X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกกินนมแล้วอ้วก สำรอกนม ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายร้ายแรงแค่ไหน

บทความ 5 นาที
ลูกกินนมแล้วอ้วก สำรอกนม ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายร้ายแรงแค่ไหน

ลูกกินนมแล้วอ้วก สำรอกนมที่กินออกมาหมดเลย ลูกเป็นแบบนี้บ่อยมากจะเป็นอันตรายมั้ย ทำไมลูกกินนมแล้วอ้วกออกมา หากเป็นแบบนี้แล้วจะหายได้เองหรือไม่ หรือต้องพาไปพบแพทย์ ติดตามอ่านได้ในบทความนี้ค่ะ

 

ภาวะแหวะนมในทารก คืออะไร?

ภาวะแหวะนมในทารก (infantile regurgitation) เป็นปัญหาทางเดินอาหารที่พบบ่อยในทารกโดยเฉพาะช่วงอายุ 2 ถึง 4 เดือน ภาวะนี้ถือเป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารในทารก ที่ไม่เกิดจากสาเหตุทางกายชนิดหนึ่ง โดยมีอาการคือทารกจะมีนมไหลย้อนจากกระเพาะอาหารเข้าสู่หลอดอาหารและไหลขึ้นมาออกมาทางปาก อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วยได้บ้าง โดยที่ทารกจะไม่มีท่าทางพยายามที่จะขย้อนและไม่มีอาการอาเจียนเป็นเลือด หยุดหายใจ กลืนลำบาก หรือมีอาการที่ผิดปกติอื่น ๆ

 

ภาวะแหวะนมในทารกพบได้บ่อยเพียงใด?

ภาวะนี้พบได้บ่อยในทารกวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน จากสถิติการศึกษาในประเทศต่าง ๆ พบว่าภาวะนี้พบได้บ่อยถึง ประมาณ 60%-80% ในช่วงวัยทารกแรกเลยทีเดียว โดยเฉพาะในช่วงวัยแรกเกิดถึง 4 เดือนจะมีความชุกของภาวะนี้สูงมาก หลังจากนั้นจะลดลงตามลำดับ จนเหลือเพียง 5%-10% เมื่ออายุ 12 เดือน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายไหม อาการพบได้บ่อยที่พ่อแม่ต้องรู้

 

ลูกกินนมแล้วอ้วก

 

Advertisement

คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะและนมในทารกได้อย่างไร?

คุณหมอจากวินิจฉัยภาวะนี้ จากประวัติและการตรวจร่างกาย ดังนี้ค่ะ

  1. ประวัติ : ทารกมีอาการแหวะนมบ่อย โดยมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
  2. การตรวจร่างกาย : ทารกจะต้องมีน้ำหนัก ส่วนสูง และอัตราการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อน เช่น ร้องกวน ปฏิเสธการทานนม นอนหลับไม่ปกติ อาเจียนมีเลือดปน หายใจเสียงดังผิดปกติหรือหยุดหายใจ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ และต้องไม่มีอาการของภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆเช่น อาเจียนพุ่งไกล อาเจียนมีน้ำดีหรือมีเลือดปน ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ท้องอืด กดเจ็บที่ท้อง มีไข้ ตับม้ามโต หรือ มีลักษณะอาการของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ซึ่งบ่งถึงภาวะความผิดปกติหรือโรคอื่น ๆ มากกว่าที่จะเป็นภาวะแหวะนมธรรมดา

ทั้งนี้ คุณหมออาจส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหากสงสัยการแหวะนมจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ ซึ่งทารกมีอาการผิดปกติแสดงให้เห็น เช่น โรคกรดไหลย้อน เป็นต้น

 

การรักษาภาวะแหวะนมในทารกทำได้อย่างไร?

เมื่อคุณหมอวินิจฉัยภาวะนี้ ก็จะให้ความมั่นใจกับคุณพ่อคุณแม่ว่า ลูกไม่ได้มีความผิดปกติใดของร่างกายและไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงแต่อย่างใด การรักษาทำได้โดยปรับการเลี้ยงดูทารก โดยให้นมในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ให้นมมากเกินไปหรือบ่อยจนเกินไป อุ้มให้เรอหลังให้นม ไม่กดรัดหน้าท้องหลังจากมื้อนม โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาใด ๆ

 

ภาวะแหวะนมในทารกจะหายหรือไม่?

ทารกที่มีภาวะนี้มักจะค่อย ๆ ทุเลาอาการลง จนหายเป็นปกติได้ โดยไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ เมื่ออายุ 12-18 เดือน แต่ก็มีทารกบางรายมีอาการของโรคกรดไหลย้อนในเวลาต่อมา ทั้งนี้โรคกรดไหลย้อนในทารกก็มักจะมีอาการที่ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ไม่เหมือนกับโรคกรดไหลย้อนในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ซึ่งมักจะมีอาการเรื้อรัง

บทความที่เกี่ยวข้อง : กรดไหลย้อนในทารก ทำให้ทารกเป็นโคลิค อาการแบบไหนเสี่ยง

 

ลูกกินนมแล้วอ้วก

 

ภาวะแหวะนมแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่ควรกังวล?

โดยปกติแล้ว ภาวะแหวะนมในทารกสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิดที่ระบบย่อยอาหารยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาการแหวะนมของทารกที่ผิดปกติอาจนำไปสู่อาการอื่น ๆ ที่รุนแรงได้ คือ อาหารแหวะนมบ่อย ๆ หรือน้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์ รวมถึงอาการร้องไห้ งอแง ไม่ยอมกินนมด้วย

นอกจากนี้ หากลูกมีอาการแหวะนมมีสีเหลือง มีน้ำดี หรือเลือดปน และมีอาการไอ สำลัก และหายใจหอบ อาจเป็นสัญญาณของภาวะกรดไหลย้อนได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของลูกน้อย หากลูกมีอาการแหวะนมที่ผิดปกติออกมา ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

 

เคล็ดลับแก้อาการสำรอกนมของทารก

เมื่อลูกมีอาการสำรอกนมหรือแหวะนม คุณพ่อคุณแม่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. อย่าปล่อยให้ลูกหิวเกิน เพราะจะทำให้ลูกกินมากและรีบกินมากกว่าปกติ ส่งผลให้อากาศเข้าไปในท้องจนเกิดอาการแหวะนมได้
  2. เวลาให้นมลูก พยายามตั้งศีรษะลูกให้ตรงหรือสูงกว่าลำตัว เพราะการนอนกินนมจะทำให้ลูกเกิดอาการแหวะนมได้
  3. ไล่ลมระหว่างป้อนนมและหลังป้อนนมทุก ๆ 3-5 นาที
  4. หลังให้นม จับลูกให้นั่งตรง 3-5 นาที ก่อนให้ลูกนอน
  5. ไม่ควรให้เคลื่อนไหวหนัก ๆ หลังกินนม เพราะอาจทำให้แหวะนม
  6. หากเลี้ยงลูกด้วยขวด อย่าลืมตรวจสอบว่ารูจุกนมใหญ่ไปหรือเล็กเกินไปหรือไม่ เพราะจะทำให้น้ำนมไหลเร็วจนลูกรีบดูดและดูดลมเข้าไป
  7. ใช้หมอนหรือที่นอนกันกรดไหลย้อน ซึ่งจะช่วยลดอาการสำรอก แหวะนม และป้องกันกรดไหลย้อนได้
  8. หากลูกกินนมผง อาจเปลี่ยนไปใช้นมสูตรย่อยง่าย ซึ่งจะช่วยลดอาการสำรอกนมได้ โดยในส่วนนี้คุณพ่อคุณแม่อาจปรึกษากับคุณหมอ

 

หากลูกน้อยมีอาการแหวะนมบ่อย ๆ และคุณหมอให้ความเห็นว่าเกิดจากภาวะนี้ สุขภาพร่างกายของลูกแข็งแรงเป็นปกติ น้ำหนักตัวขึ้นดี คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ต้องวิตกกังวลนะคะ เพราะอาการแหวะนมของลูกจะค่อย ๆ หายไปเมื่อลูกเริ่มโตขึ้น แต่ถ้าหากลูกมีอาการแหวะนมที่ผิดปกติ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้อง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เอาลูกเข้าเต้าท่าไหน ไม่เจ็บหัวนม มีน้ำนมมาเยอะ

อาการโคลิคในทารก เป็นอย่างไร ลูกร้องไห้ไม่หยุดทำไงถึงจะหาย

ลูกแหวะบ่อย สำรอกบ่อย ทำอย่างไรดี วิธีไหนช่วยไม่ให้ลูกแหวะนม

ที่มา : punnita

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกกินนมแล้วอ้วก สำรอกนม ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายร้ายแรงแค่ไหน
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว