ลูกกินอะไรถึงฉลาด ทารกก่อน 6 เดือน กินนมแม่นี่ไง ช่วยเตรียมโครงสร้างสมองให้ทารก คิดเร็ว เข้าใจได้เร็ว ความจำดี
ไม่ต้องสงสัยว่าลูกกินอะไรถึงฉลาด ก็นมแม่น่ะสิ! นี่คือเหตุผลว่าทำไมลูกแรกเกิดถึง 6 เดือนต้องกินนมแม่ เพราะทุกหยดน้ำนมแม่ สร้างโครงสร้างสมองให้ทารก ทำให้ลูกคิดเร็ว เข้าใจได้เร็ว จำได้ดีขึ้น
6 เดือนต้อง กินนมแม่
ไออุ่นแม่ อุ้มลูกดูดน้ำนมแม่ สร้างโครงสร้างของสมอง
เพจมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า นมแม่ และการอุ้มลูกดูดนมแม่ ช่วยสร้างโครงสร้างของสมอง
Cholesterol ในน้ำนมแม่ สร้าง Myelin เป็นเปลือกหุ้มเส้นใยประสาท เป็นสมองส่วนสีขาว (White matter)
การอุ้มลูกขึ้นมากอด สัมผัส ดูดนมแม่บ่อย ๆ กระตุ้นการงอกงามของเส้นใยเหล่านี้ให้หนาแน่นขึ้น เป็นกลุ่ม ๆ เชื่อมโยงแต่ละส่วนของสมอง ไว้ด้วยกัน ทุกครั้งที่ ผิวแม่สัมผัสลูก หูลูกได้ยินเสียงหัวใจแม่ ตาลูกมองเห็นหน้าแม่ เส้นใยยิ่งสร้างมากขึ้นตลอดเวลา
6 เดือนต้องกิ นนมแม่
น้ำนมแม่ช่วยให้ทารกคิดเร็ว เข้าใจได้เร็ว จำได้ดีขึ้น
น้ำนมแม่สร้างเส้นใยประสาทที่มีเปลือกหุ้ม ทำให้สัญญาณไฟฟ้าวิ่งไวขึ้นจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ไฟฟ้าสมองวิ่งไวขึ้น มีการเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่าง ๆ ของสมองเร็วขึ้น คิดเร็ว เข้าใจได้เร็ว จำได้ดีขึ้น
ถ้าเปรียบการสร้างใยประสาท เหมือนการสร้างโครงข่ายถนนใยแมงมุม ที่เชื่อมเมืองต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน ถนนมาก ตรอกซอกซอยเยอะ ย่อมมีทางเลือกให้ติดต่อกันได้เร็วขึ้น ยิ่งเป็นถนนราดยาง (มีเปลือก myelin หุ้ม ) รถย่อมวิ่งเร็ววิ่งฉิวถึงจุดหมายได้เร็วกว่า ถนนดินลูกรังขรุขระ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็น การเตรียมโครงสร้างสมองให้ลูก ด้วยการเสริมเส้นใยสมองด้วย เปลือก Myelin ที่ผลิตจากโคเลสเตอรอล ในน้ำนมแม่ และ เพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างเส้นใยสมอง ด้วยการอุ้มลูกดูดนมแม่และสัมผัสลูกค่ะ
บทความที่น่าสนใจ : นมแรกสำหรับลูกสำคัญที่สุด วิธีเลือกนมผงแรกให้ลูก ต่อจากนมแม่ ต้องเลือกอย่างไรให้ดีกับลูกน้อยที่สุด
ที่มา : พญ.ศิริพัฒนา
ลูกกินอะไรถึงฉลาด 6 เดื อนต้องกินนมแม่
ประโยชน์ของน้ำนมแม่ มีอะไรในน้ำนมแม่บ้าง
อาจารย์ ดร. ผกากรอง วนไพศาล ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุถึงสารอาหารในน้ำนมแม่ ดังนี้
สารอาหารในน้ำนมแม่มีความผันแปรตามระยะการผลิตน้ำนม นมแม่ที่ร่างกายแม่ผลิตขึ้นมี 3 ระยะ
- ในระยะแรกมักมีสีเหลือง บางคนอาจเรียกว่าน้ำนมเหลือง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโคลอสตรุ้ม (Colostrum) โคลอสตรุ้มนี้จะถูกสร้างขึ้นเพียงระยะ 1-3 วันแรกภายหลังการคลอดบุตรเท่านั้น และเต็มไปด้วยสารสร้างภูมิต้านทาน เช่น IgA แลคโตเฟอริน เซลล์เม็ดเลือดขาว โปรตีนต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย น้ำนมในระยะนี้จะมีปริมาณน้ำตาลแลคโตสไม่สูงมากนัก มีปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น โซเดียม คลอไรด์ แมกนีเซียม ปริมาณสูง แต่มีปริมาณโพแทสเซียม และแคลเซียมต่ำกว่านมที่ผลิตระยะหลัง ถือได้ว่าน้ำนมระยะนี้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกายมากกว่าการเร่งการเจริญเติบโต
- น้ำนมในระยะต่อมาจะมีลักษณะขาวขึ้น เรียกว่า ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน (Transitional milk) คือ ระยะการเปลี่ยนจากหัวน้ำนมแม่เป็นน้ำนมแม่ จะหลั่งในช่วง 5 วันจนถึง 2 สัปดาห์หลังคลอด โดยมีส่วนประกอบที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต และพัฒนาการเพิ่มมากขึ้น น้ำนมระยะที่ 3 เรียกว่า ระยะน้ำนมแม่ (Mature milk) ระยะนี้น้ำนมจะมีสีขาว มีไขมันมากขึ้น ปริมาณน้ำนมที่ผลิตจะมีมากขึ้น ประกอบไปด้วยสารอาหารต่างๆ และสารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย
- น้ำนมในระยะน้ำนมแม่ ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ซึ่งได้แก่ โปรตีน ไขมัน น้ำตาลแลคโตส จากการศึกษาองค์ประกอบของน้ำนมภายหลังจาก 4 เดือนหลังคลอดพบว่าปริมาณของธาตุอาหารหลักในนมแม่ขึ้นอยู่ กับหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแม่ ได้แก่ น้ำหนักของแม่ ปริมาณโปรตีนที่แม่ได้รับ การมีประจำเดือน และความถี่ของการให้นมบุตร การศึกษาพบว่าแม่ที่ผลิตน้ำนมในปริมาณมากจะมีความเข้มข้นของไขมันและโปรตีนในน้ำนมต่ำ แต่มีความเข้มข้นของแลคโตสสูงกว่าแม่ที่ผลิตน้ำนมได้น้อย
- โปรตีนส่วนใหญ่ที่อยู่ในน้ำนมได้แก่ เคซีนชนิดเบต้า อัลฟาแลคตาบูมิน แลคโตเฟอริน (โปรตีนที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคบางชนิด) อิมมูโนโกลบูลิน A (IgA) (เพิ่มภูมิต้านทาน) ไลโซไซม์ (เอนไซม์ที่มีฤทธิ์ทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรีย) และซีรัมอัลบูมิน พบว่าการรับประทานอาหารของแม่ไม่มีผลต่อปริมาณโปรตีนในน้ำนม
- ไขมันในน้ำนมประกอบด้วย ไขมันหลายชนิด ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลปิดส์ โคเลสเตอรอล ไดกลีเซอไรด์ โมโนกลีเซอไรด์ กรดไขมันสายยาวชนิดไม่อิ่มตัว (Long chain polyunsaturated fatty acids, LCPUFA) ได้แก่ DHA (docosahexaenoic acid) และ AA (Arachidonic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทและการมองเห็น ซึ่งไขมันในนมส่วนหลัง (Hind milk) อาจมีปริมาณมากกว่านมส่วนหน้า (Fore milk) มากถึง 3-5 เท่า จากการศึกษาพบว่าไขมันในนมแม่ที่ผลิตช่วงกลางคืนและช่วงเช้าของวันจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าน้ำนมที่ผลิตในช่วงกลางวันหรือช่วงเย็นของวัน ปริมาณไขมันยังสัมพันธ์กับอาหารที่แม่รับประทาน โดยเฉพาะไขมันชนิด LCPUFA พบว่าปริมาณ DHA ในน้ำนมขึ้นอยู่กับปริมาณ DHA ที่แม่ได้รับประทานเข้าไป
- น้ำตาลชนิดที่พบในนมแม่คือ น้ำตาลแลคโตส พบว่าแม่ที่ผลิตน้ำนมได้ปริมาณมากจะมีปริมาณน้ำตาลแลคโตสสูงมากกว่าแม่ที่ผลิตน้ำนมได้น้อย นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีโอลิโกแซคคาไรด์หรือคาร์โบไฮเดรตสายสั้นๆ (Human milk oligosaccharides, HMOs) ที่มีโมเลกุลของน้ำตาลประมาณ 3-32 โมเลกุล HMOs ของมนุษย์มีมากกว่า 200 ชนิดมากกว่าโอลิโกแซคคาไรด์ที่พบในนมวัวถึง 5 เท่า เป็นส่วนประกอบของน้ำนมที่มีปริมาณสูงเป็นอันดับ 3 รองจากน้ำตาลแลคโตส และไขมัน HMOs ในนมแม่มีความแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตามพบว่าทารกไม่สามารถย่อย HMOs ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว HMOs จึงเคลื่อนที่ผ่านกระเพาะ ลำไส้เล็ก และถูกนำมาสะสมในลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์หลากหลายชนิด จากการศึกษาพบว่า HMOs ในนมแม่จัดเป็น พรีไบโอติก (Prebiotics) หรือแหล่งอาหารสำคัญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเรียกว่าโพรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญของแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายทารก แบคทีเรียที่สำคัญชนิดหนึ่ง ได้แก่ Bifidobacterium longum infantis แบคทีเรียนี้สามารถใช้ HMOs และสังเคราะห์กรดไขมันสายสั้นที่เป็นอาหารของเซลล์ทางเดินอาหารในทารก ทำให้เซลล์ทางเดินอาหารของทารกสร้างโปรตีนที่ช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้
- วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีในนมแม่ และสำคัญต่อการเจริญเติบโต ได้แก่วิตามิน A, B1, B2, B6, B12, C, D, E, K และแร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ เหล็ก แคลเซียม ไอโอดีน เป็นต้น ถึงแม้ว่าปริมาณสารอาหารสำคัญในนมแม่จะเพียงพอต่อความต้องการของทารก อย่างไรก็ตามปริมาณธาตุอาหารหลายชนิดในน้ำนมแม่อาจมีความแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหาร และร่างกายของแม่
นอกจากนี้ ในน้ำนมแม่ยังประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมากมายหลายชนิด สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ คือ สารที่มีผลต่อกระบวนการ การทำงานต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ที่ได้รับ ตัวอย่างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีอยู่ในน้ำนมได้แก่ แอนติออกซิแดนท์ โกรทแฟคเตอร์ ที่เสริมสร้างการทำงานของระบบการทำงานของร่างกาย ได้แก่ ระบบทางเดินลำไส้ เส้นเลือด ระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนต่างๆ ที่ควบคุมการเจริญเติบโต และกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย รวมทั้งแฟคเตอร์ และเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น แมคโครฟาจก์ T-cells ลิมโฟไซต์ ไซโตคายน์ แอนติบอดีชนิดต่างๆ (IgA, IgG, IgM)
นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมทารกจำเป็นต้องกินนมแม่ ช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต เพราะนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีน ที่จะคอยป้องกันโรคร้าย เสริมภูมิคุ้มกันทารกให้แข็งแรง และคุณประโยชน์ของนมแม่ก็เพียงพอที่จะไม่ต้องเสริมด้วยอาหารชนิดอื่น ๆ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกชอบกินโปรตีน อมเท้า ดูดนิ้ว งับกำปั้น ติดมาตั้งแต่เป็นทารก ทำไงจะเลิกสักทีเนี่ย
อยากให้ลูกฉลาด พัฒนาการดี แม่ลูกอ่อนต้องให้คุณพ่อช่วยเลี้ยงลูกตั้งแต่เกิด
วิธีเล่นกับลูก กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย วัยแรกเกิดถึง 18 เดือน
ลูกกินนมแม่ ไม่ถ่ายได้กี่วัน ถ้าลูกไม่ถ่ายหลายวัน ต้องทำอย่างไร
ที่มา : facebook, pharmacy.mahidol
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!