วิธีเลือกของเล่นให้ลูก
ไม่ใช่แค่ความสวยงาม น่ารัก น่าเล่นเท่านั้น ! พ่อแม่ต้องรู้ วิธีเลือกของเล่นให้ลูก เด็กจะได้เล่นอย่างสมวัย เรียนรู้เติบโตได้อย่างฉลาดรอบรู้
นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ แนะนำพ่อแม่ว่า กิจกรรมที่เหมาะสม ทำให้ลูกมีพัฒนาการ เพิ่มความมั่นใจในตัวเองที่ดี คือ “การเล่น” กับลูก โดยพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ควรเป็นเพื่อนเล่นคนแรกของลูก และมักจะเป็นผู้ที่เด็กชอบเล่นด้วยมากที่สุด การเล่นกันในครอบครัวเป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ทั้งยังเป็นพื้นฐานของการอ่านเขียน เรียนรู้ พ่อแม่สามารถเล่นกับลูกได้ตั้งแต่ วัยทารก
- วัยทารก เด็กทารกจะเล่นด้วยการขยับแขน ขา ตัวเอง มองสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
- พอโตขึ้น จะเริ่มคว้าของเล่นเอง
- การเล่นของเด็กจะเปลี่ยนแปลงไปตามวัย โตขึ้นมาจะชอบเล่นสมมติ
- เล่นเกมที่มีกฎกติกามากขึ้น จะช่วยฝึกลูกในเรื่องจินตนาการ การแก้ไขปัญหาการอยู่ร่วมกับคนอื่น
นพ.สมเกียรติ บอกด้วยว่า ในช่วงปิดเทอมลูก ๆ มีเวลาอยู่กับ พ่อแม่ ผู้ปกครองมากกว่าช่วงเปิดเทอม จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะในการเพิ่มเวลาคุณภาพกับลูกได้มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างสัมพันธภาพกับลูก ช่วงที่พ่อแม่ไม่ว่าง อาจปล่อยให้เป็นช่วงที่เด็กสามารถเล่นตามลำพังได้ ทั้งนี้ การเลือกของเล่นสำหรับเด็กมีความสำคัญ ของเล่นที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง สลับซับซ้อน เด็กจะสนใจคือ ของรอบตัว เช่น ของใช้ในบ้านกล่องผ้า ถังซักผ้า ไม้กวาด นำสิ่งเหล่านี้มาเล่น ซึ่งของเล่นทุกชิ้นสามารถพัฒนาสติปัญญาของเด็กได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : มาดูประโยชน์จาก ของเล่นฝึกประสาทสัมผัส ดีต่อใจลูก ถูกใจแม่แน่นอน
5 วิธีเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับลูก
พญ.ถิรพร ตั้งจิตติพร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เสริมว่า เด็กแต่ละคนมีความสนใจที่แตกต่างกันไป การเลือกของเล่นสำหรับเด็กจึงไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งของเล่นที่พ่อแม่เห็นว่าเหมาะกับลูก เด็กอาจไม่สนใจ อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ควรเลือกของเล่นให้เหมาะ ซึ่งของเล่นที่ดีควรจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ปลอดภัย นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ต้องหมั่นตรวจสภาพของเล่น อันตรายแก่เด็กดูความเหมาะสมกับพัฒนาการ เช่น เด็กเล็ก จะชอบเอาของเข้าปาก เข้าจมูก ก็ต้องเลือกของเล่นที่ไม่ใช่ขนาดเล็กเป็นต้น
- เหมาะสมกับวัย ทารก : ของเล่นที่เพิ่มการรับรู้ ทางประสาทสัมผัส เช่น มีเสียงมองคว้าได้ สัมผัสได้ เด็กเล็ก : ชิ้นไม่เล็กเกินไป มีการเคลื่อนไหว เด็กโต : เริ่มมีกลไกมากขึ้น ของเล่นที่ฝึกแก้ปัญหา
- เล่นได้หลากหลายวิธี เช่น ตัวต่อ ไม่บล็อก เกมกระตุ้นเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาแก่เด็ก และไม่ทำให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อง่าย
- ราคาไม่แพงเกินไป เหมาะสมกับเด็ก เพราะเด็กยังไม่สามารถรักษาของบางอย่างที่ราคาแพง ร่วมกับเด็กยังมีความสนใจสั่น อาจเบื่อง่ายและทำให้ พ่อแม่ ต้องเปลี่ยนของบ่อย ๆ
- เลือกของเล่นที่มีประโยชน์ และที่จะไม่สร้างความขัดแย้ง แก่พ่อแม่และเด็ก ปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ที่พ่อแม่จะเลือกซื้อ Tablet ให้ลูกและไม่กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ก่อน พอลูกเริ่มต่อ พ่อแม่ให้หยุดเล่น ก็เกิดปัญหาอารมณ์กัน ดังนั้น ทางพ่อแม่คิดว่าสามารถ ควบคุมการเล่นได้ ก็สามารถซื้อให้ได้ แต่หากคิดว่าเป็นเรื่องยากในการควบคุม ก็ให้ชะลอการซื้อให้ลูกไว้ก่อน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
ประเภทวัสดุของเล่น สำหรับเด็ก
- ตุ๊กตาผ้า ควรเลือกที่มีฉลากสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลาก GS ฉลากเขียว และฉลากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อป้องกันสารเคมีที่เป็นพิษต่อเด็กเล็ก นอกจากนี้ของเล่นประเภทตุ๊กตาผ้าควรนำไปซักและตากให้แห้งก่อนนำมาให้ลูกเล่น เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ
- ของเล่นไม้ ข้อควรระวังสำหรับวัสดุประเภทนี้คือ หากมีกาวเป็นส่วนประกอบอาจเป็นแนวโน้มที่มีสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ สารชักเงา สีที่มีตะกั่ว และสารโลหะหนักอื่น ๆ ทางที่ดีควรเลือกของเล่นไม้เรียบ ๆ ที่ไม่ได้ทาสีจะปลอดภัยกว่า
- ของเล่นประเภทพลาสติก ควรมองหาฉลาก “ปลอดพีวีซี PVC-Free” หรือ “ปลอดสารพาทาเลต Phathalate-Free” และ BPA Free หรือ การปลอดสาร BPA ซึ่งเป็นสารเคมีพิษ มีผลต่อสุขภาพในช่วงการตั้งครรภ์ และการพัฒนาการในเด็ก
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรเอาใจใส่กับการเลือกซื้อของเล่นให้ลูกหลาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาการเด็ก ทารกตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปี
ตารางเลี้ยงเด็ก วัย 0-1 ปี บอกหมดไม่มีกั๊ก นอนกี่ชั่วโมง กินนมบ่อยแค่ไหน
ทำไมการ กล่อมทารกให้หลับ ถึงเป็นเรื่องยากเย็น จัดการให้ลูกน้อยนอนยาวตลอดคืนได้ยังไง
ที่มา : thaihealth.or.th , consumerthai.org
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!