X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ท่าอุ้มให้นมลูก เทคนิคดี ๆ ที่ทำให้ลูกดูดลึก ดูดคล่อง แม่ไม่เมื่อย ไม่เจ็บเต้า

บทความ 5 นาที
ท่าอุ้มให้นมลูก เทคนิคดี ๆ ที่ทำให้ลูกดูดลึก ดูดคล่อง แม่ไม่เมื่อย ไม่เจ็บเต้า

ท่าอุ้มให้นมลูก ที่เหมาะกับแม่ให้นม

แม่ให้นมหลายคนประสบปัญหาเกี่ยวกับการให้นมลูก สาเหตุมาจากน้ำนมน้อยบ้าง ให้นมลูกไม่ได้บ้าง เพราะว่าแม่กับลูกอยู่คนละที่ และอาการเจ็บที่หัวนม แต่มีบางคนที่รู้สึกว่าให้นมลูกแล้วรู้สึกเมื่อยไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวจึงไม่ค่อยอยากให้นมลูกเลยก็มี แล้วมี ท่าอุ้มให้นมลูก ท่าไหน ที่ช่วยให้แม่ลูกอ่อนให้นมลูกนานๆ บ้าง มาดูกันค่ะ

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งของชาวสวีเดน ที่ได้นำเสนอแนวทางใหม่ที่เรียกว่า Natural breastfeeding หรือการให้นมลูกแบบธรรมชาติ มาช่วยแก้ปัญหาการให้นมลูก เนื่องจากนักวิจัยท่านนี้พบว่า ทารกเมื่ออยู่บนร่างกายของแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกจะเกิดความมหัศจรรย์บางอย่าง นั่นคือ ทารกจะคลานไปบนร่างกายคุณแม่ เพื่อหาเต้านมในการดื่มนมค่ะ

การดูดนมครั้งแรกของทารก ถือเป็นการเรียนรู้และทำความรู้จักกับอกทารกน้อยบางคนอาจจะแค่ดมหรือเลีย บางคนก็ดูดเป็นในทันที  คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะและไม่ต้องพยายามบีบบังคับให้ลูกดูดให้ได้อย่างถูกต้อง ในครั้งแรกที่เจอกันแค่การกอดและสัมผัสกันก็ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นแล้ว ลูกน้อยจะสามารถดูดนมได้เองภายในไม่ช้า

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

 

ท่าอุ้มให้นมลูก เทคนิคดี ๆ ที่ทำให้ลูกดูดลึก ดูดคล่อง แม่ไม่เมื่อย ไม่เจ็บเต้า

 

Advertisement

ท่าให้นมทารกแรกเกิด

สำหรับวิธีการเลี้ยงเด็กแรกเกิดแบบใหม่ จะใช้วิธีธรรมชาติ เพราะเป็นการใช้ประโยชน์จากจากพฤติกรรมโดยธรรมชาติของแม่ที่จะทำให้สามารถเลี้ยงลูกน้อยได้สำเร็จ อุปสรรคอย่างหนึ่งที่ขัดขวางการให้เริ่มให้นมลูกคือ ภาพในใจ เนื่องจากคุณแม่บางท่านอาจมีความคิดที่ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นข้อบกพร่อง วิธีการไม่ยากค่ะ

  • คุณแม่ที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ในท่าสบาย ถ่ายเทน้ำหนักตัวไปที่ก้น
  • จับทารกไว้ในอ้อมแขน พยายามอุ้มลูกให้ชิดลำตัวโดยที่ไม่มีช่องว่างระหว่างกัน โดยที่ใช้แขนคุณรัดส่วนหัว คอ และหลัง เพราะลูกจะดูดนมเร็วอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บได้ค่ะ
  • จากนั้นหนูน้อยก็จะดูดนมด้วมริมฝีปากของคุณแม่เองค่ะ

 

ท่าอุ้มในนมลูก ฉบับคุณแม่มือใหม่

  • ท่าอุ้มนอนขวางบนตักแม่ (Cradle Hold)

อุ้มลูกวางขวางไว้บนตัก ให้ท้ายทอยอยู่ที่แขนของคุณแม่ ปลายแขนของคุณแม่ช้อนไปที่ส่วนหลังและก้นของลูก ตะแคงตัวลูกเข้าหาเต้านมให้หน้าอกลูกและคุณแม่ชิดกัน มืออีกข้างพยุงเต้านม เป็นท่าที่อุ้มลูกไว้บนตัก มือและแขนประคองตัวลูกไว้ ให้ลูกนอนตะแคงเข้าหาตัวแม่ ศีรษะลูกอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย ท้ายทอยลูกวางอยู่บริเวณแขนของแม่ มืออีกข้างประคองเต้านมไว้

ท่านี้เหมาะสำหรับ : คุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

 

  • ท่านอนขวางบนตักแบบประยุกต์ (Modified/Cross Cradle Hold)

อุ้มลูกน้อยวางไว้บนตักคล้ายท่าแรกแต่เปลี่ยนการวางมือของคุณแม่ โดยใช้มือด้านตรงข้ามกับเต้านมช้อนระหว่างท้ายทอยและคอของลูกแทนมืออีกข้างพยุงเต้านม

ท่านี้เหมาะสำหรับ : คุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดเช่นกัน และยังเหมาะสำหรับนำลูกเข้าอมหัวนม เพราะมือของคุณแม่ที่ประคองต้นคอและท้ายทอยของลูกไว้ จะช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะลูกให้เข้าหาเต้านมได้ดี

 

  • ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Clutch Hold/Football Hold)

วางหมอนหนา ๆ ไว้ข้างลำตัวจัดตำแหน่งลูกน้อยให้อยู่บนหมอนให้ลำตัวของลูกน้อยอยู่ใต้แขนของคุณแม่ ใช้มือประคองที่ท้ายทอยคอ และส่วนหลังของลูกน้อยเหมือนอุ้มลูกฟุตบอลที่เหน็บไว้ข้างลำตัว

ท่านี้เหมาะสำหรับ : แม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเพราะตัวของลูกจะไม่ไปสัมผัสและกดทับแผลผ่าตัดที่หน้าท้องของแม่ คุณแม่ที่มีเต้านมใหญ่หรือลูกตัวเล็กเพราะลูกจะเข้าอมงับเต้านมได้ดีกว่า และคุณแม่ที่คลอดลูกแฝด เพราะสามารถให้ลูกดูดนมจากทั้งสองเต้าพร้อม ๆ กันได้

 

  • ท่านอนตะแคง (Side Lying Position)

คุณแม่และลูกนอนตะแคงเข้าหากันศีรษะแม่สูงเล็กน้อย วางลูกให้ตำแหน่งปากอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านบนประคองเต้านมเพื่อนำหัวนมเข้าปากลูก เมื่อลูกดูดได้ดี สามารถขยับออก ประคองต้นคอและหลังได้

ท่านี้เหมาะสมสำหรับ : แม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องต้องการพักผ่อน หรือให้นมลูกเวลากลางคืน

 

  • ท่าเอนตัว (Laid-back Hold)

คุณแม่นอนเอนตัวแล้ววางลูกไว้บนหน้าอก ใช้มือโอบลูกน้อยไว้ และให้ศีรษะลูกเอียงเล็กน้อยเพื่อป้องกันการปิดกั้นทางเดินหายใจ

  • ท่าตั้งตรง (Upright or Standing Baby)

อุ้มลูกน้อยตั้งตรง ขาลูกคร่อมต้นขาคุณแม่ ศีรษะและลำตัวของลูกเอนเล็กน้อย ใช้มือประคองศีรษะของลูกและเต้านม

 

ท่าอุ้มให้นมลูก เทคนิคดี ๆ ที่ทำให้ลูกดูดลึก ดูดคล่อง แม่ไม่เมื่อย ไม่เจ็บเต้า

 

ท่าให้นมลูกแบบธรรมชาติ

ตำแหน่งการให้นมของท่าให้นมลูกแบบธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะว่าหากวางถูกตำแหน่งก็จะเป็นเหมือนการกระตุ้นให้ลูกน้อยได้คลานไปดูดนมได้อย่างแม่นยำ เพราะทันทีที่คุณแม่วางลูกน้อยลงบนตัวทารกน้อยจะรู้สึกถึงสัมผัสของแม่ และจะพยายามใช้มือ แขน เข่า และปลายเท้าในการคลานไปยังเต้านมของคุณแม่ค่ะ ซึ่งตอนนี้ให้คุณแม่พยายามควบคุมให้น้องดูดนมอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการคือ

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ ด้วย Jessie M Next และ Jessie Mind Next
เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ ด้วย Jessie M Next และ Jessie Mind Next
  • วางทารกอยู่บริเวณช่วงท้องบนตัวคุณแม่
  • จากนั้นปล่อยให้ลูกคลานไปหายังเต้านม

ท่านี้ จะทำให้ลูกดูดนมได้คล่องขึ้น เนื่องจากน้ำหนักตัวของลูกที่กดทับลงบนเต้านมทำให้ลูกน้อยดูดนมแม่ได้ลึกนั่นเองค่ะ ซึ่งวิธีการนี้ไม่ใช่แค่เหมาะสำหรับเด็กเท่านั้น แต่ยังช่วยให้แม่สบาย สามารถเลี่ยงอาการเจ็บเต้านมจากการที่ลูกดูดนมผิดวิธี ดูดไม่เป็น

การให้นมลูกตามธรรมชาติสามารถใช้ได้กับเด็กทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก เพราะเด็กขาดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทั้งยังเป็นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ง่าย โดยการใช้ประโยชน์จากการตอบสนองทารกแรกเกิดถูกกระตุ้นด้วยแรงโน้มถ่วง

 

 

วิธีตรวจเช็กว่านมเกลี้ยงเต้าแล้ว

  • เต้านิ่มทั้ง 2 ข้าง
  • ไม่เจ็บเต้า
  • บีบออกเป็นหยด ไม่พุ่ง

 

การอุ้มเรอหลังการให้นม

การอุ้มไล่ลมให้ลูกเรอ คุณแม่ควรทำทันทีหลังจากให้ลูกดูดนมเสร็จแล้วทุกครั้ง หรือทำให้ลูกเรอก่อนที่จะให้ลูกมาดูดนมอีกข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกสำรอกน้ำนมออกมาหลังจากได้นมแม่แล้ว โดยคุณแม่สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  • ท่าที่ 1 : การอุ้มเรอโดยการเอาลูกพาดบ่า

การไล่ลมในท่าอุ้มพาดบ่าให้คุณแม่อุ้มลูกโดยให้คางของลูกอยู่ที่บ่าของแม่ ใช้ฝ่ามือลูบหลังโดยลูบขึ้นจนได้ยินเสียงเรอ

  • ท่าที่ 2 : การอุ้มเรอท่าเอาลูกนั่งบนตัก

การไล่ลมในท่านั่งบนตัก ให้โน้มตัวลูกมาด้านหน้าเล็กน้อย ใช้ฝ่ามือหนึ่งประคองใต้คางลูก อีกมือหนึ่งลูบหลังเบาๆจนได้ยินเสียงเรอ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

3 สัญญาณบอกว่า นมแม่ใกล้หมด หรือมีน้อยเกินไปแล้ว

รวมเทคนิคช่วยแม่มือใหม่ ท่าให้นมลูก การบีบน้ำนม ทำได้ตามนี้นมแม่มาแน่

ประสบการณ์เลี้ยงทารก 14 วันแรก ของแม่มือใหม่คนนี้

ที่มา: mothering.com , phukethospital.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • ท่าอุ้มให้นมลูก เทคนิคดี ๆ ที่ทำให้ลูกดูดลึก ดูดคล่อง แม่ไม่เมื่อย ไม่เจ็บเต้า
แชร์ :
  • 8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

    8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

  • ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

    ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

  • แม่ลูกอ่อนกินผักอะไรได้บ้าง ผัก 13 ชนิดที่แม่หลังคลอด แม่ให้นม ควรกิน

    แม่ลูกอ่อนกินผักอะไรได้บ้าง ผัก 13 ชนิดที่แม่หลังคลอด แม่ให้นม ควรกิน

  • 8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

    8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

  • ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

    ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

  • แม่ลูกอ่อนกินผักอะไรได้บ้าง ผัก 13 ชนิดที่แม่หลังคลอด แม่ให้นม ควรกิน

    แม่ลูกอ่อนกินผักอะไรได้บ้าง ผัก 13 ชนิดที่แม่หลังคลอด แม่ให้นม ควรกิน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว