TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกขาดวิตามิน ลูกขาดสารอาหาร ลูกไม่กินข้าว อาหารเสริม ทารกขอกินแต่นม ทั้งที่ถึงวัยต้องเสริมอาหารแล้ว

บทความ 5 นาที
ลูกขาดวิตามิน ลูกขาดสารอาหาร ลูกไม่กินข้าว อาหารเสริม ทารกขอกินแต่นม ทั้งที่ถึงวัยต้องเสริมอาหารแล้ว

ลูกขาดวิตามินแน่ ถ้าแม่ตามใจ ปล่อยให้กินแต่นม ไม่เสริมอาหารอื่น ๆ หลัง 1 ขวบ

ลูกขาดวิตามิน

อันตราย ลูกขาดวิตามิน ลูกขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ลูกไม่กินข้าว อาหารเสริม ทารกขอกินแต่นม แม่อย่าตามใจ ทารกหรือเด็กในวัยเกิน 1 ปี จำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

 

อาการอย่างไรที่คุณพ่อคุณแม่ควรสงสัยว่าลูกขาดวิตามิน?

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่คะว่าลูกน้อยอาจจะขาดวิตามินได้หากอายุเกินวัยทารก อายุมากกว่า 1 ปีแล้วยังทานแต่นมเป็นหลัก หรือทานแต่ขนมหวาน ไม่ค่อยยอมทานข้าว ไม่ทานผักและผลไม้ จึงทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบตามต้องการ โดยเฉพาะกลุ่มวิตามินและเกลือแร่ เรามาดูกันนะคะว่าเมื่อใดจึงจะควรสงสัยว่าลูกขาดวิตามิน

 

วิตามินแบ่งได้เป็นกี่ชนิด?

วิตามินเป็นสารจำเป็นที่ร่างกายใช้ในกระบวนการทำงานและเมตาบอลิซึมต่าง ๆ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ

  1. วิตามินที่ละลาย ได้ในไขมัน ได้แก่ วิตามิน A, D, E, และ K
  2. วิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ได้แก่ วิตามิน B และวิตามิน C

 

เมื่อลูกขาดวิตามิน

สาเหตุของการขาดวิตามินมีอะไรบ้าง?

สาเหตุของการขาดวิตามินแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ

  1. การขาดวิตามินแบบปฐมภูมิ คือการขาดวิตามินจากการที่รับประทานเข้าไปไม่เพียงพอ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
  2. การขาดวิตามินแบบทุติยภูมิ คือมีสาเหตุอื่นที่ทำให้ขาดวิตามิน เช่น มีความผิดปกติในการย่อยและการดูดซึมอาหาร ร่างกายมีการขับถ่ายหรือทำลายวิตามินมากขึ้น รับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการดูดซึมวิตามิน โรคความผิดปกติทางพันธุกรรมบางโรค หรืออยู่ในภาวะที่ร่างกายต้องการวิตามินมากกว่าปกติ

 

ลูกขาดวิตามิน ลูกขาดสารอาหาร ลูกไม่กินข้าว อาหารเสริม ทารกขอกินแต่นม ถึงวัยต้องเสริมอาหารแล้ว ลูก1ขวบ ไม่ชอบกินข้าว หม่ำแต่นม ระวังขาดวิตามินก่อโรคร้าย

ลูกขาดวิตามินลูกขาดสารอาหาร

อาการของลูกขาดวิตามิน อาการของการขาดวิตามินเป็นอย่างไร ?

การขาดวิตามินจะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ โดยช่วงแรกอาจไม่เกิดอาการใด แต่หากปล่อยให้ขาดมากขึ้นจนถึงระดับวิกฤตจึงจะแสดงอาการชัดเจน การขาดวิตามินในเด็กมักจะไม่ขาดเพียงตัวใดตัวหนึ่งแต่มักขาดวิตามินหลายชนิดร่วมกัน เพราะในอาหารชนิดหนึ่งจะมีวิตามินหลายตัว อาการของการขาดวิตามินในช่วงเริ่มแรกมักจะมีอาการไม่จำเพาะเจาะจง เช่น

  • เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลด
  • นอนไม่หลับ
  • กระสับกระส่าย

 

วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย จะมีมากในอาหารที่มีประโยชน์ต่างๆ เช่น เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ผักใบเขียวทุกชนิด และผลไม้ ในเด็กที่ไม่ทานข้าว ทานแต่นม จึงอาจขาดวิตามินเหล่านี้ได้

 

วิธีสังเกตว่าลูกขาดวิตามิน

อาการของการขาดวิตามินที่พบบ่อยมีดังนี้

1. วิตามินเอ: ตาแห้ง หากขาดรุนแรงอาจทำให้ตาบอดกลางคืนได้ การเจริญเติบโตช้า

2. วิตามินบี

  • วิตามินบี 1: โรคเหน็บชา แขนขาอ่อนแรง เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย และเกิดความรู้สึกสับสนได้
  • วิตามินบี 2: แผลที่มุมปากหรือที่เรียกกันว่าโรคปากนกกระจอก
  • วิตามินบี 3: โรคเพลลากรา (Pellagra) ทำให้มีอาการผิวหนังอักเสบคล้ายถูกแดดเผา ปากลิ้นอักเสบ เบื่ออาหาร หงุดหงิด กังวล
  • วิตามินบี 5: ปวดท้อง อาเจียน ไม่มีแรง นอนไม่หลับ เหนื่อยง่าย เป็นลม ปวดตามแขนและขา การสร้างแอนติบอดี้ลดลง และติดโรคง่าย มีอาการหงุดหงิด โกรธง่าย หรือซึมเศร้า
  • วิตามินบี 6: อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ซึมและความคิดสับสน คลื่นไส้ อาเจียน
  • วิตามินบี 7: เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ลิ้นอักเสบ ผิวหนังซีด แห้ง และหลุดออกเป็นหย่อมๆ มีอาการซึมเศร้า
  • วิตามินบี 8: โรคเกี่ยวกับระบบประสาท ผิวหนังอักเสบบวมแดง คัน และผิวหนังหลุดลอกเป็นขุย
  • วิตามินบี 9: โรคโลหิตจาง
  • วิตามินบี 11: อาจเกิดโรคอัลไซเมอร์ ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว ไขมันสะสมที่ตับ
  • วิตามินบี 12: โลหิตจาง อ่อนเพลีย เกิดความบกพร่องของระบบประสาท ชาตามปลายมือปลายเท้า และความจำเสื่อมได้

3. วิตามินซี: เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวมแดง แผลหายช้า กล้ามเนื้อขาไม่มีแรง ถ้าขาดวิตามินซีรุนแรง ฟันจะโยกคลอนและหลุดง่าย มีเลือดออกเป็นจุดๆ ทั่วร่างกาย ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง กล้ามเนื้อและกระดูกอ่อน
เสียรูปร่าง

4. วิตามินดี: ปวดกระดูกและกดเจ็บบริเวณที่ปวด พบบ่อยที่กระดูกสันหลังตอนล่าง กระดูกเชิงกราน และกระดูกขา จึงมักส่งผลให้มีท่าเดินที่ผิดปกติ และล้มได้ง่าย ในเด็กกระดูกจะอ่อนกว่าปกติ แต่ในผู้ใหญ่จะมีกระดูกบาง กระดูกพรุน ปวดกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง

5. วิตามินอี: บวม ผิวหนังเป็นผื่นแดง เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติและแตกได้ง่ายจนเกิดภาวะโลหิตจางได้

6. วิตามินเค: เลือดแข็งตัวได้ช้าเมื่อมีบาดแผล เลือดออกง่ายกว่าปกติ

 

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากการขาดวิตามินเหล่านี้ ก็ควรจะปรึกษาคุณหมอเพื่อทำการตรวจหาสาเหตุก่อนนะคะ หากอาการเกิดจากลูกขาดวิตามิน คุณหมอจะแนะนำการทานวิตามินเพื่อการรักษา การทานอาหารที่มีวิตามินอย่างเหมาะสมให้มากขึ้น และการทานวิตามินเสริมเพื่อป้องกันการขาด ทั้งนี้หากต้องการซื้อวิตามินมาให้ลูกรับประทานก็ควรจะปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนเพื่อจะได้รับข้อมูลอย่างถูกต้องและปลอดภัย และไม่ควรละเลยการฝึกให้ลูกรู้จักการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างหลากหลาย โดยเน้นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ผักผลไม้วิตามินซีสูง ป้องกันหวัดลูก ดีต่อสุขภาพคนท้อง สร้างเนื้อเยื่อและกระดูกทารกในครรภ์

สารอาหารเด็กเล็ก อาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี ลูกต้องการสารอาหารอะไรบ้าง

นอนแอร์ นอนพัดลม ทารกนอนห้องแอร์ หรือเปิดพัดลมนอน นอนแบบไหนหลับสบาย ไม่ป่วยไข้

ทารกติดโรค จากผู้ใหญ่ ทารกป่วยบ่อย ติดเชื้อจากพ่อแม่ ครอบครัว คนป่วยต้องอยู่ให้ห่างลูก

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกขาดวิตามิน ลูกขาดสารอาหาร ลูกไม่กินข้าว อาหารเสริม ทารกขอกินแต่นม ทั้งที่ถึงวัยต้องเสริมอาหารแล้ว
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

powered by
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว