ท่าอุ้มให้นมลูก ที่เหมาะกับแม่ให้นม
แม่ให้นมหลายคนประสบปัญหาเกี่ยวกับการให้นมลูก สาเหตุมาจากน้ำนมน้อยบ้าง ให้นมลูกไม่ได้บ้าง เพราะว่าแม่กับลูกอยู่คนละที่ และอาการเจ็บที่หัวนม แต่มีบางคนที่รู้สึกว่าให้นมลูกแล้วรู้สึกเมื่อยไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวจึงไม่ค่อยอยากให้นมลูกเลยก็มี แล้วมี ท่าอุ้มให้นมลูก ท่าไหน ที่ช่วยให้แม่ลูกอ่อนให้นมลูกนานๆ บ้าง มาดูกันค่ะ
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งของชาวสวีเดน ที่ได้นำเสนอแนวทางใหม่ที่เรียกว่า Natural breastfeeding หรือการให้นมลูกแบบธรรมชาติ มาช่วยแก้ปัญหาการให้นมลูก เนื่องจากนักวิจัยท่านนี้พบว่า ทารกเมื่ออยู่บนร่างกายของแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกจะเกิดความมหัศจรรย์บางอย่าง นั่นคือ ทารกจะคลานไปบนร่างกายคุณแม่ เพื่อหาเต้านมในการดื่มนมค่ะ
การดูดนมครั้งแรกของทารก ถือเป็นการเรียนรู้และทำความรู้จักกับอกทารกน้อยบางคนอาจจะแค่ดมหรือเลีย บางคนก็ดูดเป็นในทันที คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะและไม่ต้องพยายามบีบบังคับให้ลูกดูดให้ได้อย่างถูกต้อง ในครั้งแรกที่เจอกันแค่การกอดและสัมผัสกันก็ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นแล้ว ลูกน้อยจะสามารถดูดนมได้เองภายในไม่ช้า
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
ท่าให้นมทารกแรกเกิด
สำหรับวิธีการเลี้ยงเด็กแรกเกิดแบบใหม่ จะใช้วิธีธรรมชาติ เพราะเป็นการใช้ประโยชน์จากจากพฤติกรรมโดยธรรมชาติของแม่ที่จะทำให้สามารถเลี้ยงลูกน้อยได้สำเร็จ อุปสรรคอย่างหนึ่งที่ขัดขวางการให้เริ่มให้นมลูกคือ ภาพในใจ เนื่องจากคุณแม่บางท่านอาจมีความคิดที่ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นข้อบกพร่อง วิธีการไม่ยากค่ะ
- คุณแม่ที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ในท่าสบาย ถ่ายเทน้ำหนักตัวไปที่ก้น
- จับทารกไว้ในอ้อมแขน พยายามอุ้มลูกให้ชิดลำตัวโดยที่ไม่มีช่องว่างระหว่างกัน โดยที่ใช้แขนคุณรัดส่วนหัว คอ และหลัง เพราะลูกจะดูดนมเร็วอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บได้ค่ะ
- จากนั้นหนูน้อยก็จะดูดนมด้วมริมฝีปากของคุณแม่เองค่ะ
ท่าอุ้มในนมลูก ฉบับคุณแม่มือใหม่
- ท่าอุ้มนอนขวางบนตักแม่ (Cradle Hold)
อุ้มลูกวางขวางไว้บนตัก ให้ท้ายทอยอยู่ที่แขนของคุณแม่ ปลายแขนของคุณแม่ช้อนไปที่ส่วนหลังและก้นของลูก ตะแคงตัวลูกเข้าหาเต้านมให้หน้าอกลูกและคุณแม่ชิดกัน มืออีกข้างพยุงเต้านม เป็นท่าที่อุ้มลูกไว้บนตัก มือและแขนประคองตัวลูกไว้ ให้ลูกนอนตะแคงเข้าหาตัวแม่ ศีรษะลูกอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย ท้ายทอยลูกวางอยู่บริเวณแขนของแม่ มืออีกข้างประคองเต้านมไว้
ท่านี้เหมาะสำหรับ : คุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
- ท่านอนขวางบนตักแบบประยุกต์ (Modified/Cross Cradle Hold)
อุ้มลูกน้อยวางไว้บนตักคล้ายท่าแรกแต่เปลี่ยนการวางมือของคุณแม่ โดยใช้มือด้านตรงข้ามกับเต้านมช้อนระหว่างท้ายทอยและคอของลูกแทนมืออีกข้างพยุงเต้านม
ท่านี้เหมาะสำหรับ : คุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดเช่นกัน และยังเหมาะสำหรับนำลูกเข้าอมหัวนม เพราะมือของคุณแม่ที่ประคองต้นคอและท้ายทอยของลูกไว้ จะช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะลูกให้เข้าหาเต้านมได้ดี
- ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Clutch Hold/Football Hold)
วางหมอนหนา ๆ ไว้ข้างลำตัวจัดตำแหน่งลูกน้อยให้อยู่บนหมอนให้ลำตัวของลูกน้อยอยู่ใต้แขนของคุณแม่ ใช้มือประคองที่ท้ายทอยคอ และส่วนหลังของลูกน้อยเหมือนอุ้มลูกฟุตบอลที่เหน็บไว้ข้างลำตัว
ท่านี้เหมาะสำหรับ : แม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเพราะตัวของลูกจะไม่ไปสัมผัสและกดทับแผลผ่าตัดที่หน้าท้องของแม่ คุณแม่ที่มีเต้านมใหญ่หรือลูกตัวเล็กเพราะลูกจะเข้าอมงับเต้านมได้ดีกว่า และคุณแม่ที่คลอดลูกแฝด เพราะสามารถให้ลูกดูดนมจากทั้งสองเต้าพร้อม ๆ กันได้
- ท่านอนตะแคง (Side Lying Position)
คุณแม่และลูกนอนตะแคงเข้าหากันศีรษะแม่สูงเล็กน้อย วางลูกให้ตำแหน่งปากอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านบนประคองเต้านมเพื่อนำหัวนมเข้าปากลูก เมื่อลูกดูดได้ดี สามารถขยับออก ประคองต้นคอและหลังได้
ท่านี้เหมาะสมสำหรับ : แม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องต้องการพักผ่อน หรือให้นมลูกเวลากลางคืน
- ท่าเอนตัว (Laid-back Hold)
คุณแม่นอนเอนตัวแล้ววางลูกไว้บนหน้าอก ใช้มือโอบลูกน้อยไว้ และให้ศีรษะลูกเอียงเล็กน้อยเพื่อป้องกันการปิดกั้นทางเดินหายใจ
- ท่าตั้งตรง (Upright or Standing Baby)
อุ้มลูกน้อยตั้งตรง ขาลูกคร่อมต้นขาคุณแม่ ศีรษะและลำตัวของลูกเอนเล็กน้อย ใช้มือประคองศีรษะของลูกและเต้านม
ท่าให้นมลูกแบบธรรมชาติ
ตำแหน่งการให้นมของท่าให้นมลูกแบบธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะว่าหากวางถูกตำแหน่งก็จะเป็นเหมือนการกระตุ้นให้ลูกน้อยได้คลานไปดูดนมได้อย่างแม่นยำ เพราะทันทีที่คุณแม่วางลูกน้อยลงบนตัวทารกน้อยจะรู้สึกถึงสัมผัสของแม่ และจะพยายามใช้มือ แขน เข่า และปลายเท้าในการคลานไปยังเต้านมของคุณแม่ค่ะ ซึ่งตอนนี้ให้คุณแม่พยายามควบคุมให้น้องดูดนมอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการคือ
- วางทารกอยู่บริเวณช่วงท้องบนตัวคุณแม่
- จากนั้นปล่อยให้ลูกคลานไปหายังเต้านม
ท่านี้ จะทำให้ลูกดูดนมได้คล่องขึ้น เนื่องจากน้ำหนักตัวของลูกที่กดทับลงบนเต้านมทำให้ลูกน้อยดูดนมแม่ได้ลึกนั่นเองค่ะ ซึ่งวิธีการนี้ไม่ใช่แค่เหมาะสำหรับเด็กเท่านั้น แต่ยังช่วยให้แม่สบาย สามารถเลี่ยงอาการเจ็บเต้านมจากการที่ลูกดูดนมผิดวิธี ดูดไม่เป็น
การให้นมลูกตามธรรมชาติสามารถใช้ได้กับเด็กทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก เพราะเด็กขาดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทั้งยังเป็นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ง่าย โดยการใช้ประโยชน์จากการตอบสนองทารกแรกเกิดถูกกระตุ้นด้วยแรงโน้มถ่วง
วิธีตรวจเช็กว่านมเกลี้ยงเต้าแล้ว
- เต้านิ่มทั้ง 2 ข้าง
- ไม่เจ็บเต้า
- บีบออกเป็นหยด ไม่พุ่ง
การอุ้มเรอหลังการให้นม
การอุ้มไล่ลมให้ลูกเรอ คุณแม่ควรทำทันทีหลังจากให้ลูกดูดนมเสร็จแล้วทุกครั้ง หรือทำให้ลูกเรอก่อนที่จะให้ลูกมาดูดนมอีกข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกสำรอกน้ำนมออกมาหลังจากได้นมแม่แล้ว โดยคุณแม่สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
- ท่าที่ 1 : การอุ้มเรอโดยการเอาลูกพาดบ่า
การไล่ลมในท่าอุ้มพาดบ่าให้คุณแม่อุ้มลูกโดยให้คางของลูกอยู่ที่บ่าของแม่ ใช้ฝ่ามือลูบหลังโดยลูบขึ้นจนได้ยินเสียงเรอ
- ท่าที่ 2 : การอุ้มเรอท่าเอาลูกนั่งบนตัก
การไล่ลมในท่านั่งบนตัก ให้โน้มตัวลูกมาด้านหน้าเล็กน้อย ใช้ฝ่ามือหนึ่งประคองใต้คางลูก อีกมือหนึ่งลูบหลังเบาๆจนได้ยินเสียงเรอ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
3 สัญญาณบอกว่า นมแม่ใกล้หมด หรือมีน้อยเกินไปแล้ว
รวมเทคนิคช่วยแม่มือใหม่ ท่าให้นมลูก การบีบน้ำนม ทำได้ตามนี้นมแม่มาแน่
ประสบการณ์เลี้ยงทารก 14 วันแรก ของแม่มือใหม่คนนี้
ที่มา: mothering.com , phukethospital.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!