อาการของคนท้อง จะขึ้นอยู่กับวันสุดท้ายของประจำเดือน และจะเริ่มนับเอาวันสุดท้ายของประจำเดือนครั้งสุดท้ายถือเป็น อาการคนท้องสัปดาห์แรก ของการตั้งครรภ์ค่ะ สำหรับอาการคนท้องระยะแรก มีดังต่อไปนี้ คุณแม่ลองมาตรวจดูดีกว่า ว่า อาการคนท้องเริ่มเมื่อไหร่ คุณแม่มีอาการ คล้ายคลึง ใกล้เคียงกับแบบนี้ บ้างหรือไม่
อาการของคนท้อง รู้เมื่อไหร่ว่าเราท้องชัวร์ อาการคนท้องเริ่มเมื่อไหร่
คุณแม่อยากรู้ว่า อาการคนท้อง 1 เดือน เป็นยังไง หรือ เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ เลื่อนอ่านเพิ่มเติมที่ด้านล่างได้เลย
อาการนี้จะเกิดขึ้นใน ช่วงแรกของ อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ถึง 4 สัปดาห์ ในช่วงนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ แล้วค่อย ๆ พัฒนาไปสู่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ โดยตัวอ่อน จะเริ่มมีการฝังตัวที่ เยื่อบุโพรงมดลูกหลังจากมี การปฏิสนธิประมาณ 10-14 วัน ทำให้คนท้องมีอาการเลือดออกโดยสีเลือดที่ออกมาอาจจะเป็น สีชมพู สีแดง หรือสีน้ำตาล พร้อมกับมี อาการปวดท้องแต่ไม่รุนแรง
ในช่วงการเริ่มตั้งครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 4 ร่างกายของคนท้องจะเริ่มผลิตฮอร์โมน chorionic gonadotropin (hCG) ที่เป็นตัวหยุดยั้งการตกไข่ในแต่ละเดือน ช่วงนี้เองคุณแม่สามารถซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจเองได้ โดยการตรวจวัดค่า hCG ค่ะ ซึ่งสามารถตรวจวัดได้หลังจากที่ประจำเดือนขาดได้ 8 วันค่ะ
-
อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ
ส่วนใหญ่อุณหภูมิร่างกายของคนท้องจะสูงขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะช่วงที่คุณออกกำลังกายและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อน สำหรับคุณแม่ที่สงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์หรือไม่ให้พยายามดื่มน้ำมาก ๆ และออกกำลังกายอย่างระมัดระวัง
จริง ๆ แล้ว อาการเหนื่อยล้าเกิดขึ้นได้ตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ แต่ก็เป็นหนึ่งในสัญญาณที่บอกว่าคุณกำลังตั้งท้องได้เช่นกัน เหนื่อยจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายจึงทำให้คุณรู้สึกง่วงได้ง่าย ดังนั้น คนท้องควรพักผ่อนให้เพียงพอ และพยายามทำให้ห้องนอนเย็นสบายค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมท้องแล้วขี้เกียจ คนท้องนอนเยอะ เหนื่อยง่าย หิวง่าย ผิดปกติหรือเปล่า?
หากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 8-10 สัปดาห์ คุณจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วขึ้น มีอาการใจสั่นบ้างซึ่งเป็นเรื่องปกติของการตั้งครรภ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายเช่นเดียวกัน หากคุณแม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเต้นของหัวใจ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีค่ะ
-
มีความรู้สึกเจ็บแปลบที่เต้านม
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการตั้งครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 – 6 โดยที่คุณแม่จะรู้สึกเจ็บเต้า รู้สึกว่านมบวม ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในร่างกาย ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปหลังจากที่ร่างกายของคุณแม่สามารถปรับตัวเข้ากับฮอร์โมนได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงของลานนม อาจทำให้หัวนมมีสีคล้ำและมีขนาดขยายใหญ่ขึ้น
ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปของคนท้องระหว่างตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่ออารมณ์ของคนท้อง ทำให้คุณแม่มีอารมณ์เหวี่ยงวีนบ้าง ซึมเศร้าบ้าง น้อยใจบ้าง หรือความวิตกกังวลต่าง ๆ แบบที่คาดการณ์ไม่ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องอารมณ์อ่อนไหว คนท้องอารมณ์แปรปรวน แม่ท้องอารมณ์เป็นยังไง?
ในระหว่างที่คุณเริ่มตั้งครรภ์ ร่างกายจะผลิตเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เลือดเกิดการสูบฉีดตลอดเวลาสิ่งที่ตามมาคือ ไตทำงานหนักขึ้น เมื่อไตทำของเหลวมากกว่าปกติ ของเหลวจะไหลเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะของคุณมากขึ้น ทำให้คุณแม่เข้าห้องน้ำบ่อยนั่นเองค่ะ
-
มีอาการท้องอืดหรือท้องผูก
อาการท้องอืดของคุณแม่คล้ายกับอาการปวดท้องประจำเดือน สาเหตุอาจมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ระบบย่อยอาหารของคุณช้าลง ทำให้รู้สึกท้องผูกหรือท้องอืดได้ง่ายค่ะ
อาการแพ้ท้องหรือคลื่นไส้ของคนท้องจะมักจะเกิดขึ้นในช่วง 4-6 สัปดาห์ และสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นช่วงกลางวันหรือกลางคืน ซึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่อาจมีอาการแพ้รุนแรงมากหน่อย แล้วอาการเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 2
ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกว่ามีอาการหน้ามืดอันเนื่องมาจากความดันโลหิตสูง แต่อาการนี้ถ้าคุณแม่ไม่ได้รับการตรวจก็อาจไม่ทราบได้ว่าตัวเองกำลังมีความดันสูงอยู่ นอกจากจะแสดงอาการออกมา ดังนั้น เวลาที่คุณแม่มีอาการหน้ามืด แนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ ทานอาหารให้อิ่มอย่าให้ท้องว่าง และค่อย ๆ ลุกขึ้นหรือนั่งลง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ความดันโลหิตสูง อาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ ต้องระวังให้ดี
คนท้อง จะมีความไว ต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะช่วง ไตรมาสแรก ทำให้บ่อยครั้งที่คุณแม่ ได้กลิ่นอาหาร แล้วเกิด อาการเหม็นจนเกิด อาการคลื่นไส้และอาเจียน และ ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถ กินอาหารได้อีกเลย
โดยปกติคนท้อง จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 0.45 – 1.80 กิโลกรัม ในช่วงสามเดือนแรก และในช่วงนี้ คุณแม่จะต้องการ สารอาหารมากกว่าปกติ ทำให้อยากกิน อาหารบ่อย และ น้ำหนักตัวขึ้น โดยน้ำหนัก จะถูกเฉลี่ยไป ตามส่วนต่างของร่างกาย ทั้งหน้าอก มดลูก รก น้ำคร่ำ เลือด และไขมัน
การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ของคนท้อง อาจทำให้เกิด อาการแสบร้อนกลางอก เพราะ ฮอร์โมน อาจทำให้เกิดกรด ในกระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร ซึ่งถ้า คุณแม่ มีอาการเหล่านี้ แนะนำ ให้หลังจาก กินอาหารอิ่มแล้ว ควรนั่งย่อย อาหารก่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่หลายคน อาจจะเริ่มมีการ เปลี่ยนแปลงทาง ร่างกาย หลายคน เกิดสิวตามใบหน้า และ แผ่นหลัง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ของ คนท้องค่ะ โดยอาการ เหล่านี้จะหายไป หลังจากที่คุณแม่ได้คลอดลูก
เป็นยังไงกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เรื่องของ ” อาการของคนท้อง เป็นยังไง? เริ่มเมื่อไหร่? อาการแบบไหนที่บอกว่าท้องชัวร์! ” สาว ๆ ควรหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและทางอารมณ์ของตัวเองอยู่สม่ำเสมอนะคะ เพราะถ้าเราพบความผิดปกติใด ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เราก็ยิ่งสามารถเข้าปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกต้องอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหากพบว่าเราตั้งครรภ์ จะทำให้เราสามารถเตรียมตัวได้พร้อมมากขึ้นสำหรับการตั้งครรภ์ และลดโอกาสการตั้งครรภ์ไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ไม่รู้ตัวได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
อาการคนท้องเดือนแรก มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง คุณอาจจะยังไม่รู้ตัว
อาการเริ่มแรกของคนท้อง เป็นอย่างไร มาเช็กดูกัน !
6 อาการที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์
แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการคนท้อง ได้ที่นี่!
อาการคนท้องเริ่มเมื่อไหร่ อย่างพวก อาการแพ้ท้อง อาเจียน อยากอาหารอ่ะคะ
ที่มา : healthline
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!