X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น่ากลัว! โรคขาดแฟคเตอร์ VII เลือดออกง่ายแต่หยุดยาก

บทความ 3 นาที
น่ากลัว! โรคขาดแฟคเตอร์ VII เลือดออกง่ายแต่หยุดยาก

โรคขาดแฟคเตอร์ VII เป็นโรคเลือดออกง่ายผิดปกติที่เกิดจากการขาดโปรตีนในเลือดชื่อ แฟคเตอร์ VII ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือด สร้างจากตับ โรคนี้อาจมีสาเหตุจากการมีภาวะผิดปกติบางอย่างที่ทำให้การสร้างแฟคเตอร์ VII ผิดปกติ หรือ เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมก็ได้

สาเหตุของโรคขาดแฟคเตอร์ VII ได้แก่อะไรบ้าง?

โรคขาดแฟคเตอร์ VII ที่เป็นแต่กำเนิด จะเกิดจากความผิดปกติของยีน จึงมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบได้ไม่บ่อย โดยมีรายงานผู้ป่วยถึงปัจจุบัน ไม่เกิน 200 คน คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 1 คนในประชากร 500,000 คนเท่านั้น ส่วนโรคขาดแฟคเตอร์ VII ที่มีอาการภายหลังจะมีสาเหตุจากโรค ยา หรือภาวะความผิดปกติที่มีผลต่อการสร้างแฟคเตอร์ VII จากตับ เช่น โรคตับ ขาดวิตามินเค ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง หรือยาบางชนิดที่มีฤทธิ์ขัดขวางการแข็งตัวของเลือด

อาการของโรคขาดแฟคเตอร์ VII เป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคขาดแฟคเตอร์ VII อาจมีอาการเลือดออกที่มีความรุนแรงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดับแฟคเตอร์ VII ที่ผู้ป่วยมี โดยอาการเลือดออกแบบไม่รุนแรงผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงฟกช้ำ มีเลือดออกที่ผิวหนัง มีเลือดหยุดยากเมื่อเกิดแผลหรือถอนฟัน มีเลือดออกที่เหงือก เลือดกำเดาไหลบ่อยและหยุดยาก ประจำเดือนมามากผิดปกติ แต่หากผู้ป่วยมีระดับแฟคเตอร์ VII ต่ำมากๆ อาจมีอาการเลือดออกที่รุนแรง เช่น เลือดออกในสมอง เลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกในข้อบ่อยๆจนเกิดความพิการของข้อ หรือมีเลือดออกมากจากสายสะดือตั้งแต่หลังคลอด ซึ่งผู้ป่วยอาจมีการเสียเลือดมากจนซีด หรือมีภาวะช็อคได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

การวินิจฉัยโรคขาดแฟคเตอร์ VII ทำได้อย่างไร?

หากมีภาวะเลือดออกง่ายหรือเลือดออกแล้วหยุดยากผิดปกติ ผู้ป่วยควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุเสมอ โดยคุณหมอจะทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม โดยเจาะเลือดส่งตรวจค่าปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ Prothrombin time, Partial prothrombin time, factor assay ต่างๆ รวมถึง factor VII ซึ่งถ้าผลออกมาผิดปกติก็จะสามารถวินิจฉัยโรค รวมถึงความรุนแรงของโรคได้

คุณหมอจะให้การรักษาโรคขาดแฟคเตอร์ VII อย่างไร?

การดูแลผู้ป่วยโรคนี้คุณหมอจะเน้นหลักการคือ รักษาสาเหตุของโรค ควบคุมภาวะเลือดออก และระมัดระวังภาวะเลือดออกเมื่อทำเข้ารับการทำหัตถการหรือผ่าตัด โดยรักษาสาเหตุของโรคสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคตับ หรือมีภาวะติดเชื้อ หยุดยาที่เป็นสาเหตุในผู้ป่วย เป็นต้น ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จากพันธุกรรมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะรักษาโดยการให้สารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เมื่อมีเลือดออก เช่น พลาสมา หรือให้แฟคเตอร์ VII ในรูปที่มีการสังเคราะห์ (recombinant factor VIIa) ซึ่งมีราคาสูงมาก รวมทั้งให้เลือดเมื่อมีภาวะเลือดออกมาก

หากผู้ป่วยจะเข้ารับการผ่าตัดหรือทำหัตถการต่างๆ ต้องแจ้งให้คุณหมอผู้ดูแลทราบเสมอ เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกมาก และเตรียมส่วนประกอบของเลือดไว้ให้พร้อม

Advertisement

เนื่องจากโรคขาดแฟคเตอร์ VII นี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในครอบครัวที่มีลูกเป็นโรคขาดแฟคเตอร์ VII หากต้องการมีลูกคนต่อไปมี ลูกโอกาสที่จะเป็นโรคหรืออาจเป็นพาหะของโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นลูกสาวหรือลูกชาย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยมีลูกเป็นโรคนี้ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อประเมินภาวะการเป็นพาหะของโรค ซึ่งช่วยบอกโอกาสในการเกิดโรคนี้ของลูกคนต่อไปนะคะ

ขอบคุณภาพประกอบจาก คุณศิริเพ็ญ สร้อยเสนา

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ 

ประสบการณ์ตรง เมื่อลูกป่วยเป็นโรคขาดแฟคเตอร์ VII

หนูน้อยคนนี้ มีเลือดออกจากท้องเยอะมาก สาเหตุเพราะ…

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • น่ากลัว! โรคขาดแฟคเตอร์ VII เลือดออกง่ายแต่หยุดยาก
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว