แม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้มั๊ย
ถกเถียงกันใหญ่ อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม คลอดธรรมชาติอยู่ไฟได้อยู่แล้ว แม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้มั๊ย มีข้อควรระวังของการอยู่ไฟอย่างไรบ้าง
ข้อมูลอยู่ไฟหลังคลอด
การอยู่ไฟหลังคลอด เป็นวิถีการดูแลสุขภาพในแม่หลังคลอดของคนสมัยก่อน หลัก ๆ จะช่วยฟื้นฟูร่างกายที่เหนื่อยล้าอ่อนเพลียจากการคลอดลูก ซึ่งจะใช้ความร้อนเข้าช่วยให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นบริเวณหลัง และขา ที่เกิดจากการกดทับในช่วงตั้งครรภ์ ได้คลายตัว และลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ขั้นตอนการดูแลสุขภาพด้วยการอยู่ไฟหลังคลอด
- การใช้ลูกประคบสมุนไพร ด้วยการนำลูกประคบร้อนที่ห่อด้วยสมุนไพรต่าง ๆ เช่น ขมิ้น ตะไคร้ ใบส้มป่อย การบูร ฯลฯ มาคลึงตามบริเวณร่างกาย และเต้านม เพื่อช่วยลดการปวดเมื่อย
- การอาบน้ำต้มสมุนไพรอุ่นๆ ที่ประกอบไปด้วยไพล ขมิ้น ตะไคร้ มะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย เพื่อให้สมุนไพรซึมผ่านผิวหนังช่วยให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า
- การทับหม้อเกลือ คือการนำเอาเกลือเม็ดใส่ในหม้อดินยกตั้งไฟจนเกลือสุก แล้วห่อด้วยใบพลับพลึง และผ้า แล้วนำมาประคบตามร่างกาย ซึ่งความร้อนจากหม้อเกลือจะช่วยให้รูขุมขนเปิด สมุนไพรจะซึมผ่านลงผิวหนัง เป็นการขับของเสียออกมาตามรุขุมขน
- การอบตัวด้วยกระโจมสมุนไพร จะช่วยให้รูขุมขนเปิดเพื่อขับของเสียออกมา

เครดิตภาพ : https://xfile.teenee.com/
ประโยชน์ของการอยู่ไฟหลังคลอด
- ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดภายในร่างกาย
- ช่วยลดภาวะความรู้สึกหนาวภายในร่างกาย ที่บางคนแค่ฝนตั้งเค้าก็หนาวเข้ากระดูกแล้ว
- ช่วยลดอาการอ่อนเพลียจากการเสียเลือดในช่วงคลอดลูก
- ช่วยลดการปวดเมื่อยตามข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย
- ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพดี
- ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรค
- ช่วยปรับสมดุลภายในร่างกายให้เข้าที่เป็นปกติ
- ช่วยให้หน้าท้องยุบเร็ว
- ช่วยลดความเจ็บปวดขณะมดลูกหดรัดตัวเข้าสู่ภาวะปกติ หรือที่เรียกว่ามดลูกเข้าอู่
หาคำตอบ การอยู่ไฟของแม่ผ่าคลอด ในหน้าถัดไป
แม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้มั๊ยหรืออยู่ไฟได้เฉพาะแม่คลอดธรรมชาติ
คำตอบ : แม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้ค่ะ เพียงแต่ต้องรอให้แผลผ่าตัดหาย
ผ่าคลอด อยู่ไฟได้ตอนไหน
คำตอบ : แม่หลังคลอดที่ผ่าคลอด ยังไม่สามารถอยู่ไฟได้ทันที ต้องรอให้แผลผ่าตัดหาย และแผลแห้งสนิทเสียก่อน อย่างน้อย ๆ 1 เดือนขึ้นไป เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าตัดเกิดการอักเสบขึ้นมาขณะที่อยู่ไฟหลังคลอด
ข้อควรระวังสำหรับการอยู่ไฟ
สำหรับแพทย์แผนปัจจุบัน คุณหมอหลาย ๆ ท่าน ไม่ได้มองว่า การอยู่ไฟเป็นสิ่งจำเป็น ที่สำคัญ ถ้าทำไม่ถูกวิธี อาจเกิดอันตรายต่อตัวแม่เอง เช่นเดียวกับกรณีหญิงชาวพม่าที่อยู่ไฟ แต่เกิดสำลักควันไฟเสียชีวิต ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อหลายปีก่อน ดังนั้น แม่ ๆ ต้องระมัดระวังตัวเอง อย่าอยู่ในที่ปิดมิดชิดเกินไปจนไม่มีการระบายของอ็อกซิเจน ควรมีการระบายอากาศจะได้ลดการสูดดมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากควันซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สำลักได้
ทางการแพทย์เองให้เหตุผลว่า ปัจจุบันหลังคลอดไม่จำเป็นต้องอยู่ไฟ เพื่อขับน้ำคาวปลา หรือให้มดลูกหดตัว เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่ตั้งครรภ์มักคลอดในสถานพยาบาล จะได้รับการฉีดยา “ออกซิโทซิน” หรือยาเร่งคลอดอยู่แล้ว มีผลให้มดลูกบีบและหดตัวแล้วหลังคลอด หรือหากมีการเสียเลือดมากขณะคลอด ก็จะมีการฉีดยานี้ร่วมกับการให้เลือดด้วย
ผ่าคลอด อยู่กระโจม ก็เป็นทางเลือกที่ดี
ส่วนการขับน้ำคาวปลานั้น ตามปกติร่างกายของผู้หญิงก็มักจะมีการขับน้ำเมือกเหล่านี้ตั้งแต่คลอด ดังนั้น คุณแม่หลังคลอดต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จำพวกสมุนไพร เช่น หัวปลี ขิง ขมิ้น ช่วยขับลม
อย่างไรก็ตาม การอยู่ไฟในปัจจุบันก็ไม่ควรนานเกิน 2-3 สัปดาห์ และควรอยู่แบบกระโจมจะดีที่สุด เพราะเป็นการคลุมอบสมุนไพรเฉพาะร่างกายเหลือศีรษะไว้ ทำให้ไม่ได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการสูดดม
ที่มา : https://www.thaihealth.or.th/Content
ถ้าหากคุณเป็นคุณแม่สายโซเชียล ชอบเล่น Facebook หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ขอเชิญมาร่วม join กรุ๊ป เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ ใน คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club) กันได้นะคะ

เคลียร์ทุกข้อสงสัย เจาะลึกทุกประเด็นของคุณแม่ผ่าคลอด
ค้นหาคำตอบกันได้ที่ “คลับแม่ผ่าคลอด” คลิก!!https://bit.ly/32T4NsU
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทำไมจึงหนาวสั่นหลังคลอด ที่หนาวใน เพราะไม่ได้อยู่ไฟจริงไหม?
ไขข้อข้องใจ การอยู่เดือน อยู่ไฟ หลังคลอด เป็นเรื่องเดียวกันหรือต่างกัน?
5 สัญญาณอันตราย เกิดอะไรหลังผ่าคลอดที่ควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!