X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว เกิดจากสาเหตุใด ดูแลรักษายังไงดี

บทความ 5 นาที
ทารกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว เกิดจากสาเหตุใด ดูแลรักษายังไงดี

ลูกท้องเสีย ทารกท้องเสีย จะรับมือยังไงดี เครียดมาก ควรพาลูกไปหาหมอตอนไหนดี

อาการท้องเสีย ตามความหมายขององค์การอนามัยโลกนั้น จะดูจากความถี่ของการอุจจาระ และลักษณะของอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เช่น ทารกท้องเสีย ถ่ายเหลวบ่อย ถ่ายอุจจาระเป็นเนื้อเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง หรืออุจจาระเป็นน้ำปริมาณมาก 1 ครั้งขึ้นไป ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง เป็นต้น

 

ลูกถ่ายบ่อยผิดปกติไหม

อาการท้องเสีย ตามคำจำกัดความดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่รวมถึงทารกที่กินนมแม่นะครับ เพราะทารกที่กินนมแม่นั้น มักจะถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว แต่อุจจาระเป็นเนื้อดี แบบนี้ไม่อันตราย และไม่ได้เรียกว่า ทารกท้องเสีย

 

ท้องเสียคืออะไร

ท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบขับถ่าย ลักษณะอุจจาระทารกท้องเสีย คนที่ท้องเสียมักถ่ายเป็นน้ำเหลว และบางครั้ง อาจถ่ายเป็นมูกเลือด ซึ่งอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเกิดจาก การติดเชื้อทางเดินอาหาร หรือเกิดจากภาวะอาหารเป็นพิษเมื่อรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคอยู่เข้าไปในร่างกาย

 

ทารกท้องเสีย อาการเป็นอย่างไร

เด็กทารกท้องเสีย มักมีอาการ เช่น ไม่ร่าเริงสดใส ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้ง/วัน งอแง ปวดท้อง ไม่กินอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ เด็ก ๆ ยังอาจมีไข้อ่อน ๆ และอาเจียนได้ด้วยครับ

ทารกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว

ลูกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว ลูกท้องเสียทำไงดี ลูกท้องเสียมีมูก ลูกท้องเสียบ่อย ลูกท้องเสียทารก

Advertisement

ทารกท้องเสีย ท้องเสียในเด็ก เกิดจากสาเหตุใด

ด้วยความที่เด็กในวัยนี้ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และไม่รู้จักวิธีป้องกันตัวเอง อีกทั้งยังมีภูมิต้านทานโรคต่ำ จึงทำให้เด็กมีอาการท้องเสียได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ ทารกท้องเสีย กว่า 70% เกิดจากการที่เด็กได้รับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกายผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น

  • ได้รับเชื้อโรคเข้าไปทางปาก โดยการกินอาหารหรือดื่มนมผสมที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
  • อมของเล่นที่มีเชื้อโรค หรือหยิบจับเอาของเล่นเข้าปาก
  • มาจากมือของเด็กที่หยิบจับสิ่งของต่าง ๆ หรือเปื้อนเชื้อโรคตอนที่คลานเล่น

นอกจากนี้ อาการท้องเสียของเด็กอาจมาจากโรคที่ไม่ติดเชื้อ เช่น

  • การแพ้นมวัว
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ
  • ผลจากเนื้องอกบางชนิด
  • ผลจากยาปฏิชีวนะบางตัว

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง อาหาร 5 อย่าง บรรเทาอาการทารกท้องเสีย

 

ลูกท้องเสีย ทำอย่างไรดี รับมือยังไงได้บ้าง วิธีแก้อาการท้องเสียของทารก

สำหรับทารกที่กินนมแม่ หากถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว ก็ควรให้กินนมแม่ต่อไปเหมือนเดิม และควรให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นกว่าปกติ ส่วนเด็กที่กินนมผสมก็ยังสามารถให้กินนมผสมได้ตามปกติ ส่วนเด็กโตที่มีอาการท้องเสีย ควรให้กินอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย อย่างเช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊ก โดยอาจจะต้องให้ลูกกินบ่อยกว่าปกติ

ที่สำคัญคือไม่ควรให้เด็กกินยาหยุดถ่าย เพราะอาจจะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค รวมถึงยังอาจทำให้เกิดปัญหาลำไส้ไม่ทำงาน ทำให้ท้องอืด อาเจียน และกินอาหารไม่ได้ และในกรณีของเด็กโต คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากร่างกาย ด้วยการให้ลูกกินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับให้กินอาหารที่มีคุณค่าทาง โภชนาการ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 – 3 วัน หรือมีข้อบ่งชี้อื่นๆ ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกท้องเสีย ขาดน้ำ จนเสียชีวิต เรื่องสุดเศร้า ลูก 4 เดือนเสียชีวิต

 

ลูกท้องเสีย

ท้องเสียในเด็ก แบบไหน ที่ควรไปพบแพทย์ เมื่อไหร่ควรพาลูกไปหาหมอ

หากลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที

  • ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำบ่อย หรือมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
  • ฉี่เป็นสีเข้ม ซึ่งเป็นอาการขาดน้ำ
  • อุจจาระเป็นมูก หรือมูกเลือด
  • ไม่ยอมกินนมหรือกินอาหาร
  • อาเจียนบ่อย
  • มีไข้สูง หรือมีอาการชัก
  • หายใจหอบลึก
  • ปากแห้ง
  • หัวใจเต้นรัว

 

วิธีการที่จะป้องกันโรคท้องเสียได้ดีที่สุดก็คือการให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก นอกจากนี้ ยังต้องใส่ใจเรื่องการรักษาความสะอาด ไม่เพียงแต่ความสะอาดของเด็กนะครับ แต่ยังรวมไปถึงพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู ที่ต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ รวมไปถึงการทำความสะอาดขวดนม และจุกนม ส่วนในเด็กโตที่กินอาหารแข็งได้แล้ว ต้องเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ มีภาชนะปิด และควรทำความสะอาดภาชนะที่ใส่อาหารให้สะอาดอยู่เสมอ และอย่าลืมล้างมือให้ลูกอยู่เสมอนะครับ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

ลูกเป็นโรต้า ท้องเสีย มีไข้ เชื้อโรคร้ายที่รุนแรง โรต้าไวรัส (Rotavirus) มีอะไรบ้าง

ไม่ง้อนม แม่ท้องกินนมไม่ได้ กินนมแล้วท้องเสีย ไม่ชอบกินนม แล้วกินอะไรแทนดี

ลูกท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ ท้องร่วง ถ่ายเหลว รับมืออย่างไรดี

ที่มา : pobpad , thaipediatrics , bangpakok3

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทารกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว เกิดจากสาเหตุใด ดูแลรักษายังไงดี
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว