจเป็นเพียง 15 วินาที หรือ นาน 15 นาที ถ้าลูกร้องไห้ ให้อุ้มขึ้นได้เลย
  • ทารกบางคนร้องไห้เพราะยังไม่ชิน และยังมีกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรง ยกศีรษะไม่พ้น จึงหงุดหงิดที่ตัวเองทำไม่ได้ วิธีแก้ไข คือ ให้ฝึกบ่อย ๆ ลูกจะทำได้ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มสนุกกับการอยู่ในท่านี้ได้ในที่สุด
  • อย่าจับนอนคว่ำภายใน 1 ชม.หลังกินข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกอาเจียนง่าย

 

จับลูกนอนคว่ำ

 

วิธีฝึกลูกให้สนุกกับการนอนคว่ำ

  • จัดให้ลูกนอนคว่ำบนตัวพ่อแม่ หรือ วางนอนคว่ำพาดขวางบนตัก
  • พ่อแม่นอนคว่ำด้วย หันหน้าเข้าหาลูก เอาของเล่นสีสันสดใสหรือกรุ๊งกริ๊งมาล่อหลอก
  • พ่อแม่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าตัวลูก ส่งเสียงพูดหรือร้องเพลงให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกพยายามเงยหน้าขึ้นมามองพ่อแม่
  • จัดลูกนอนคว่ำอยู่หน้ากระจก เพื่อให้ลูกเห็น และเล่นกับภาพตัวเองในกระจก
  • ทันทีที่ลูกเริ่มหงุดหงิด ให้จัดเป็นท่านอนหงาย แล้วเล่นเป่าปากที่พุงของลูก 2-3 ครั้งให้ลูกอารมณ์ดี แล้วเปลี่ยนเป็นท่านอนคว่ำ เป่าที่หลังแบบเดียวกัน มักเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจที่ได้ผลสำเร็จแทบทุกครั้ง

 

การฝึกให้ลูกนอนคว่ำในขณะตื่น ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ ควรฝึกและช่วยให้ลูกทำได้สำเร็จ เพื่อส่งเสริมให้ลูกได้มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ตามวัย รวมทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้กับตัวลูกได้อีกด้วย ทั้งนี้ คุณพ่อและคุณแม่ควรฝึกด้วยความระมัดระวัง ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่อลูกน้อยของเรา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกนอนเยอะเกินไป ลูกน้อยวัยทารกนอนมากเกินไปรึเปล่า ? มีด้วยหรือ ?

คัมภีร์การนอนของทารกวัย 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือน

ลูกควร “เลิกนอนกลางวัน” ตอนไหน ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ?

ที่มาข้อมูล : 1 2 3

บทความจากพันธมิตร
51Talk แพลตฟอร์มเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ สำหรับเด็กอายุ 3-15 ปี ถือฤกษ์ดีประกาศเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อเดินหน้าพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย
51Talk แพลตฟอร์มเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ สำหรับเด็กอายุ 3-15 ปี ถือฤกษ์ดีประกาศเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อเดินหน้าพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย
แชร์กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น ตัวช่วยดี ๆ เพิ่มสมาธิให้ลูกรักมากขึ้น!
แชร์กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น ตัวช่วยดี ๆ เพิ่มสมาธิให้ลูกรักมากขึ้น!
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ข้อดีของการ จับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ใช่แค่หัวทุยสวย แต่ยังมีประโยชน์อื่นอีก !
แชร์ :
  • 5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

    5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

  • วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง ต้องทำแบบนี้ถึงจะถูก

    วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง ต้องทำแบบนี้ถึงจะถูก

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • 5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

    5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

  • วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง ต้องทำแบบนี้ถึงจะถูก

    วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง ต้องทำแบบนี้ถึงจะถูก

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว