ลูกตกเตียง ทำไงดี ลูกตกเตียงตายได้ ??? เด็กวัยนี้มีโอกาสตกจากที่สูงอย่างเตียง โซฟา หรือเเม้เเต่บันไดนะคะ เเต่ตกเเล้วเป็นยังไงหรือควรต้องทำอะไร มาดูกันค่ะ
อย่าตกใจเมื่อลูกตกเตียง
ไม่อยากจะบอก เเต่ตัวผู้เขียนเองตกเตียงบ่อยครั้งตั้งเเต่เด็กจนโตเลยค่ะ เนื่องจากนอนดิ้นมาก เเละโดยปกติเเล้วนั้นการตกเตียงของเด็กเล็กๆ จะไม่เป็นอันตรายค่ะ มีตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย ฟกช้ำดำเขียว หนักหน่อยก็จะเป็นในเรื่องของกระดูกหัก มีเลือดออกในสมอง แต่กรณีกระดูกหัก เลือดออกในสมองพบได้น้อยเนื่องจากความสูงที่เด็กตกลงมาจะไม่มากประมาณ 90 เซนติเมตร การบาดเจ็บจึงไม่รุนแรง โอกาสเสียชีวิตก็น้อย
ในกรณีที่เด็กตกเตียงแล้วมีเลือดออกในสมอง น่าจะเป็นการตกจากเตียงที่มีความสูงเกินกว่า 120 เซนติเมตรขึ้นไป เตียงที่ต่ำกว่า 120 เซนติเมตรอาจเกิดขึ้นได้เหมือนกันแต่น้อย ถ้าเลือดออกในสมองจากการตกเตียงในระดับที่ต่ำกว่านี้ควรตรวจหาสาเหตุอื่น ร่วมด้วย เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย
ลูกตกเตียง
ตกเตียงเเบบไหนเสี่ยงลูกตายได้
กรณีที่ลูกตกเตียงแล้วเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นการเสียชีวิตในลักษณะแขวนคอ ขาดอากาศหายใจ คือ เด็กตกลงมาจากช่องห่างของซี่ราวกันตกที่ห่างเกิน 6 เซนติเมตร หรือ เตียงมีช่องรูต่าง ๆ ใหญ่กว่า 6 เซนติเมตร เด็กสามารถเอาขาลอด ตัวลอดได้ แต่ศีรษะติดออกมาไม่ได้ เมื่อขาไม่ถึงพื้นก็เลยทำให้เสียชีวิตในลักษณะแขวนคอ ประมาณ 4 นาที ก็เสียชีวิตแล้ว
ลูกตกเตียง ควรทำอย่างไร
- เด็กที่ตกเตียงหรือตกบันได ส่วนใหญ่มักจะร้องไห้จ้าอยู่พักหนึ่ง และบาดเจ็บหัวโนอยู่วันสองวันก็หาย ถ้าร่าเริงปกติก็หายห่วง
- เฝ้าดูอาการ 24 ชม. 3 วัน 7 วัน ตามลำดับ ถ้ามีอาการอย่างซึม อาเจียน หรือแหวะพุ่ง ควรรีบพาไปหาหมอ เช่นเดียวกันกับการร้องไห้งอแงเหมือนเจ็บปวด เมื่อพ่อแม่โดนบางที่ อาจจะมีการบาดเจ็บภายในได้
- มีบางกรณีเหมือนกันแต่น้อยมากที่เด็กเกิดบาดเจ็บที่ม้าม หรือไต เวลาปัสสาวะจึงมีสีแดง เพราะเลือดออก เมื่อเลือดออก หน้าเด็กจะซีดขาว และท้องโป่ง เด็กจะร้องกวนไม่ยอมกินอาหาร พาไปหาหมอก็จะตรวจพบได้ ซึ่งจะต้องผ่าตัดหยุดเลือด นอกจากนั้นยังมีบางครั้งที่กระดูกไหปลาร้าหัก
- ถ้าเด็กหัวโน หรือเลือดออกที่ศีรษะ คุณพ่อคุณแม่จะมัวกังวลที่จุดนั้น จนลืมตรวจดูให้ทั่วทุกส่วน หลังจากนั้น 1-2 วัน พอจะสอดแขนอุ้มเด็ก เด็กจะร้องเพราะเจ็บ ถ้ายกแขนเด็กชูขึ้น แขนข้างที่กระดูกหักจะยกลำบาก กระดูกไหปลาร้าหักแบบนี้ไม่ต้องห่วง ถ้าทำให้กระดูกไม่เคลื่อนที่ ไม่นานก็จะติดกันเอง และหายสนิท
- หากลูกหมดสติไปหลังจากตก บางกรณีอาจเป็นเพราะตกเลือดในสมอง หมอคงสั่งให้พาไปโรงพยาบาลที่ทำการผ่าตัดได้ ในกรณีนี้ควรใช้รถพยาบาลซึ่งชำนาญในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะปลอดภัยกว่า (ในชนบทซึ่งติดต่อปรึกษาหมอล่วงหน้าได้ลำบาก ต้องพาตัวเด็กไปเลย เวลาเคลื่อนย้ายเด็กไม่ควรอุ้มควรให้นอนราบไปบนกระดาน และเอาน้ำแข็งหุ้มผ้าปะศีรษะไว้)
- ถ้าเด็กร้องอยู่นาน แต่ยังมีสติดีอยู่ หรือมีอาการอาเจียนหลังจากตกจากที่สูง หมอจะตรวจอาการให้ ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ หมอจะสั่งให้นอนอยู่เฉยๆ โดยใช้หมอนน้ำแข็งช่วย
บทความที่น่าสนใจ : ฝึกลูกนอนยาว 6 วิธีฝึกลูกนอนยาว หมดปัญหา ลูกร้องตอนดึก

นอนเตียง VS นอนเปล ก็มีส่วน
เด็กทารกนอนเตียงเด็กในอัตรา 10.8 % คือ ใน 100 คน จะใช้ประมาณ 10 คน ในจำนวนนี้ 76.9 % เป็นเตียงเด็กที่มีความเสี่ยง ขาดมาตรฐานความปลอดภัย คือ ผนังเตียงด้านศีรษะและเท้ามีช่องห่างมากเกิน 6 เซนติเมตร ราวกันตกล็อกไม่อยู่ ราวกันตกเตี้ยเกินไป จากขอบบนของเบาะที่นอนถึงราวกันตกด้านบนมีความสูงต่ำกว่า 65 เซนติเมตร ซึ่งสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บจากเด็กตกเตียงหรือลอดทะลุช่องแล้วมีการติด ค้างของศีรษะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้
มีเด็กบาดเจ็บจากการใช้เตียงเด็กทั้งหมดคิดเป็น 19.2% โดยการบาดเจ็บหลักคือการตกจากเตียงซึ่งคิดเป็น 50%
ผลการสำรวจยังพบว่า เด็กไทยนอนเปลไกวมากกว่านอนเตียงเด็ก โดยมีการใช้ถึง 53.3% ลักษณะเป็นเปลที่ไกวได้ หรือ เป็นเปลญวน โดยเปลไกวที่มีความเสี่ยง คือ เปลไกวที่มีราวกันตกและผนังเตียงด้านศีรษะและเท้ามีช่องห่างมากเกิน 6 เซนติเมตร หรือมีฐานไม่มั่นคงจึงมีการพลิกคว่ำ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการตกหรือลอดทะลุช่องแล้วมีการติดค้างของ ศีรษะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้คิดเป็น 42.8%
มีเด็กบาดเจ็บจากการใช้เปลไกวทั้งหมด 20%โดยการบาดเจ็บหลักคือการพลิกคว่ำตกจากเปลพบได้มากสุด 45.5% แต่เนื่องจากลักษณะของเปลไกวจะอยู่สูงจากพื้นไม่มาก ดังนั้นการบาดเจ็บจะไม่รุนแรงมาก
คำแนะนำถึงคุณพ่อคุณเเม่
- ในเด็กวัยนี้ควรเฝ้าดูไม่ให้คลาดสายตา หรือลากเตียงหรือเปลไปอยู่ในที่ๆ สามารถเห็นได้ตลอดเวลา หรือใช้เบบี้มอนิเตอร์ก็ได้ค่ะ
- ไม่ควรให้ลูกนอนในเปลไกวเมื่อสามารถลุกนั่งเองได้เเล้ว เพราะอาจจะตกได้
- ควรเลือกซื้อเปลเเละเตียงที่ได้มาตรฐาน มีความเเข็งเเรง เเละไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ที่มา : หมอชาวบ้าน และ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
บทความที่น่าสนใจ :
อยากให้ลูกมีทักษะ EF ที่ดี ต้องเลี้ยงให้เป็นเด็ก 2 ภาษา
อ่านเถอะ! หากรู้สึกเบื่อที่จะเล่นกับลูก
15 กิจกรรมก่อนนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย ไม่ตื่นกลางดึก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!