X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกฟันขึ้นตอนไหน ทารกฟันขึ้น ทำยังไง วิธีบรรเทาอาการคันเหงือก ปวดเหงือก

บทความ 5 นาที
ลูกฟันขึ้นตอนไหน ทารกฟันขึ้น ทำยังไง วิธีบรรเทาอาการคันเหงือก ปวดเหงือก

หน่อฟันของทารกนั้น พัฒนาขึ้นมาอยู่ใต้เหงือก นับตั้งแต่ตอนที่เขาอยู่ในท้องของคุณแม่ โดยฟันซี่แรกพร้อมจะงอกออกมาพ้นเหงือก ในช่วงที่ลูกน้อยอายุราว 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เริ่มให้ลูกได้ลองชิมอาหารเนื้อบดหยาบ ๆ และชิมรสชาติที่แปลกใหม่นอกเหนือจากนมแม่นั่นเอง แต่ทั้งนี้ ฟันของทารกบางรายก็อาจจะขึ้นช้ากว่านั้นได้ ข้อสงสัยที่ว่า ลูกฟันขึ้นตอนไหน ฟันขึ้นตอนกี่เดือน และเมื่อ ลูกฟันขึ้น จะดูแลเหงือกและฟันอย่างไร วันนี้หมอมีคำตอบครับ

 

ทารกฟันขึ้นตอนไหน

 

ลูกฟันขึ้นตอนไหน ลำดับการขึ้นของฟันทารก เป็นอย่างไร

โดยปกติแล้ว ฟันน้ำนม ซี่แรกของทารกจะเริ่มขึ้นที่อายุ 4 – 9 เดือน โดยทั่วไปจะเริ่มขึ้นที่อายุประมาณ 6 เดือน โดยจะเริ่มจากฟันล่างคู่หน้า ตามมาด้วยฟันบนคู่หน้า แล้วฟันน้ำนมจะขึ้นจนครบทั้งหมด 20 ซี่เมื่อลูกอายุ 2 ปี ถึง 2 ปีครึ่งครับ ทั้งนี้หากลูกอายุ 1 ปี แล้วฟันยังไม่ขึ้น ก็อาจสามารถรอได้จนอายุ 1 ปีครึ่ง หากยังไม่มีฟันขึ้นเลย ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ดีกว่านะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ในเด็ก โรคยอดฮิตที่พ่อแม่เด็กเล็ก ต้องระวัง!

 

วิธีสังเกตอาการเมื่อ ลูกฟันขึ้น

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่อยากรู้วิธีการสังเกตเจ้าตัวน้อยของเราว่า ดูยังไงให้รู้ว่าฟันลูกเริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งต้องบอกว่าง่ายมาก ๆ โดยเราอาจจะต้องทำการสังเกตอาการดังต่อไปนี้เลยครับ

  1. น้ำลายไหลเยอะ

อย่างที่รู้กันดีครับว่าโดยปกติเด็ก ๆ ก็มักจะมีน้ำลายไหลออกมาเรื่อย ๆ อยู่แล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ มีน้ำลายไหลออกมามากกว่าปกติ หรือไหลออกมาเป็นจำนวนมาก สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกว่าฟันเด็ก ๆ เริ่มขึ้นแล้วนั่นเอง

  1. อยากกัดนู่นนี่นั่น

เมื่อเด็ก ๆ เริ่มมีฟันเกิดขึ้น เขาก็จะมีอาการคันเหงือกขึ้นมา เห็นอะไรก็อยากจะกัดไปหมด เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องทำการสังเกตเด็ก ๆ หากอยู่ ๆ ลูกของเราอยากเริ่มหมั่นเขี้ยว เริ่มอยากกัดนู่นนี่นั่นขึ้นมา ก็อาจเป็นไปได้ว่าเด็ก ๆ เริ่มมีฟันเกิดขึ้นแล้ว

  1. ชอบเอามือเข้าปาก

อีกอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างสังเกตได้ง่าย คือเด็ก ๆ จะชอบอมนิ้วตัวเอง ชอบเอามือเข้าปาก หรือบางคนก็อาจจะอมนิ้วเท้าตัวเองด้วย ถ้าลูกของเรามีพฤติกรรมแบบนี้อยู่ แสดงว่าเด็ก ๆ เริ่มมีฟันเกิดแล้วล่ะครับ

  1. รู้สึกหงุดหงิด หรืองอแง

วิธีการสังเกตต่อมาคือเด็ก ๆ เริ่มมีอาการงอแง หรือเริ่มรู้สึกหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ โดยเด็กบางคนก็อาจจะตื่นบ่อย หรือหลับยาก เด็กบางคนอาจจะมีไข้ ตัวร้อนจากการอักเสบของเหงือกที่ฟันกำลังจะขึ้น ทำให้งอแงมากกว่าเดิมได้ ซึ่งอาการเหล่านี้สำหรับเด็กบางคนก็อาจจะแตกต่างกันออกไป

  1. สังเกตบริเวณเหงือก

ต่อมาคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะคอยสังเกตบริเวณสันเหงือกของเด็ก ๆ ดูว่าเหงือกมีสีซีด หรือมีลักษณะที่เป็นซี่ฟันเกิดขึ้นหรือเปล่า หากเด็ก ๆ เริ่มมีฟันขึ้นมา บริเวณสันเหงือกก็จะมีลักษณะแข็ง หรือบางคนก็อาจจะมองเห็นฟันเป็นซี่ ๆ ได้เลย

 

ลูกรัก ฟันน้ำนมขึ้นตอนไหน

 

วิธีบรรเทาอาการคันเหงือก ปวดเหงือก

หากสงสัยว่าลูกมีอาการที่เหมือนฟันเริ่มขึ้นดังกล่าว และดูงอแงร้องกวนผิดปกติ คุณพ่อ คุณแม่ สามารถช่วยบรรเทาอาการในช่วงที่ฟันเริ่มขึ้นของลูกได้โดยการนวดเหงือก ซึ่งสามารถทำได้โดย

  • ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำสะอาดเย็น ๆ พันนิ้ว แล้วนวดเหงือกให้ลูกเบา ๆ เพื่อผ่อนคลายอาการเจ็บปวด หรือ คันเหงือก
  • ใช้ยางกัดแช่เย็นที่ปลอดภัย กับเด็ก มาให้ลูกกัดได้ โดยควรเลือก ยางกัด ของเล่นที่มีคุณภาพดี หลีกเลี่ยงชนิดที่มีน้ำอยู่ข้างใน เพราะลูกอาจกัดแล้วขาดกลืนน้ำเข้าไปจนเกิดเป็นอันตรายได้
  • หากลูก ร้องกวน เหมือนมีความเจ็บปวดมาก ในช่วงที่ฟันเริ่มขึ้น ก็อาจให้ทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลเป็นครั้งคราวได้ครับ

เมื่อลูกน้อยวัยทารก เริ่มมีฟันขึ้น คุณพ่อ คุณแม่ ควรดูแลสุขภาพฟันของลูกโดย ให้ทานนมเป็นเวลา และควรเป็น นมแม่ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นนมแม่ หรือ นมผสม ก็สามารถทำให้ฟันผุได้หากดูแลไม่ถูกต้อง หมั่นทำความสะอาดฟัน ตั้งแต่ซี่แรกที่ขึ้น โดยใช้แปรงสีฟันขนอ่อน ๆ สำหรับทารก มาแปรงฟันให้ลูกเคยชิน พร้อมกับ ใส่ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ สำหรับเด็กเล็ก โดยปริมาณยาสีฟันที่ใช้คือ แตะแค่พอเปียกบนขนแปรงเล็กน้อย และ ใช้ผ้าสะอาดเช็ดฟองออกหลังจากแปรงฟันทุกครั้ง เพื่อป้องกันการกลืนยาสีฟัน

 

 

แม้ว่าฟันของลูกน้อยวัยทารก จะเป็นเพียง ฟันน้ำนม แต่ก็เป็นฟันชุดที่มีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยนำร่องให้ฟันแท้ขึ้นในตำแหน่งที่ถูกต้อง อีกทั้งลูกจะต้องใช้ฟันน้ำนมนี้ เพื่อการทานอาหารไปอย่างน้อยจนถึงอายุ 6-12 ปี จึงจะมีฟันแท้ขึ้นมาครบทดแทนที่ฟันน้ำนมได้ การดูแลฟันน้ำนม จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทั้งนี้การสอนให้ลูกรู้จักดูแลฟันน้ำนมอย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ ย่อมเป็นรากฐาน ของสุขภาพฟันที่ดีของลูกต่อไปในอนาคตครับ

หมอน็อบ

ทพ.ณัฐภัทร ภัทรพรเจริญ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีดูแลรักษาฟันซี่แรก และเคล็ดลับทำความสะอาดปากและฟันของลูกน้อย

วิธีให้ลูกเลิกขวด ลูกติดขวด ระวังฟันผุ แม่จะจับลูกเลิกนมมื้อดึกอย่างไร ให้ได้ผล!

ฟันหน้าผุยกแผง! ปล่อยลูกดูดนมนอน ดูดนมมื้อดึก แม่แปรงฟันลูกไม่ดี คิดว่าแค่ฟันน้ำนม

 

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ทพ.ณัฐภัทร ภัทรพรเจริญ

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกฟันขึ้นตอนไหน ทารกฟันขึ้น ทำยังไง วิธีบรรเทาอาการคันเหงือก ปวดเหงือก
แชร์ :
  • สาเหตุที่ฟันขึ้นช้าและวิธีบรรเทาอาการเมื่อ ลูกฟันขึ้น ร้องไห้ปวดเหงือก

    สาเหตุที่ฟันขึ้นช้าและวิธีบรรเทาอาการเมื่อ ลูกฟันขึ้น ร้องไห้ปวดเหงือก

  • ทารกฟันขึ้น งอแง ร้องไห้ มีไข้ มีวิธีลดอาการปวดของลูกอย่างไร

    ทารกฟันขึ้น งอแง ร้องไห้ มีไข้ มีวิธีลดอาการปวดของลูกอย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • สาเหตุที่ฟันขึ้นช้าและวิธีบรรเทาอาการเมื่อ ลูกฟันขึ้น ร้องไห้ปวดเหงือก

    สาเหตุที่ฟันขึ้นช้าและวิธีบรรเทาอาการเมื่อ ลูกฟันขึ้น ร้องไห้ปวดเหงือก

  • ทารกฟันขึ้น งอแง ร้องไห้ มีไข้ มีวิธีลดอาการปวดของลูกอย่างไร

    ทารกฟันขึ้น งอแง ร้องไห้ มีไข้ มีวิธีลดอาการปวดของลูกอย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ