ยาคุมกำเนิดแม่ให้นม แม่ต้องกินตัวไหน ลูกดูดนมแม่ปลอดภัย น้ำนมไม่หด ไม่ลดปริมาณ คุณแม่ที่เพิ่งคลอดน้องบางรายแค่ต้องปรับตัวสำหรับการเลี้ยงลูกก็เหนื่อยจะแย่แล้ว หากจะต้องตั้งท้องน้องคนต่อมาติด ๆ กันก็คงเริ่มคิดหนัก แถมอิทธิพลของฮอร์โมนจากการตั้งท้องยังทำให้ปริมาณน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกคนพี่ลดลงอีก ว่าแล้วคุณแม่ก็คงอยากจะเว้นระยะสักหน่อยใช่ไหมคะ เพราฉะนั้น มาทำความเข้าใจวิธีการคุมกำเนิดหลังคลอดและให้นมลูกดังต่อไปนี้กันนะคะ
วิธีการคุมกำเนิดหลังคลอด การใช้ ยาคุมกำเนิดแม่ให้นม
แม้ว่าการให้ลูกดูดนมจากเต้าเป็นการคุมกำเนิดโดยวิธีธรรมชาติ (LAM-Lactation Amenorrhea Method) เนื่องจากในขณะที่ลูกดูดนมแม่ระดับฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) จะสูงขึ้นทำให้ยับยั้งการตกไข่ คุณแม่ที่ให้ลูกดูดนมจากเต้าสม่ำเสมออย่างน้อยทุก 3-4 ชม. จะทำให้สามารถควบคุมการตกไข่ได้ถึง 95% โดยอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดคล้ายเลือดประจำเดือนได้หลาย ๆ เดือนโดยที่ยังไม่มีการตกไข่
แต่ถ้าคุณแม่ไม่ได้ให้นมลูก อาจเริ่มมีประจำเดือนได้ตั้งแต่วันที่ 20 ถึง 120 หลังคลอด (วันที่ 55 ถึง 60 โดยเฉลี่ย) โดยคุณแม่ที่เริ่มมีประจำเดือนเร็วหลังคลอดจะยิ่งเพิ่มโอกาสการตกไข่และการตั้งท้องได้ พบว่า ร้อยละ 52 ของคุณแม่หลังคลอดที่เริ่มมีประจำเดือนภายใน 60 วันหลังคลอดจะมีการตกไข่ร่วมด้วย
คุณแม่ให้นมควรให้ลูกกินยาคุมแบบไหน
ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานที่เหมาะกับคุณแม่ให้นมบุตรควรเป็นยาคุมกำเนิดที่มีเฉพาะฮอร์โมน Progestin ไม่ควรกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มี Estrogen รวมอยู่ เพราะจะมีผลค้างเคียงทำให้การผลิตน้ำนมลดลงได้ สำหรับคุณแม่ให้นมลูก มียาคุมสำหรับคุณแม่โดยเฉพาะ คือ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
ยาคุมชนิดฮอร์โมนเดี่ยวคืออะไร ?
เป็นยาคุมที่มี โปรเจสโตเจนอย่างเดียว เป็นยาคุมที่ทำมาเพื่อลดอาการข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้นมากขึ้น ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก เยื่อบุโพรงมดลูกบางลงและฝ่อไปจนไม่เหมาะกับการฝังตัว ช่วยลดการเคลื่อนที่ของไข่ตามท่อนำไข่ และยับยั้งไม่ให้ไข่ตกโดยการควบคุมแบบย้อนกลับ ยาคุมชนิดนี้มี 28 เม็ด กินได้ทุกวันไม่ต้องหยุด เมื่อกินหมดแล้วต่อแผงใหม่ได้เลย ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แต่ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอบ้าง
การทานยาคุมกำเนิดของแม่ให้นม
ดังนั้น เพื่อความมั่นใจคุณแม่ควรใช้วิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพโดยเร็วหลังคลอด ซึ่งก็มักจะคิดถึงวิธีการทานยาคุมกำเนิดเป็นอันดับแรกกันใช่ไหมคะ แต่ช่วงให้นมลูกจะต้องคัดเลือกชนิดยาคุมกำเนิดเป็นพิเศษหน่อยค่ะ เพราะถ้าคุณแม่ไปเลือกทานยาที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ก็จะทำให้ปริมาณและคุณภาพของนมแม่ลดน้อยลง
นอกจากนี้แล้ว ผลข้างเคียงที่สำคัญของฮอร์โมนเอสโตรเจน อีกอย่างคือไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น คุณแม่ที่ให้นมลูกควรเลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เพียงอย่างเดียว ซึ่งปัจจุบันที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่
ภาพจาก : https://pantip.com
ภาพจาก : https://www.bangkok.go.th
ภาพจาก : https://medthai.com
แนะนำให้คุณแม่หลังคลอดที่ประจำเดือนยังไม่มาและมั่นใจว่าไม่ตั้งท้อง เริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดทั้ง 3 ยี่ห้อนี้ได้ทันที
แม่หลังคลอดที่เริ่มมีประจำเดือน
สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่เริ่มมีประจำเดือนแล้วแนะนำให้เริ่มรับประทานเมื่อเริ่มมีประจำเดือนก็จะป้องกันการตกไข่ในรอบเดือนนั้นได้ แต่หากเริ่มรับประทานใกล้วันตกไข่จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยนะคะ
- เอกซ์ลูตอนและเดลิตอนมีตัวยาเหมือนกันคือ Lynestrenol 0.5 มก.จำนวน 28 เม็ด/แผง
- ส่วนซีราเซทมีตัวยา Desogestrel 0.075 มก.จำนวน 28 เม็ด/แผง
ด้านหลังแผงยาจะมีการเรียงลำดับลูกศรตามวันในสัปดาห์ วิธีการทานก็ให้คุณแม่เริ่มกินเม็ดที่ตรงกับวันนั้น ๆ และกินเม็ดถัดไปในวันถัดไปไล่เรียงไปตามลำดับลูกศรโดยกินทุกวันต่อเนื่องนะคะ ที่สำคัญคือพยายามกินให้ตรงเวลาทุกวัน
โดยเฉพาะถ้าเป็นยี่ห้อเอกซ์ลูตอนและเดลิตอนจะคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นยี่ห้อซีราเซทจะคลาดเคลื่อนได้นานกว่าหน่อยคือ 12 ชั่วโมง ถ้าคุณแม่กินผิดเม็ดก็ไม่เป็นไรค่ะเพราะยาทั้ง 3 ยี่ห้อจะมีเฉพาะเม็ดยาฮอร์โมนทั้ง 28 เม็ดไม่มีเม็ดแป้งที่เป็นยาหลอกเลย หลังทานแล้วอาจจะมีประจำเดือนกะปริดกะปรอย หรือไม่มีประจำเดือนเลยนะคะ
ข้อดีข้อเสียของยาคุมแม่ให้นมบุตร
ข้อดี ของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
- ไม่ค่อยทำให้เป็นสิวเป็นฝ้า
- ช่วยลดการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน
- ลดการเสียเลือดจากการเป็นประจำเดือน
- ไม่ลดปริมาณน้ำนมของคุณแม่ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะโปรเจสโตเจนจะไม่ยับยั้งการหลั่งน้ำนม และไม่ทำให้คุณภาพของน้ำนมเสื่อมลง
ข้อเสีย ของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
- ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวอาจทำให้มีเลือดออกกระปริบกระปอยได้
วิธีที่ไม่มีส่งผลต่อน้ำนม
- Condom (ถุงยางอนามัย) : เหมาะกับในรายที่ไม่ต้องการการใช้ฮอร์โมน มีเพศสัมพันธ์ ไม่บ่อย และต้องการคุมกำเนิดระยะสั้น
- Progestin-only pill (ยากินชนิด ฮอร์โมนเดี่ยว) : ยาคุมชนิดนี้สามารถรับประทานได้ในช่วงให้นมบุตรโดยที่ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำนมและสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมได้อีกด้วย วิธีการการรับประทานเหมือนกับยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม แต่อาจมีผลข้างเคียงในเรื่องเลือดออกกระปริดกระปรอย ระหว่างการรับประทานได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการลืมกินหรือเปลี่ยนช่วงเวลากินบ่อยๆ ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ 1 แผงประกอบด้วยยา 28 เม็ด แนะนำในเริ่มกินในช่วงวันที่ 21-28 หลังคลอดบุตร แต่หากกินหลังจากนั้น สามารถกินได้แต่ช่วง 7 วันแรกที่กินยาคุมกำเนิดชนิดนี้ หากมีเพศสัมพันธ์แนะนำให้คุมกำเนิดโดยการใช้ถุงยางร่วมด้วย ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีโรคตับ โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ และโรคลิ่มเลือดอุดตันแบบเฉียบพลัน
- ยาฉีดคุมกำเนิด (DMPA) : มี 2 ชนิดคือ แบบ1 เข็มคุมกำเนิดได้ 3 เดือน และแบบที่ 2 คือ 1 เข็มคุมกำเนิดได้ 1 เดือน ยาคุมชนิดนี้สามารถรับได้ในช่วงให้นมบุตรโดยที่ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำนม สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่ 6 สัปดาห์ภายหลังคลอดบุตร หรือ ภายใน 7 วันหลังมีรอบเดือนมา ข้อดีของการคุมกำเนิดแบบฉีดคือ ไม่มีปัญหาเรื่องการลืมกินยา คุมกำเนิดได้นานกว่ายาคุมชนิดกิน แต่อย่างไรก็ตามมีผลข้างเคียงคือ มีเลือดออกกระปริดกระปรอย หากใช้ไปนานๆจะทำให้ประจำเดือนไม่มา นอกจากมียังมีผลข้างเคียงทำให้มีน้ำหนักขึ้น มีฝ้า และหากใช้ในระยะยาวมีรายงานว่าทำให้ระดับคลอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในเลือดสูงขึ้นและมวลกระดูกบางลงได้ แต่อย่างไรก็ตามหากหยุดใช้มวลกระดูกที่บางลงสามารถกลับคืนมาได้
- Implant (ยาฝังคุมกำเนิด) : ยาคุมชนิดนี้ประกอบด้วยฮอร์โมน Progestin ชนิดเดียวดังนั้นจึงไม่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนม ยาฝังคุมกำเนิดมี 2 ประเภท คือ 1. ชนิด 1 หลอด (Nexplanon) คุมกำเนิดได้ 3 ปี และ 2. ชนิด 2 หลอด ( Jadelle) คุมกำเนิดได้ 5 ปี การฝังยาคุมจะฝังบริเวณท้องแขนด้านในเหนือข้อศอกเล็กน้อย ปกติแนะนำให้ฝังภายใน 5วันแรกของการมีประจำเดือน หรือภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด แต่ในกรณีที่เลย 6 สัปดาห์หลังคลอดแล้วแต่ประจำเดือน ยังไม่มา สามารถฝังยาคุมได้ แต่ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนทุกครั้งและภายหลังฝัง 7 วันควรคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่นใส่ถุงยางร่วมด้วย หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ การฝังยาคุมกำเนิด จะยังมีรอบเดือนมาตามปกติแต่อาจมาน้อยลงได้ และเมื่อครบกำหนดต้องมานำหลอดยาฝังออก
- IUD (ห่วงคุมกำเนิด) : ห่วงคุมกำเนิดในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ 1.ชนิดมีฮอร์โมน ( Levonogestrel IUD) : ห่วงคุมกำเนิดชนิดนี้สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2.ห่วงคุมกำเนิดชนิด Copper (Copper IUD) : ห่วงคุมกำเนิดชนิดนี้สามารถคุมกำเนิดได้ 10 ปี โดยช่วงเวลาที่ปลอดภัยในการใส่ห่วงคุมเกิดหลังคลอด คือ อย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอดบุตร เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ให้เรียบร้อยก่อนและลดโอกาสการทะลุจากห่วงคุมกำเนิด ส่วนผลข้างเคียงจากการใส่ห่วงคุมกำเนิดที่พบบ่อยได้แก่ ตกขาวที่มากขึ้น มีเลือดออกกระปริดกระปรอย ระหว่างรอบเดือน ประจำเดือนจะมาลดลง แต่การคุมกำเนิดชนิดนี้ไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนม
ขอให้คุณแม่โชคดีค่ะ มีลูกน้อยที่น่ารักได้ตามจังหวะที่ดีและเหมาะสมกับครอบครัวของตัวเองนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
8 สาระน่ารู้ เกี่ยวกับประจำเดือนหลังผ่าคลอด
การเก็บน้ำนมแม่ ถ้าเก็บไม่ดี ลูกก็แย่ได้เหมือนกัน
รวมไว้ให้กินตรงนี้ อาหารและสมุนไพร ที่ช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ ไม่ต้องไปหาอ่านที่ไหนแล้ว
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!