X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

8 วิธีป้องกันเด็กถูก ไฟช็อต รับมืออย่างไรหากลูกถูกไฟช็อต

บทความ 5 นาที
8 วิธีป้องกันเด็กถูก ไฟช็อต รับมืออย่างไรหากลูกถูกไฟช็อต

เด็กเล็ก เป็นวัยที่ชอบเรียนรู้ และสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นของเล่น ของใช้ หรือแม้กระทั่งเครื่องใช้ไฟฟ้า เด็ก ๆ จะรู้สึกตื่นเต้น และสนุกสนานกับการสำรวจสิ่งของเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้ลูกได้เล่นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า อาจเป็นอันตรายในการถูก ไฟช็อต ได้ วันนี้ theAsianparent จะพามาดูกันวิธีป้องกันเด็กถูกไฟช็อต จากของใช้ภายในครัวเรือนค่ะ

 

ไฟช็อต คืออะไร

ไฟช็อต (Electric Shock) คือ ภาวะที่ผิวหนังได้รับการบาดเจ็บจากพลังงานไฟฟ้า โดยการถูกไฟช็อตนั้น จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไปสัมผัสกับแหล่งที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าโดยตรง เนื่องจากร่างกายของคนเราเป็นตัวนำไฟฟ้า หากไปสัมผัสแหล่งพลังงานที่มีกระแสไฟฟ้า ก็อาจส่งผลให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเนื้อเยื่อเข้ามาในร่างกาย จนทำให้เกิดการช็อตได้ โดยผู้ที่ถูกไฟช็อตนั้น อาจได้รับบาดเจ็บรุนแรงต่างกันไป บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งบาดแผลจากการถูกไฟช็อตนั้น จะทำให้ผิวหนัง และเนื้อเยื่อในร่างกายไหม้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และถูกทำลายกล้ามเนื้อ และสมอง ดังนั้นการป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าจากลูกน้อย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรเก็บไว้อย่างมิดชิด เพื่อป้องกันลูกได้รับอันตรายค่ะ

 

ลูกถูกไฟช็อตทำอย่างไร

อันตรายจากไฟช็อต มักเกิดขึ้นกับเด็ก โดยเฉพาะเด็กทารก และเด็กเล็ก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตเวลาลูกน้อยเล่นรอบบ้าน และควรเก็บเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแยกพื้นที่ของลูกไว้โดยเฉพาะ เรามาดูวิธีรับมือเบื้องต้นหากลูกถูกไฟช็อตกันค่ะ

  • เมื่อลูกถูกไฟช็อต ให้รีบสับคัตเอาต์หรือตัดกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากปล่อยไว้นาน ก็อาจเสี่ยงที่ลูกของคุณจะเสียชีวิต
  • ถอดปลั๊ก และตัดไฟบริเวณที่ลูกถูกไฟดูด
  • หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าพื้นที่นั้นปลอดภัยแล้ว ให้รีบดึงลูกออกมาจากพื้นที่ก่อนเป็นอันดับแรก ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจว่าจะปลอดภัยทั้งตัวเอง และลูกน้อย
  • อย่าพยายามแตะ หรือช่วยเหลือเด็กที่กำลังโดนไฟดูดด้วยมือเปล่า เพราะกระแสไฟฟ้าจะวิ่งเข้าสู่ร่างกายของคุณพ่อคุณแม่ด้วย
  • หากยืนเท้าเปล่า ให้พยายามหาผ้าแห้งมาวางไว้บนพื้น แล้วเหยียบผ้าไว้ก่อนจะเริ่มช่วยลูก
  • หาผ้าเช็ดตัว หรือผ้าห่มคลุมตัวลูกที่โดนไฟดูด แล้วดึงลูกออกมาจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรระวังมือ และเท้าเปล่าไม่ให้สัมผัสโดนตัวลูก
  • เมื่อพาลูกออกจากพื้นที่แล้ว ให้เช็กดูว่าเขายังหายใจอยู่หรือเปล่า หากลูกไม่หายใจ หรือหายใจช้าผิดปกติ ให้เริ่มทำ CPR ทันที
  • หากลูกมีแผลไหม้ ให้ถอดเสื้อผ้าออก แล้วล้างแผลด้วยน้ำสะอาด จากนั้นพันแผลด้วยผ้าแล้วนำลูกส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนไฟช็อต

 

ไฟช็อต

 

8 วิธีป้องกันการถูกไฟช็อต

อย่างที่ทราบว่าการถูกไฟช็อต ไฟดูดนั้น เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากไม่ระมัดระวังในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ก็มีโอกาสได้รับบาดเจ็บได้ง่าย เรามาดูวิธีป้องกันการถูกไฟช็อต เพื่อตัวเอง และลูกน้อยกันดีกว่าค่ะ

 

1. หมั่นเช็กอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน

เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านนั้น สามารถเกิดไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจรได้เสมอ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นเช็กสายไฟ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทุกชนิด เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และลูกน้อย หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าสายไฟชำรุด สายไฟขาด หรือบวม ควรเปลี่ยนสายไฟทันที หรือติดต่อช่างไฟให้เข้ามาซ่อมแซม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

 

2. ห้ามจับอุปกรณ์ไฟฟ้าขณะมือเปียก

เป็นที่รู้กันดีว่า การจับอุปกรณ์ไฟฟ้าขณะมือเปียกนั้น เป็นพฤติกรรมที่อันตรายเป็นอย่างมาก เพราะกระแสไฟฟ้าสามารถไหลเข้าสู่ร่างกายได้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนมักเผลอใช้มือเปียกปิดไฟ หรือจับโทรศัพท์ นั่นอาจทำให้เป็นอันตรายถึงขึ้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรสอนลูกไม่ให้จับเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะมือเปียก และควรเช็ดมือให้แห้งสนิทก่อนอุปกรณ์ใด ๆ ทุกครั้ง

 

3. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด

การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดนั้น สามารถป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าได้ ไม่ว่าจะเป็น เบรกเกอร์ควบคุมไฟ สายดิน หรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงในการถูกไฟฟ้าดูดได้เป็นอย่างดี เพราะหากปล่อยให้ไฟฟ้ารั่วนั้น ก็อาจทำให้กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง เพื่อความปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ช่างไฟเข้ามาติดตั้งระบบป้องกัน และสายดินโดยเฉพาะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อุบัติเหตุในเด็ก อุบัติเหตุเกิดขึ้นกับลูก ได้ง่าย ๆ พร้อมวิธีป้องกันอุบัติเหตุในเด็ก

 

ไฟช็อต

 

4. เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน

คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มอก. หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อความปลอดภัย โดยก่อนเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ให้สังเกตสัญลักษณ์ มอก. บนตัวสินค้าต่าง ๆ ก่อน เช่น ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว และไมโครเวฟ เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องไฟฟ้าราคาถูกที่ไม่มีเครื่องหมาย มอก. เพราะอาจไม่ได้รองรับมาตรฐานที่ปลอดภัย

 

5. ไม่ใช่อุปกรณ์ไฟฟ้าเกินกำลัง

บ่อยครั้งที่หลาย ๆ บ้าน มักเสียบปลั๊กไฟหลาย ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ไฟฟ้าช็อต หรือไฟฟ้าลัดวงจรได้ หากคุณพ่อคุณแม่ชอบต่อปลั๊กพ่วงมากเกินไป หรือเสียบปลั๊กอุปกรณ์พร้อมกันหลาย ๆ เครื่อง ก็อาจเสี่ยงต่ออันตราย เพราะบางทีเส้นไฟเส้นเล็ก อาจมีกำลังวัตต์น้อย อาจส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรนั่นเอง ดังนั้นก่อนจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านคู่มือการใช้งานทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเกินกำลัง

 

6. ไม่ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเอง

หากคุณพ่อคุณแม่ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเอง โดยไม่มีความรู้ในการซ่อมแต่อย่างใด ก็อาจทำให้เราซ่อมอุปกรณ์ไม่ถูกวิธี และส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะฉะนั้น หากสังเกตว่าอุปกรณ์ไฟฟ้ารั่ว หรือชำรุด ควรรีบถอดปลั๊ก และติดต่อช่างไฟที่ชำนาญเฉพาะทาง มาซ่อมแซมให้จะดีกว่าค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ป้องกันเด็กไม่ให้โดนไฟดูด ทำยังไง? อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

 

ไฟช็อต

 

7. เก็บอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มิดชิด

เด็กเล็กมักชอบสำรวจสิ่งของรอบ ๆ ตัว โดยเฉพาะเครื่องไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หรือสายไฟ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเก็บสายไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านให้พ้นมือเด็ก โดยอาจหาฝาปิดรูปปลั๊กไฟ หรือเก็บเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ในห้องเก็บของ ยิ่งหากบ้านไหนที่มีเด็กเล็ก ๆ ลูกอาจเอานิ้วมือไปแหย่ปลั๊กไฟเล่นได้ ดังนั้นจึงควรเก็บอุปกรณ์ทุกอย่างให้มิดชิด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

8. ไม่อยู่ใกล้แหล่งจ่ายไฟในช่วงฝนตก

ในช่วงที่ฝนตก การอยู่ใกล้แหล่งกำเนิดไฟฟ้าอาจเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะอาจมีความเสี่ยงในการเกิดฟ้าผ่า และไฟฟ้ารั่วได้ เพื่อความปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้แหล่งจ่ายไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า หรือเสาไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น

 

ไฟช็อต และไฟดูด เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ คุณพ่อคุณแม่จึงควรรู้จักวิธีรับมือหากลูกถูกไฟช็อต และวิธีป้องกันไฟดูดภายในบ้าน ที่สำคัญควรเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูก เพราะอาจเสี่ยงต่อการรั่วไหล และไฟดูดได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตกน้ำ ตกเรือต้องทำยังไง วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ

ป้องกันลูกน้อยจากโรงรถ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักรีด ป้องกันอย่างไรจึงปลอดภัย

น้ำร้อนลวก ไฟไหม้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับเด็กๆ ภายในบ้าน คุณแม่ควรระวัง

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sittikorn Klanarong

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • 8 วิธีป้องกันเด็กถูก ไฟช็อต รับมืออย่างไรหากลูกถูกไฟช็อต
แชร์ :
  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ