เวลาลูกฉายแววความฉลาด มีไอคิวดี พ่อแม่นี่แก้มปริยิ้มภูมิใจกันเลยใช่ไหมคะ แต่กลับบางครอบครัวส่งลูกไปเรียนพิเศษก็แล้ว แถมพ่อแม่ก็ยังคอยเป็นติวเตอร์สอนนู่นนี่ให้ แต่ทำไมกลับไม่ได้ดีอย่างที่พ่อแม่ตั้งใจไว้ ซึ่งความจริงแล้วคำตอบของข้อสงสัยนี้ก็คือ ความฉลาดของลูกนั้น มีผลมาจากพันธุกรรมของพ่อแม่ แต่จะมีรายละเอียดอย่างไร สามารถอ่านได้จากบทความนี้เลยค่ะ
งานวิจัยชี้ ลูกฉลาดไม่ฉลาด เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมพ่อแม่
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในสกอตแลนด์ ได้ทำการทดลองโดยใช้หนูดัดแปลงพันธุกรรม พบว่า หนูตัวที่ได้รับยีนแม่จะมีหัวและสมองที่ใหญ่แต่ตัวเล็ก ตรงกันข้ามกับหนูที่ได้ยีนพ่อ ที่มีสมองเล็กแต่ตัวใหญ่ และยังพบว่า ความฉลาดนั้นอยู่ในโครโมโซม X ที่ผู้หญิงมีถึงสองตัว (โครโมโซม XX) ขณะที่ผู้ชายมีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว (XY) และเชื่อว่ายีนที่กระตุ้นการรับรู้ความเข้าใจที่มาจากพ่อ ดูเหมือนว่าเมื่อเติบโตมันจะหยุดทำงานไปโดยอัตโนมัติ
นักวิจัยระบุว่ายีนพ่อและยีนแม่มีความแตกต่างกันในหลายเรื่อง ทั้งด้านสติปัญญา นิสัย พฤติกรรมการกิน ความสามารถการจดจำ โดยยีนแม่สะสมอยู่มากบริเวณเปลือกสมอง (Cerebral Cortex) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการใช้ความคิด การมีเหตุผล ภาษาและการวางแผน ขณะที่ยีนพ่อสะสมอยู่มากบริเวณระบบลิมบิค (Limbic) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานในส่วนของเพศ การกิน และอารมณ์
นอกจากนี้ยังได้ทำแบบสำรวจความฉลาด โดยสอบถามไปยังคนวัยหนุ่มสาวจำนวน 12,686 คน อายุระหว่าง 14 – 22 ปี ทุกช่วงอายุดังกล่าว และแม้ว่าจะมีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาเกี่ยวกับความฉลาด ทั้งเชื้อชาติหรือสถานะทางสังคมเศรษฐกิจ นักวิจัยก็ยังพบว่า ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความฉลาดนั้นก็คือ ไอคิวที่ได้มาจากแม่นั่นเอง
วิธีพัฒนาสมองเด็กวัยแรกเกิด – 1 ปี
ในช่วงแรกเกิดนั้น ทารกจะสามารถมองเห็น ได้ยิน และเริ่มเรียนรู้ที่จะตอบโต้กับคุณพ่อและคุณแม่ เช่น ร้องไห้เมื่อหิว หรือง่วง เป็นต้น นอกจากนี้เด็กแรกเกิดยังเริ่มที่จะจดจำใบหน้าของคนได้บ้างแล้ว ซึ่งวิธีการกระตุ้น เพื่อพัฒนาสมอง สามารถทำได้โดย
- พูดคุยกับลูก และให้ลูกเห็นใบหน้าบ่อย ๆ และอาจจะใช้ของเล่นอย่างเช่น โมบาย เพื่อกระตุ้นการมองเห็นของลูก
- สภาพแวดล้อมรอบตัวลูกควรเป็นสถานที่สะอาด โปร่งโล่ง สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน เพราะสภาพแวดล้อมนั้น ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการของเจ้าตัวน้อย การที่เด็กได้เห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้
- ปัจจัยทางด้านเสียง ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของเด็กได้ดี ไม่ควรอยู่ในที่ ๆ มีเสียงดังรบกวนมากเกินไป แต่ก็ไม่ควรเงียบสงบจนเกินไป โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะร้องเพลงให้ลูกฟัง หรือเปิดเพลงเบา ๆ สบาย ๆ ก็จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยได้เช่นกัน
- เมื่อถึงวัยเริ่มคลาน เด็กจะสนใจของเล่นมากขึ้น แต่เด็กในวัยนี้มักจะชอบหยิบสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวเข้าปาก ดังนั้นจึงควรระวังเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ
- ไม่ควรซื้อของเล่นให้ลูกมากชิ้นเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเสียสมาธิ เลือกไม่ถูกว่าจะเล่นอะไรดี ยิ่งมีของเล่นน้อยชิ้น ก็จะทำให้เด็กมีเวลาเล่น หรือศึกษาของเล่นชิ้นนั้นอย่างละเอียด ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีของการสร้างสมาธิของเด็กในอนาคต
โภชนาการที่ดี อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สร้างความฉลาดให้ลูก
นอกจากพันธุกรรมที่ลูกได้รับมาจากพ่อแม่แล้วแล้ว โภชนาการและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ก็เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสมองลูกเช่นกัน มาดูสารอาหารบำรุงสมองลูกกันเลย
- MFGM (Milk Fat Globule Membrane)
MFGM คือ เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนม ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสฟิงโกไมอิลีน ฟอสโฟไลปิด แกงกลิโอไซต์ เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้าง IQ และ EQ ของลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สฟิงโกไมอีลิน เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสารอาหาร MFGM ที่พบในนมแม่ มีส่วนในการส่งเสริมการทำงานของสมอง และเซลล์ประสาท เพราะสฟิงโกไมอีลินเป็นหนึ่งในสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างเส้นใยประสาทให้เแข็งแรง และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณกระแสประสาทได้อย่างรวดเร็ว กล่าวคือ สฟิงโกไมอีลินที่เป็นส่วนประกอบของ MFGM นั้น มีส่วนช่วยเสริมสร้างให้สมองและเซลล์ประสาททำงานและตอบสนองได้ดีขึ้นควบคู่ไปกับสารอาหารอื่นๆ อีกมากมายใน MFGM นั่นเอง
DHA คือ กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา โดยองค์ประกอบหลักในสมองมี DHA 40% และมี DHA ในจอประสาทตาถึง 60% DHA จะเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณ ส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน
ปกติแล้วร่างกายของมนุษย์จะไม่สามารถสร้าง DHA เองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น DHA มีมากในนมแม่ ในปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาโอลาย ปลาทู และสาหร่ายทะเลบางชนิด และมีมากในปลาน้ำจืดที่มีไขมันสูง เช่น ปลาสวาย ปลาช่อน เป็นต้น
- ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid)
เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสารอาหาร MFGM เช่นเดียวกัน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำงานของทุกระบบในร่างกาย โดยเฉพาะสมองกับระบบประสาท ที่เป็นศูนย์สั่งการและคอยควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
ในช่วงขวบปีแรก เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองของลูกจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว หากได้รับสารอาหารสมองที่เหมาะสมและเพียงพอ ซึ่งคุณแม่ควรเริ่มต้นจากการให้ลูกทานนมแม่อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะในนมแม่นั้นมีสารอาหารสมองดังข้างต้น รวมทั้งสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันมากกว่า 200 ชนิด
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกได้เอง หรือน้ำนมน้อย มีปัญหาการให้นมลูก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาในเบื้องต้น หรือปรึกษาเรื่องโภชนาการเสริมทดแทน โดยต้องเป็นนมที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ และมีสารอาหารสมองอย่าง MFGM สฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ โคลีน และฟอสโฟลิปิด อย่างครบถ้วนค่ะ
สำกรับคุณแม่ที่กำลังหาแนวทางเสริมพัฒนาการสมองลองลูกให้เติบโตแบบก้าวกระโดด สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
ที่มา: sg.theasianparent
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
รู้หรือไม่!! MFGM คือ สารอาหารในนมแม่ ช่วยพัฒนาสมองของลูกรัก ให้พร้อมเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
8 สัญญาณเตือน ลูกพัฒนาการช้า ที่พ่อแม่สังเกตได้ตั้งแต่แรกเกิด
พิสูจน์มาแล้ว ลูกฉลาด ได้มาจากสติปัญญาแม่มากกว่าพ่อ!
10 อาหารบำรุงสมองใน 1,000 วันแรก ให้ลูกกินอะไร แล้วลูกฉลาด พัฒนาการสมองไว
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!