X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกตกเตียง ทำไงดี ลูกตกเตียงตายได้ ??? ข้อควรระวังเมื่อลูกตกเตียง

บทความ 5 นาที
ลูกตกเตียง ทำไงดี ลูกตกเตียงตายได้ ??? ข้อควรระวังเมื่อลูกตกเตียง

ลูกตกเตียง มักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยเฉพาะกับทารกอายุ 4 เดือนขึ้นไป เด็กวัยนี้มักจะไม่อยู่นิ่งและเริ่มขยับตัวบ่อย ๆ จนสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก หากลูกตกเตียงบ่อย ๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและสมองได้ อย่างไรก็ตาม เด็กวัยนี้ยังมีโอกาสตกจากที่สูงนอกจากเตียง อย่างโซฟาหรือแม้แต่บันไดได้ เรามาดูกันว่าลูกตกเตียงแล้วเป็นอย่างไร ควรทำอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

 

อย่าตกใจเมื่อลูกตกเตียง

ไม่อยากจะบอก แต่ตัวผู้เขียนเองตกเตียงบ่อยครั้งตั้งแต่เด็กจนโตเลยค่ะ เนื่องจากนอนดิ้นมาก และโดยปกติแล้วนั้นการตกเตียงของเด็กเล็ก ๆ จะไม่เป็นอันตรายค่ะ มีตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย ฟกช้ำดำเขียว หนักหน่อยก็จะเป็นในเรื่องของกระดูกหัก มีเลือดออกในสมอง แต่กรณีกระดูกหัก เลือดออกในสมองพบได้น้อยเนื่องจากความสูงที่เด็กตกลงมาจะไม่มากประมาณ 90 เซนติเมตร การบาดเจ็บจึงไม่รุนแรง โอกาสเสียชีวิตก็น้อย

ในกรณีที่เด็กตกเตียงแล้วมีเลือดออกในสมอง น่าจะเป็นการตกจากเตียงที่มีความสูงเกินกว่า 120 เซนติเมตรขึ้นไป เตียงที่ต่ำกว่า 120 เซนติเมตรอาจเกิดขึ้นได้เหมือนกันแต่น้อย ถ้าเลือดออกในสมองจากการตกเตียงในระดับที่ต่ำกว่านี้ควรตรวจหาสาเหตุอื่น ร่วมด้วย เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกตกเตียง ลูกตกเตียงทำยังไง วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยตกเตียง

 

ลูกตกเตียง

 

Advertisement

ตกเตียงแบบไหนเสี่ยงลูกตายได้

กรณีที่ลูกตกเตียงแล้วเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นการเสียชีวิตในลักษณะแขวนคอ ขาดอากาศหายใจ คือ เด็กตกลงมาจากช่องว่างของซี่ราวกันตกที่ห่างเกิน 6 เซนติเมตร หรือ เตียงมีช่องรูต่าง ๆ ใหญ่กว่า 6 เซนติเมตร เด็กสามารถเอาขาลอด ตัวลอดได้ แต่ศีรษะติดออกมาไม่ได้ เมื่อขาไม่ถึงพื้นก็เลยทำให้เสียชีวิตในลักษณะแขวนคอ ประมาณ 4 นาที ก็เสียชีวิตแล้ว

 

ลูกตกเตียง ควรทำอย่างไร

  • เด็กที่ตกเตียงหรือตกบันได ส่วนใหญ่มักจะร้องไห้จ้าอยู่พักหนึ่ง และบาดเจ็บหัวโนอยู่วันสองวันก็หาย ถ้าร่าเริงปกติก็หายห่วง
  • เฝ้าดูอาการ 24 ชม. 3 วัน 7 วัน ตามลำดับ ถ้ามีอาการอย่างซึม อาเจียน หรือแหวะพุ่ง ควรรีบพาไปหาหมอ เช่นเดียวกันกับการร้องไห้งอแงเหมือนเจ็บปวด เมื่อพ่อแม่โดนบางที่ อาจจะมีการบาดเจ็บภายในได้
  • มีบางกรณีเหมือนกันแต่น้อยมากที่เด็กเกิดบาดเจ็บที่ม้าม หรือไต เวลาปัสสาวะจึงมีสีแดง เพราะเลือดออก เมื่อเลือดออก หน้าเด็กจะซีดขาว และท้องโป่ง เด็กจะร้องกวนไม่ยอมกินอาหาร พาไปหาหมอก็จะตรวจพบได้ ซึ่งจะต้องผ่าตัดหยุดเลือด นอกจากนั้นยังมีบางครั้งที่กระดูกไหปลาร้าหัก
  • ถ้าเด็กหัวโน หรือเลือดออกที่ศีรษะ คุณพ่อคุณแม่จะมัวกังวลที่จุดนั้น จนลืมตรวจดูให้ทั่วทุกส่วน หลังจากนั้น 1-2 วัน พอจะสอดแขนอุ้มเด็ก เด็กจะร้องเพราะเจ็บ ถ้ายกแขนเด็กชูขึ้น แขนข้างที่กระดูกหักจะยกลำบาก กระดูกไหปลาร้าหักแบบนี้ไม่ต้องห่วง ถ้าทำให้กระดูกไม่เคลื่อนที่ ไม่นานก็จะติดกันเอง และหายสนิท
  • หากลูกหมดสติไปหลังจากตก บางกรณีอาจเป็นเพราะตกเลือดในสมอง หมอคงสั่งให้พาไปโรงพยาบาลที่ทำการผ่าตัดได้ ในกรณีนี้ควรใช้รถพยาบาลซึ่งชำนาญในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะปลอดภัยกว่า (ในชนบทซึ่งติดต่อปรึกษาหมอล่วงหน้าได้ลำบาก ต้องพาตัวเด็กไปเลย เวลาเคลื่อนย้ายเด็กไม่ควรอุ้มควรให้นอนราบไปบนกระดาน และเอาน้ำแข็งหุ้มผ้าปะศีรษะไว้)
  • ถ้าเด็กร้องอยู่นาน แต่ยังมีสติดีอยู่ หรือมีอาการอาเจียนหลังจากตกจากที่สูง หมอจะตรวจอาการให้ ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ หมอจะสั่งให้นอนอยู่เฉย ๆ โดยใช้หมอนน้ำแข็งช่วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกหลับไม่สนิท ดิ้นไปมา ทำอย่างไร มีวิธีช่วยลูกนอนหลับสนิทไหม?

 

ลูกตกเตียง

 

นอนเตียง VS นอนเปล ก็มีส่วน

เด็กทารกนอนเตียงเด็กในอัตรา 10.8 % คือ ใน 100 คน จะใช้ประมาณ 10 คน ในจำนวนนี้  76.9 % เป็นเตียงเด็กที่มีความเสี่ยง ขาดมาตรฐานความปลอดภัย คือ ผนังเตียงด้านศีรษะและเท้ามีช่องว่างมากเกิน 6 เซนติเมตร ราวกันตกล็อกไม่อยู่ ราวกันตกเตี้ยเกินไป จากขอบบนของเบาะที่นอนถึงราวกันตกด้านบนมีความสูงต่ำกว่า 65 เซนติเมตร ซึ่งสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บจากเด็กตกเตียงหรือลอดทะลุช่องแล้วมีการติด ค้างของศีรษะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้

มีเด็กบาดเจ็บจากการใช้เตียงเด็กทั้งหมดคิดเป็น 19.2% โดยการบาดเจ็บหลักคือการตกจากเตียงซึ่งคิดเป็น 50%

ผลการสำรวจยังพบว่า เด็กไทยนอนเปลไกวมากกว่านอนเตียงเด็ก โดยมีการใช้ถึง 53.3% ลักษณะเป็นเปลที่ไกวได้ หรือ เป็นเปลญวน โดยเปลไกวที่มีความเสี่ยง คือ เปลไกวที่มีราวกันตกและผนังเตียงด้านศีรษะและเท้ามีช่องว่างมากเกิน 6 เซนติเมตร หรือมีฐานไม่มั่นคงจึงมีการพลิกคว่ำ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการตกหรือลอดทะลุช่องแล้วมีการติดค้างของ ศีรษะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้คิดเป็น 42.8%

มีเด็กบาดเจ็บจากการใช้เปลไกวทั้งหมด 20%โดยการบาดเจ็บหลักคือการพลิกคว่ำตกจากเปลพบได้มากสุด 45.5% แต่เนื่องจากลักษณะของเปลไกวจะอยู่สูงจากพื้นไม่มาก ดังนั้นการบาดเจ็บจะไม่รุนแรงมาก

 

คำแนะนำถึงคุณพ่อคุณแม่

  • ในเด็กวัยนี้ควรเฝ้าดูไม่ให้คลาดสายตา หรือลากเตียงหรือเปลไปอยู่ในที่ ๆ สามารถเห็นได้ตลอดเวลา หรือใช้เบบี้มอนิเตอร์ก็ได้ค่ะ
  • ไม่ควรให้ลูกนอนในเปลไกวเมื่อสามารถลุกนั่งเองได้แล้ว เพราะอาจจะตกได้
  • ควรเลือกซื้อเปลและเตียงที่ได้มาตรฐาน มีความแข็งแรง และไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

 

เด็กทารกเป็นวัยที่ไม่อยู่นิ่งและมักจะเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ทันระวัง ก็อาจทำให้ ลูกตกเตียง ได้ ดังนั้นจึงควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพัง และควรเลือกใช้เตียงที่เหมาะสมหรือใช้ราวกั้น ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

หมอนหัวทุย สำหรับเด็ก อยากให้หัวลูกทุยสวย ไม่แบน ต้องทำยังไง?

ลูกนอนหนุนหมอน และผ้าห่มได้เมื่อไหร่ ทารกคออ่อนนอนหมอนได้ไหม?

ย้ายลูกจากเปลไปใช้เตียง ได้ตอนไหน เมื่อไหร่ที่เด็กควรย้ายไปนอนเตียง?

ที่มา : หมอชาวบ้าน, csip

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกตกเตียง ทำไงดี ลูกตกเตียงตายได้ ??? ข้อควรระวังเมื่อลูกตกเตียง
แชร์ :
  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว