ตุ่มขาวในปากทารก คืออะไร ศาสตราจารย์ นพ. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช อธิบายถึงตุ่มขาวในปากทารกไว้ว่า ตุ่มขาวในปาก ที่กลางเพดานปากของทารกแรกเกิดอาจมีเม็ดสีขาวขนาดเท่าหัวหมุด เรียกว่า Epithelial pearl หรือ Epstein pearl ซึ่งเป็นภาวะปรกติของทารกแรกเกิด อาจมีจำนวนมากน้อยต่างกัน ตุ่มเล็ก ๆ นี้ไม่ทำให้ทารกไม่ดูดนมและจะหลุดไปเอง อาจพบตุ่มขาวลักษณะนี้ที่เหงือกซึ่งเรียกชื่อต่างกันว่า Bohn nodule ที่หัวนมและปลายอวัยวะเพศชาย ซึ่งเรียกว่า Epidermal inclusion cyst คนสูงอายุเรียกสิ่งที่มีสีขาวในปากของทารกว่า “หละ” และเชื่อว่าทำให้ทารกไม่ดูดนม หากเป็น Epithelial pearl จะให้รักษาโดยการขยี้หรือบ่งออกโดยใช้นิ้วหรือเข็มที่ไม่สะอาดซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ หากเป็นเชื้อรามักเชื่อว่าต้องใช้ผ้าอ้อมที่เปียกปัสสาวะของทารกเช็ดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งเพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อจากปัสสาวะ
สำหรับการติดเชื้อราในปากทารกซึ่งพบได้บ่อยรองลงมาและมักพบในเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่ จะพบบนเพดานปาก กระพุ้งแก้มทั้งสองข้างและลิ้น โดยจะมีตุ่มขาวนูนเต็มไปหมด บางครั้งรวมกันเป็นปื้นเชื้อราภายในปากนี้จะทำให้ลูกเบื่อนม อาจจะเนื่องจากการอักเสบภายในปากได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกเป็นแผลร้อนใน สาเหตุเกิดจากอะไร หาวิธีแก้อย่างไรดี?
เมื่อมีตุ่มขาวในปากทารกต้องทำอย่างไร
พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบีเอ็นเอช กล่าวว่า ตุ่มขาวในปากทารกเกิดจาก เซลล์เยื่อบุในช่องปากมากระจุกรวมตัวกัน พบได้ 80% ของทารกแรกเกิด ตุ่มนี้ไม่ทำให้ทารกเจ็บ และ ไม่เป็นปัญหาในการดูดนมแต่อย่างใด จะหลุดไปเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ เพราะถูกเสียดสีเวลาดูดนม ไม่ต้องรักษาแต่อย่างใด อย่าไปบ่ง หรือ ใช้ของแข็งที่ไม่สะอาดไปขูดให้แตก หรือ พาไปกวาดคอ เพราะจะทำให้ติดเชื้อจากความสกปรก
สำหรับเชื้อราภายในปากทารกการดูแลรักษาควรใช้ยาสีหมึก (gentian violet) ทาภายในปากของลูกวันละ 1-2 ครั้ง เป็นเวลา 10 วันจะรักษาโรคนี้ได้และจะทำให้ลูกกลับมาดูดนมได้ดีดังเดิม
ไขข้อข้องใจเรื่องตุ่มขาวในปากทารกกันแล้วนะคะ สิ่งสำคัญควรดูแลในเรื่องความสะอาด หากเกิดตุ่มขาวในปากควรปฏิบัติตามที่คุณหมอแนะนำเพื่อความปลอดภัยจะดีที่สุด
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.pstip.com
https://www.bloggang.com
https://www.facebook.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เริ่มระบาดอีก! โรคเฮอร์แปงไจน่า โรคน่ากลัวกลุ่มเดียวกับ มือ เท้า ปาก
การดูแลช่องปากและฟันสำหรับเด็ก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!