X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกกินนมแล้วอ้วก สำรอกนม ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายร้ายแรงแค่ไหน

บทความ 3 นาที
ลูกกินนมแล้วอ้วก สำรอกนม ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายร้ายแรงแค่ไหน

ทราบได้อย่างไรว่า ลูกน้อยแหวะนมโดยไม่มีความผิดปกติที่ต้องกังวล เพราะเป็นแค่ “ภาวะแหวะนมในทารก”

ลูกกินนมแล้วอ้วก สำรอกนมที่กินออกมาหมดเลย ลูกเป็นแบบนี้บ่อยมากจะเป็นอันตรายมั้ย ทำไม ลูกกินนมแล้วอ้วก ออกมา หากเป็นแบบนี้แล้วจะหายได้เองหรือไม่ หรือต้องพบแพทย์ ?

 

ภาวะแหวะนมในทารก คืออะไร?

ภาวะแหวะนมในทารก (infantile regurgitation) เป็นปัญหาทางเดินอาหารที่พบบ่อยในทารกโดยเฉพาะช่วงอายุ 2 ถึง 4 เดือน ภาวะนี้ถือเป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารในทารก ที่ไม่เกิดจากสาเหตุทางกายชนิดหนึ่ง โดยมีอาการคือทารกจะมีนมไหลย้อนจากกระเพาะอาหารเข้าสู่หลอดอาหารและไหลขึ้นมาออกมาทางปาก อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วยได้บ้าง โดยที่ทารกจะไม่มีท่าทางพยายามที่จะขย้อนและไม่มีอาการอาเจียนเป็นเลือด หยุดหายใจ กลืนลำบาก หรือมีอาการที่ผิดปกติอื่นๆ

 

ภาวะแหวะนมในทารกพบได้บ่อยเพียงใด?

ภาวะนี้พบได้บ่อยในทารกวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน จากสถิติการศึกษาในประเทศต่างๆ พบว่าภาวะนี้พบได้บ่อยถึง ประมาณ 60%-80% ในช่วงวัยทารกแรกเลยทีเดียว โดยเฉพาะในช่วงวัยแรกเกิดถึง 4 เดือนจะมีความชุกของภาวะนี้สูงมาก หลังจากนั้นจะลดลงตามลำดับ จนเหลือเพียง 5%-10% เมื่ออายุ 12 เดือน

 

ลูกกินนมแล้วอ้วก สำรอกนม ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายร้ายแรงแค่ไหน

 

คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะและนมในทารกได้อย่างไร?

คุณหมอจากวินิจฉัยภาวะนี้ จากประวัติและการตรวจร่างกาย ดังนี้ค่ะ

  1. ประวัติ : ทารกมีอาการแหวะนมบ่อย โดยมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
  2. การตรวจร่างกาย : ทารกจะต้องมีน้ำหนัก ส่วนสูง และอัตราการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อน เช่น ร้องกวน ปฏิเสธการทานนม นอนหลับไม่ปกติ อาเจียนมีเลือดปน หายใจเสียงดังผิดปกติหรือหยุดหายใจ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อยๆ และต้องไม่มีอาการของภาวะแทรกซ้อนอื่นๆเช่น อาเจียนพุ่งไกล อาเจียนมีน้ำดีหรือมีเลือดปน ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ท้องอืด กดเจ็บที่ท้อง มีไข้ ตับม้ามโต หรือ มีลักษณะอาการของโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งบ่งถึงภาวะความผิดปกติหรือโรคอื่นๆมากกว่าที่จะเป็นภาวะแหวะนมธรรมดา

ทั้งนี้ คุณหมออาจส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหากสงสัยการแหวะนมจากภาวะหรือโรคอื่นๆ ซึ่งทารกมีอาการผิดปกติแสดงให้เห็น เช่น โรคกรดไหลย้อน เป็นต้น

 

การรักษาภาวะแหวะนมในทารกทำได้อย่างไร?

เมื่อคุณหมอวินิจฉัยภาวะนี้ ก็จะให้ความมั่นใจกับคุณพ่อคุณแม่ว่า ลูกไม่ได้มีความผิดปกติใดของร่างกายและไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงแต่อย่างใด การรักษาทำได้โดยปรับการเลี้ยงดูทารก โดยให้นมในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ให้นมมากเกินไปหรือบ่อยจนเกินไป อุ้มให้เรอหลังให้นม ไม่กดรัดหน้าท้องหลังจากมื้อนม โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาใด ๆ

 

ภาวะแหวะนมในทารกจะหายหรือไม่?

ทารกที่มีภาวะนี้มักจะค่อยๆทุเลาอาการลง จนหายเป็นปกติได้ โดยไม่ต้องทำการรักษาใดๆ เมื่ออายุ 12-18 เดือน แต่ก็มีทารกบางรายมีอาการของโรคกรดไหลย้อนในเวลาต่อมา ทั้งนี้โรคกรดไหลย้อนในทารกก็มักจะมีอาการที่ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ไม่เหมือนกับโรคกรดไหลย้อนในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ซึ่งมักจะมีอาการเรื้อรัง

 

หากลูกน้อยมีอาการแหวะนมบ่อยๆ และคุณหมอให้ความเห็นว่าเกิดจากภาวะนี้ สุขภาพร่างกายของลูกแข็งแรงเป็นปกติ น้ำหนักตัวขึ้นดี คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ต้องวิตกกังวลนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

ทารกชอบผวา สะดุ้งตื่น กำมือแน่น จิกเท้างอ ลูกเป็นแบบนี้คืออะไร?

เอาลูกเข้าเต้าท่าไหน ไม่เจ็บหัวนม มีน้ำนมมาเยอะ

อาการผิดปกติของทารก ที่แม่ชอบคิดว่าไม่เป็นไร กว่าจะพาลูกมาหาหมอก็เกือบสายเกินแก้

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ลูกกินนมแล้วอ้วก สำรอกนม ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายร้ายแรงแค่ไหน
แชร์ :
  • ลูกอาเจียน บอกสัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ควรระวัง

    ลูกอาเจียน บอกสัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ควรระวัง

  • ลูกแหวะนม สำรอกนม ทารกแหวะนม สำรอกนม เกิดจากอะไร อันตรายไหม และควรดูแลอย่างไร?

    ลูกแหวะนม สำรอกนม ทารกแหวะนม สำรอกนม เกิดจากอะไร อันตรายไหม และควรดูแลอย่างไร?

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกอาเจียน บอกสัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ควรระวัง

    ลูกอาเจียน บอกสัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ควรระวัง

  • ลูกแหวะนม สำรอกนม ทารกแหวะนม สำรอกนม เกิดจากอะไร อันตรายไหม และควรดูแลอย่างไร?

    ลูกแหวะนม สำรอกนม ทารกแหวะนม สำรอกนม เกิดจากอะไร อันตรายไหม และควรดูแลอย่างไร?

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ