X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายไหม อาการพบได้บ่อยที่พ่อแม่ต้องรู้

บทความ 5 นาที
ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายไหม อาการพบได้บ่อยที่พ่อแม่ต้องรู้

ภาวะแหวะนมในทารก ถือเป็นปัญหากวนใจที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องเผชิญ แต่บางครั้งก็อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลใจไม่น้อย เพราะกลัวว่าลูกจะได้สารอาหารไม่เพียงพอ หรือมีอาการผิดปกติใด ๆ ที่เป็นอันตรายต่อทารก วันนี้ theAsianparent จะพามาดูกันว่า แท้จริงแล้วอาการแหวะนม ลูกแหวะนม เกิดจากอะไรกันแน่ เป็นอันตรายไหม และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

 

ภาวะแหวะนมในทารก คืออะไร

อาการแหวะนม คือ การที่ทารกบ้วนหรือสำรอกนมออกมาหลังกินนมเสร็จ ซึ่งเกิดจากการที่ระบบย่อยอาหารของลูกน้อยยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้กล้ามเนื้อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารปิดสนิทไม่ดี เมื่อลูกกินนมหรือกินอาหารมากเกินไปกว่าที่กระเพาะจะรับได้ ก็อาจทำให้น้ำนมไหลย้อนกลับออกมาทางปากหรือจมูก โดยอาจมีลักษณะเป็นลิ่มคล้ายกับเต้าหู้

 

สาเหตุของการแหวะนมในทารก

ทารกแรกเกิดมักมีอาการแหวะนมบ่อย เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้น้ำนมไหลย้อนกลับมาบ่อย ๆ รวมถึงการที่ทารกมีกระเพาะอาหารและท้องที่เล็ก เมื่อให้นมลูกในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจทำให้น้ำนมไหลย้อนกลับขึ้นมาได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ภาวะแหวะนมในทารกยังอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดื่มนมหรือทานอาหารที่มากเกินไป การนอนหงายเป็นเวลานาน การรับประทานของเหลวมากเกินไป การกลืนอากาศเข้าไปขณะดื่มนม การดื่มนมเร็วเกินไป และการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งบางครั้ง การที่ลูกแหวะนมก็อาจเป็นสัญญาณของโรคหรือภาวะผิดปกติที่มีความรุนแรงได้ เช่น

  • ภูมิแพ้อาหารแฝง ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิด
  • ภาวะไพลอรัสตีบ (Pyloric Stenosis) ซึ่งเป็นภาวะที่กระเพาะอาหารไม่สามารถลำเลียงสารอาหารไปยังลำไส้เล็ก
  • หลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis) เป็นโรคที่เม็ดเลือดขาวชนิดอีโลสิโนฟิลจีบตัวบริเวณหลอดอาหารจนทำให้หลอดอาหารเกิดความเสียหาย
  • โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) ที่ส่งผลให้หลอดอาหารเกิดการระคายเคือง

 

ภาวะแหวะนมในทารก

 

อาการเมื่อลูกแหวะนม

เมื่อลูกมีภาวะแหวะนม คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากอาการดังนี้

  • ลูกร้องไห้งอแงหลังกินนมเสร็จ
  • ลูกแหวะนมออกมาทางปากและจมูก
  • ลูกนอนบิดตัวไปมา นอนไม่หลับ เพราะมีอาการไม่สบายท้อง
  • ลูกแหวะของเหลวออกมา โดยอาจมีลักษณะเป็นลิ่มคล้ายกับเต้าหู้

 

ลูกแหวะนมอันตรายไหม

โดยทั่วไปแล้ว อาการแหวะนมมักพบได้บ่อยหลังลูกกินนมเสร็จ และมักไม่เป็นอันตรายและไม่ส่งผลต่อสารอาหารที่ลูกได้รับหลังแหวะเสร็จแล้ว ลูกยังสามารถดูดนมได้ปกติ อารมณ์ดี และเจริญเติบโตเหมือนปกติ แต่หากลูกแหวะนมออกมาโดยมีสิ่งเจือปนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีเลือดปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ มีสีเหลืองของน้ำดีปน อ้วกพุ่ง หรือน้ำหนักไม่เพิ่ม ก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะอันตรายได้ ดังนั้น หากลูกมีอาการเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน โดยเฉพาะทารกที่แหวะนมแล้วมีน้ำนมไหลออกมาจากจมูกจนสำลัก คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษนะคะ

 

วิธีรับมือเมื่อลูกเกิดอาการแหวะนม

หากลูกมีอาการแหวะนม คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีรับมือเหล่านี้เพื่อช่วยลดการแหวะนมของลูกน้อย

  • เลือกโภชนาการย่อยง่ายอย่างนมแม่ เนื่องจากนมแม่ดีที่สุด เพราะเป็นนมย่อยง่าย เหมาะสมกับระบบลำไส้ของลูก และยังมี MFGM และ DHA ที่ช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อเซลล์ประสาท ทำให้พัฒนาการสมองของลูกดียิ่งขึ้น
  • กรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูก โดยแพทย์อาจจะแนะนำโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนหรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่ย่อยง่าย
  • ไม่ปล่อยให้ลูกหิวนมมากเกินไป เพราะจะทำให้ลูกรีบกินและกินมากกว่าปกติ จนส่งผลให้อากาศเข้าไปในท้อง จนเกิดอาการแหวะนมได้
  • ขณะป้อนนมลูก ให้จับศีรษะลูกตั้งตรงหรือสูงกว่าลำตัว เพราะการป้อนนมอาจเสี่ยงต่อการแหวะนมได้มากกว่า
  • ในระหว่างการป้อนนมหรือหลังป้อน ให้จับลูกไล่ลมราว ๆ 3-5 นาที
  • หลังให้นมลูกเสร็จแล้ว จับลูกนั่งตรง ๆ ก่อนประมาณ 20-30 นาที ก่อนให้ลูกนอน
  • พยายามไม่ให้ลูกเคลื่อนไหวแรง ๆ หลังกินนม เพราะอาจทำให้เกิดอาการแหวะขึ้นมา
  • เลือกไซซ์จุกนมที่ไม่ใหญ่และเล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้น้ำนมไหลเร็วจนลูกรีบดูด หรือดูดลมเข้าไปแทน
  • ใช้เบาะนอนหรือหมอนกันกรดไหลย้อน เพราะหมอนเหล่านี้ถูกออกแบบให้มีองศาการนอนที่เหมาะสม ช่วยป้องกันอาการแหวะนมและกรดไหลย้อนได้

 

ภาวะแหวะนมในทารก

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาวะแหวะนมในทารก

  • ภาวะแหวะนมในทารกช่วงแรกเกิด – 4 เดือน ถือเป็นเรื่องปกติของทารก เพราะกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารและกระเพาะยังทำงานได้ไม่เต็มที่
  • เมื่อกล้ามเนื้อของทารกเริ่มแข็งแรงและปรับตัวได้ การกินของลูกจะดีขึ้น ส่งผลให้ภาวะแหวะนมจะหายไปเอง
  • หากลูกมีภาวะแหวะนมร่วมกับอาเจียนต่อเนื่อง อาจเกิดความผิดปกติในช่องท้อง
  • หากลูกมีภาวะแหวะนมบ่อย เช่น แหวะทุกครั้งหลังดื่มนม อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหูรูดหย่อนได้ ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • หากลูกมีภาวะแหวะนมเป็นเวลานาน และน้ำหนักลดลงเรื่อย ๆ ก็อาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

ภาวะแหวะนมในทารก เป็นอาการทั่วไปที่พบได้ในเด็กแรกเกิด เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารลูกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้ลูกเกิดอาการแหวะนมขึ้นมาบ่อย ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีรับมือข้างต้นเพื่อบรรเทาอาการแหวะนมของลูกได้ แต่ถ้าหากทำตามแล้วอาการแหวะของลูกยังไม่ดีขึ้น รวมถึงมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาต่อไป

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

ทารกอ้วก อาเจียนบ่อย แต่ไม่มีไข้ ลูกเป็นอะไรกันแน่?

วิธีจับลูกเรอ ให้ได้ผลชะงัด ทำไมต้องทำให้ลูกเรอ? มาดูกัน!

ที่มา : 1, 2, 3

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khattiya Patsanan

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายไหม อาการพบได้บ่อยที่พ่อแม่ต้องรู้
แชร์ :
  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

  • จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

    จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

  • จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

    จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว