X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกแหวะบ่อย สำรอกบ่อย ทำอย่างไรดี วิธีไหนช่วยไม่ให้ลูกแหวะนม

บทความ 5 นาที
ลูกแหวะบ่อย สำรอกบ่อย ทำอย่างไรดี วิธีไหนช่วยไม่ให้ลูกแหวะนม

คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่า การที่ ลูกแหวะบ่อย อ๊อกนมบ่อย เป็นเรื่องปกติที่เราต้องพบเจอ แต่ถ้าอาการนี้ไม่ใช่เรื่องปกติล่ะ จะเป็นเพราะสาเหตุอะไรได้บ้าง? แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า อาการแหวะนมของลูกนั้น เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ แล้วเราจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้ลูกหยุดอาการแหวะนมได้บ้าง

 

ลูกแหวะนม ลูกแหวะบ่อย เกิดจากอะไร

อาการแหวะนมในเด็กทารก หรือ ลูกอ๊อกนม ถือว่าเป็นเรื่องปกติ หรือเรื่องธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน เพราะอาการเหล่านี้ เป็นการที่ลูกน้อยมักจะทำการบ้วน หรือสำรอกนมออกมาหลังจากที่กินนมเสร็จ ซึ่งเกิดจากระบบย่อยอาหารของเด็ก ที่ยังมีการพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารไม่สามารถปิดให้สนิทได้ เมื่อเด็กกินนม หรือทานอาหารมากเกินกว่าที่กระเพาะอาหารจะรับได้ จึงทำให้เกิดการไหลย้อนออกมาได้ง่ายกว่าปกติ

แต่ในเด็กบางราย อาจแหวะนมแล้วไหลออกทางจมูก ซึ่งกรณีนี้ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้เด็ก เกิดอาการสำลักจากการแหวะนมได้ ในระยะ 4 เดือนแรก ของทารกแรกเกิด โอกาสที่จะแหวะนมบ่อย มีสูงมาก เพราะทารกกินนมในปริมาณที่มาก ในขณะที่ปริมาณความจุของกระเพาะยังน้อย ยิ่งทารกนอนในลักษณะของท่านอนหงาย ก็จะทำให้เกิดอาการแหวะนมออกได้ง่ายกว่าปกติ (Regurgitation) ในบางครั้ง อาจมีการอาเจียนร่วมได้บ้าง โดยปกติ อาการต่าง ๆ เหล่านี้ จะค่อย ๆ หายเอง หรือดีขึ้นเมื่ออายุเข้า 12 – 18 เดือน เป็นต้นไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : นมผงสำหรับเด็กท้องอืด นมสูตรย่อยง่าย เพื่อลูกน้อยที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย

 

ลูกแหวะนมบ่อย มีวิธีรักษาอย่างไร

 

ลูกแหวะนมบ่อย อ๊อกนมบ่อย อันตรายหรือไม่?

คุณพ่อคุณแม่อาจเป็นกังวลเมื่อพบว่าลูกน้อยมักจะแหวะนมบ่อยครั้งหลังจากกินนม หรือทานอาหาร เพราะกังวลว่า จะเป็นอันตรายกับลูกหรือไม่ หรือเป็นเสียงสัญญาณเตือนว่าเกิดความปกติในร่างกาย ในความจริงแล้ว หากหลังจากแหวะนมแล้ว ลูกยังดูดนมใหม่ได้ มีอารมณ์แจ่มใส น้ำหนักตัวยังคงพัฒนาตามเกณฑ์ ก็ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง

แต่เมื่อไหร่ที่ลูกแหวะนมออกมา แล้วมีสิ่งอื่น ๆ เจือปนร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นเลือด หรือสีเหลืองของน้ำดี หรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ มีอาการอาเจียนพุ่ง หากพบเจออาการเหล่านี้ ควรรีบพาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุโดยทันที

 

ลูกแหวะนมบ่อยมีความเสี่ยงเป็น GERD

GERD หรือที่เรารู้จักกันในโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD) คือโรคที่เกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร คอหอย หรือปาก ทำให้เกิดอาการระคายเคือง และอาการอื่น ๆ เช่น แสบร้อนกลางอก จุกบริเวณลิ้นปี่ ขมปากขมคอ และมีเสียงแหบตามมาในที่สุด

ในกรณีเด็กเล็กโรคนี้นอกจากจะทำให้เด็กเกิดความไม่สบายตัวแล้ว ยังก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจเป็นต้น

 

ลูกแหวะบ่อย เกิดจากอะไร

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแหวะนมเนื่องจากกรดไหลย้อน

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการแหวะนมของลูกได้ว่า เป็นการแหวะนมทั่วไป หรือเป็นการแหวะนม ที่เกิดจากความผิดปกติเช่น โรคกรดไหลย้อน โดยให้สังเกตจากน้ำหนักตัวของลูกที่ไม่มีการพัฒนาไปตามเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน ลูกร้องงอแงบ่อย ปฏิเสธการกินนม หยุดดูดนมทั้งที่กำลังหิว แหวะนม หรืออาเจียนมาพร้อมน้ำดี หรือมีเลือดปน มีภาวะแทรกซ้อนในทางเดินหายใจ เช่นอาการไอ สำลัก และหายใจหอบ เป็นต้น

 

อาการแหวะนมบ่อย เกิดจากการแพ้โปรตีนนมวัวหรือไม่?

เรามักจะพบว่าเด็กยุคใหม่ มีความเสี่ยงในการแพ้โปรตีนนมวัวในเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่าปกติ ซึ่งการแหวะนมบ่อยของเด็กที่อาจสงสัยได้ว่าเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อนแล้ว อาจเป็นการส่งสัญญาณว่าเป็นอาการภูมิแพ้ตรงระบบอื่น ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งเราสามารถดูอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ถ่ายมีมูกเลือด ท้องอืดแข็ง หรือมีอาการผื่นผิวหนังอักเสบ นอกจากนี้ ยังสืบค้นจากประวัติภูมิแพ้จากคนในครอบครัวประกอบการวินิจฉัยโรคร่วมด้วย

ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่า อาการแหวะนมของเด็กนั้น น่าจะมีสาเหตุมาจากภาวะแพ้โปรตีนนมวัว อาจลองหลีกเลี่ยงนมวัว และผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของนมวัว รวมถึงเด็กที่กินนมแม่ คุณแม่อาจต้องเลี่ยงอาหารเหล่านี้ไปก่อน จากนั้นให้ประเมินดูอาการประมาณ 2 อาทิตย์ แล้วค่อยประเมินอาการอีกที

บทความที่เกี่ยวข้อง : แพ้นมวัวกินนมผงได้ไหม นมผงส่วนมากผลิตมาจากอะไร?

 

ลูกแหวะนมบ่อย มีวิธีรักษาอย่างไร

วิธีรักษาคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การนอน และการทานนม โดยให้นอนตะแคงซ้าย และให้นมปริมาณไม่มากต่อมื้อ แต่ให้บ่อยขึ้น หากใช้นมผสมควรใช้สูตรผสมสารเพิ่มความหนืด จับทารกให้อยู่ในท่าตั้งตรงหลังกินนมนาน 15-20 นาที และหลีกเลี่ยงการกดบริเวณท้อง หลาย ๆ ครั้งจะพบสาเหตุการแหวะนมทั้งจาก overfeeding และ ภาวะกรดไหลย้อนได้ในทารกคนเดียวกัน จึงต้องแก้ไขทั้ง 2 สาเหตุไปพร้อม ๆ กันค่ะ โดยอาการแหวะนมจากทั้ง 2 สาเหตุนี้ เด็กจะดูแข็งแรงสมบูรณ์ ตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติ แต่หากมีอาการที่ผิดปกติ ได้แก่ น้ำหนักน้อย เลี้ยงไม่โต ชัก กระหม่อมหน้าโป่งตึง ศีรษะโตมากกว่าปกติ มีไข้ เขียว หรือหยุดหายใจอาเจียนเป็นน้ำดี อาเจียนพุ่งไกล ท้องอืดชัดเจน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ก็อาจเป็นอาการแหวะนมที่มีสาเหตุผิดปกติจากโรคต่าง ๆ จึงควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วนะคะ

 

ลูกแหวะบ่อย เกิดจากอะไร

 

การดูแลและป้องกันการแหวะนมในเด็ก

หากลูกน้อยของคุณมีอาการแหวะนมอยู่บ่อยครั้ง แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติ แต่คงจะดีถ้าอาการเหล่านี้จะหมดไป ด้วยวิธีเหล่านี้

  • ควรให้เด็กกินนมในท่าที่หัวสูง
  • หลังกินนมแล้ว ให้จับนั่ง หรืออุ้มพาดบ่า เพื่อไล่ลมให้ลูกทุก ๆ 3 – 5 นาที ระหว่างป้อนนม และหลังการให้นม
  • หลังให้นมเสร็จ ให้จับลูกนั่งตรง ๆ ก่อนประมาณ 20 – 30 นาที ก่อนให้ลูกนอน
  • ไม่ปล่อยให้ลูกหิวมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกกินมาก และรีบกินเร็วกว่าปกติ ทำให้เกิดการกลืนอากาศเข้าไปในท้อง เป็นสาเหตุให้เกิดอาการเรอ อาการแหวะนมได้ง่ายกว่าปกติ
  • อย่าให้ลูกเคลื่อนไหวร่างกายหนัก ๆ แรง ๆ หลังกินนม เพราะทำให้เสี่ยงเกิดการแหวะนมออกมาได้ง่าย
  • กรณีที่เลี้ยงลูกด้วยขวดนม ควรดูให้แน่ใจว่า รูจุกนมไม่ใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้น้ำนมไหลเร็ว จนลูกน้อยต้องรีบดูด และดูดลมเข้าไปด้วย ในขณะที่รูจุกนมเล็กเกิดไป ก็อาจจะดูดลมเข้าไปแทนน้ำนมก็ได้เช่นกัน
  • กรณีที่เลี้ยงลูกด้วยนมผง อาจลองเปลี่ยนสูตรนมเพื่อให้เหมาะกับระบบย่อย และทางเดินอาหารของลูกน้อย ซึ่งอาจช่วยลดอาการแหวะนมของเด็กได้ โดยคุณพ่อคุณแม่ สามารถขอคำปรึกษาจากคุณหมอได้เช่นกัน
  • ปัจจุบันมีหมอนกันกรดไหลย้อน หรือเบาะนอนกันกรดไหลย้อน ซึ่งออกแบบมาให้มีองศาการลาดเอียงที่เหมาะสม ช่วยป้องกันภาวะแหวะนม อ๊อกนม รวมทั้งป้องกันการเกิดของกรดไหลย้อนได้เป็นอย่างดี
  • หากเด็กยังคงมีอาการแหวะนมอยู่เรื่อย ๆ แม้ว่าจะมีอายุมากกว่า 4 เดือนขึ้นไปแล้ว ควรพิจารณาให้อาหารเสริม เพื่อช่วยลดอาการไหลย้อนของนม เพราะอาหารเสริมจะข้นกว่า ทำให้เกิดการไหลย้อนที่ยากกว่านั่นเอง

 

หากปฏิบัติตามข้อต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว แล้วยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการแหวะนมบ่อยในเด็ก เพื่อทำการรักษาและป้องกัน เพราะถ้าหากทิ้งเอาไว้ ก็อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจได้ แม้ว่าอาการแหวะนมของลูก จะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่การลดอาการแหวะนมของลูก จะทำให้ลูกรู้สึกสบายท้อง สบายตัว ทำให้เด็กได้รับการพักผ่อน ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอต่อการพัฒนาการด้านร่างกาย และสติปัญญา ส่งผลให้การเจริญเติบโตเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งโดยปกติแล้วอาการแหวะนมจะหมดไปเมื่อลูกเข้าสู่อายุ 18 เดือน ดังนั้นการดูแล จะต้องใช้ความใส่ใจ และใจเย็น ไม่ควรเครียด หรือเป็นกังวลจนมากเกินไป

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกอาเจียนบ่อย แหวะนมบ่อย อาจเป็นโรคกรดไหลย้อน พ่อแม่อย่ามองข้าม

การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหาร ในเด็ก ที่แม่ไม่ควรมองข้าม

ทารกอ้วก อาเจียนบ่อย แต่ไม่มีไข้ ลูกเป็นอะไรกันแน่?

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกแหวะบ่อย สำรอกบ่อย ทำอย่างไรดี วิธีไหนช่วยไม่ให้ลูกแหวะนม
แชร์ :
  • อยากรู้ ลูกแหวะบ่อยเกิดจากอะไร แหวะนมออกมาจะอิ่มพอไหม ต้องแวะอ่าน!!

    อยากรู้ ลูกแหวะบ่อยเกิดจากอะไร แหวะนมออกมาจะอิ่มพอไหม ต้องแวะอ่าน!!

  • ลูกมี แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ทำอย่างไรดี? อาหารอะไรที่ทำให้เกิดแก๊ส

    ลูกมี แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ทำอย่างไรดี? อาหารอะไรที่ทำให้เกิดแก๊ส

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • อยากรู้ ลูกแหวะบ่อยเกิดจากอะไร แหวะนมออกมาจะอิ่มพอไหม ต้องแวะอ่าน!!

    อยากรู้ ลูกแหวะบ่อยเกิดจากอะไร แหวะนมออกมาจะอิ่มพอไหม ต้องแวะอ่าน!!

  • ลูกมี แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ทำอย่างไรดี? อาหารอะไรที่ทำให้เกิดแก๊ส

    ลูกมี แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ทำอย่างไรดี? อาหารอะไรที่ทำให้เกิดแก๊ส

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ