X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กรดไหลย้อนในทารก ทำให้ทารกเป็นโคลิค อาการแบบไหนเสี่ยง

บทความ 5 นาที
กรดไหลย้อนในทารก ทำให้ทารกเป็นโคลิค อาการแบบไหนเสี่ยง

ผู้ปกครองหลายคนอาจเคยได้ยินอาการที่ทารกร้องงอแงตอนกลางคืนอย่างไม่ทราบสาเหตุ โดยทั่วไปในทางการแพทย์เชื่อว่าเป็นเพราะอาการป่วย หรืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ไปจนถึงสภาพแวดล้อมในการนอน กรดไหลย้อนในทารก ทำให้ทารกเป็นโคลิค เพราะนอกจากจะทำให้ทารกมีอาการโคลิคแล้ว ยังทำให้ทารกกินนมได้น้อย เสี่ยงต่อพัฒนาการที่ไม่ดีอีกด้วย

 

กรดไหลย้อนในทารก ทำให้ทารกเป็นโคลิค

กรดไหลย้อนในเด็กเล็ก (Gastoesophageal reflux disease) หรือ “โรคเกิร์ด (GERD)” อาการเหมือนกรดไหลย้อนในผู้ใหญ่ นั่นคือกรดที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร ซึ่งทำให้อาเจียน มีปัญหาด้านการหายใจ และน้ำหนักลดลง สาเหตุของปัญหาคือ ระบบย่อยอาหารของเด็ก ๆ ยังไม่สมบูรณ์ดี การทำงานจึงยังทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อาการนี้เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในทารกอายุ 3 – 4 เดือน เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการโคลิค ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาการนี้ของทารกจะดีขึ้นเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไปจนถึงอายุ 1 ปี

การเกิดกรดไหลย้อนในทารก ถือเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าที่คิด เนื่องจากทำให้ทารกไม่สบายตัว มีปัญหาต่อการกินนม ซึ่งช่วงอายุ 6 เดือนแรก หากทารกเป็นกรดไหลย้อน จะยิ่งกินนมแม่ได้น้อย ส่งผลต่อพัฒนาการได้โดยตรง ดังนั้นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญ คือ การคอยเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติของทารกน้อย ว่ามีอาการที่สุ่มเสี่ยงหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ที่นอนกันกรดไหลย้อน สำหรับทารกน้อย ช่วยให้ลูกน้อยไม่สะดุ้งตื่นหรือแหวะนม

 

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

Advertisement

 

สาเหตุที่ทำให้ทารกเสี่ยงต่อกรดไหลย้อน

อาการกรดไหลย้อนเป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งความผิดปกติ หรือโรคร้ายที่ทารกกำลังเป็น ไปจนถึงปัจจัยพื้นฐานอย่างท่านอน หรือการให้นมมาก ดังนี้

 

  • ทารกถูกจับให้อยู่ในท่านอนแทบจะตลอดเวลา มีโอกาสได้นั่ง หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยมาก
  • เกิดจากการที่ทารกกินอาหารชนิดเหลวมากเกินไป ซึ่งก็เลี่ยงได้ยากในทารกที่กินนมแม่ ดังนั้นต้องสังเกตให้เป็นว่าทารกอิ่มนมตอนไหน แสดงท่าทีอย่างไรเมื่ออิ่มนม
  • เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะควันจากบุหรี่จากคนใกล้ตัว หรือจากบุคคลอื่น เป็นต้น
  • เป็นผลกระทบจากการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกอาจเป็นโรคร้ายบางชนิด เช่น โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) หรือดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) เป็นต้น

 

กรดไหลย้อนในทารก ทำให้ทารกเป็นโคลิค

 

อาการที่บ่งบอกว่าลูกอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน

ทารกที่มีความเสี่ยงนี้ อยู่ในช่วงอายุที่ไม่สามารถสื่อสารได้โดยตรง ผู้ปกครองจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าทารกกำลังเป็นอะไร เพราะทุกอย่างจะออกมาผ่านการร้องงอแงแทบทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อความชัดเจน นอกจากลูกมีการร้องโคลิคบ่อย ๆ แล้ว หากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย แสดงว่าลูกเป็นกรดไหลย้อนแล้วละ

 

  • มีสีหน้าและท่าทางที่เจ็บปวด ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงกลางดึก
  • มีการแหวะ สำรอก หรืออาเจียน หลังมื้อนม
  • ทารกจะกินนมมากแค่ไหนก็ตาม แต่น้ำหนักตัวของทารกจะไม่เพิ่มขึ้นเลย
  • ทารกมีอาการเรอ ร่วมกับอาการอาเจียน
  • มีการงอ หรือขดตัวหลังจากมื้อนม
  • เป็นหวัดบ่อย มีการติดเชื้อบริเวณหน้าอก หรือทางเดินหายใจ
  • เมื่อทารกหายใจ จะมีเสียงดังหวีดออกมา

 

หากผู้ปกครองพบความเสี่ยงของอาการตามที่เราได้กล่าวมา ควรรีบพาทารกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้มีอาการ และรับการรักษา การดูแลที่ถูกต้อง เพื่อให้ทารกสามารถกลับมามีอาการปกติ สามารถกินนมแม่ได้อย่างสะดวกอีกครั้ง

 

การรักษากรดไหลย้อนในทารก

ก่อนอื่นคือควรพาลูกไปตรวจวินิจฉัยว่าเป็นกรดไหลย้อนหรือไม่ กุมารแพทย์อาจจะจ่ายยา Zantac หรือยาที่ใกล้เคียงกันมาให้ โดยยาเหล่านี้จะไปเคลือบกระเพาะจากความเสียหายจากกรด และลดการระคายเคืองลง แต่โดยธรรมชาติแล้วอาจจะหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องยารักษาใด ๆ

การจ่ายยาจะเกิดขึ้นในกรณีที่ทารกมีอาการหนักรุนแรง เช่น อาเจียนเป็นเลือด, โรคหอบหืดกำเริบ, ปอดบวม หรือน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นต้น ตัวยาที่ห้ามใช้คือ Mylanta หรือ Maalox เนื่องจากมีอะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งสามารถซึมเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อใช้มากกว่าหนึ่งเดือนขึ้นไป

 

กรดไหลย้อนในทารก ทำให้ทารกเป็นโคลิค 2

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นกรดไหลย้อน

สิ่งที่ต้องรู้เป็นอันดับแรก คือ การปรับเปลี่ยนท่าทางของทารก ที่ไม่ควรให้นอนตลอดเวลา โดยให้ผู้ปกครองอุ้มประคอง หรือให้ลูกนอนเอนเป็นมุม 30 องศา เป็นเวลา 30 นาที ห้ามไม่ให้นอนราบ ควรทำหลังจากทารกกินนมทุกมื้อ และเวลานอนหลับปกติก็เช่นกัน นอกจากวิธีนี้แล้ว ยังมีวิธีรับมือกรดไหลย้อนในทารกอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น

 

  • อาจจะใช้หมอนธรรมดา หรือที่นอนกันกรดไหลย้อนสำหรับจัดท่าให้ลูกนอนราบเอียง 30 องศาก็ได้เหมือนกัน
  • แบ่งมื้อนมเป็นมื้อย่อย ๆ ป้อนนมทีละน้อย ๆ มากกว่าให้กินนมทีละมาก ๆ จะดีต่อกระเพาะทารกมากกว่า
  • พยายามให้ทารกกินนมแม่เป็นปกติ เนื่องจากมีผลงานวิจัยว่าเด็กที่กินนมแม่จะเป็นกรดไหลย้อนน้อยกว่าเด็กที่กินนมผง หากมีปัญหาด้านการให้นม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ
  • จับลูกเรอทั้งก่อน และหลังกินนม โดยให้จับลูกนั่งท่าตัวตรง และลูบหลังของลูกเบา ๆ
  • พยายามคอยดูแลไม่ให้ลูกร้องไห้บ่อย ๆ เนื่องจากกรดจะไหลย้อนมากขึ้นหากร้องไห้
  • ดูแลสภาพแวดล้อมให้สะอาดปลอดภัย โดยเฉพาะควันบุหรี่ ไม่ควรมีคนสูบบุหรี่ในพื้นที่ใกล้เคียงทารก

 

แม้อาการโดยทั่วไป หากดูแลทารกได้อย่างถูกวิธีจะสามารถหายไปได้เอง เพราะอาการนี้อาจพบเจอได้บ่อย แต่ก็ไม่ควรปล่อยไว้โดยไม่พบแพทย์ เพราะยังมีกลุ่มอาการหนักที่น่าเป็นห่วง หากทารกมีอาการผิดปกติก็ควรพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะปลอดภัยที่สุด

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ขวดนม ช่วยแก้อาการโคลิคของลูกน้อยได้หรือไม่ เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด ?

10 ขวดนมป้องกันโคลิคที่ดีที่สุด เพื่อการดูแลลูกน้อย หลับสบายไม่งอแง

สิ่งที่พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยง และไม่ควรทำเมื่อ เด็กมีอาการโคลิค

ที่มา : nationwidechildrens, rama.mahidol, samitivejhospitals

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • กรดไหลย้อนในทารก ทำให้ทารกเป็นโคลิค อาการแบบไหนเสี่ยง
แชร์ :
  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว