อุ้งเชิงกรานแคบ คนท้องคลอดเองได้ไหม
อุ้งเชิงกรานคืออะไร
กระดูกอุ้งเชิงกรานแคบ อุ้งเชิงการแคบ คนท้องคลอดเองได้ไหม
กระดูกเชิงกรานเป็นโครงสร้างหลักที่ห่อหุ้มช่องทางคลอดอยู่เป็นตัวกำหนด ลักษณะช่องทางคลอด อุ้งเชิงกราน เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างช่องท้องกับขาของคุณแม่ ในอุ้งเชิงกรานของผู้หญิงทุกคนประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่ มดลูก ปากมดลูก ปีกมดลูก รังไข่ โดยมีอุ้งเชิงกรานทำหน้าที่พยุงค้ำจุนอวัยวะภายในเหล่านี้ไว้
รู้ไหม!!!รูปร่างของคนท้องมีผลต่อขนาดของอุ้งเชิงกรานนะ
กระดูกอุ้งเชิงกรานแคบ อุ้งเชิงการแคบ คนท้องคลอดเองได้ไหม
1. ในผู้หญิงที่มีรูปร่างสูงโปร่ง กระดูกเชิงกรานมักจะผายและโค้งดี ช่องคลอดมักจะกว้าง ทำให้สามารถคลอดเองได้
2. ในผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ย มีผลคือ ช่องคลอดจะสั้นซึ่งน่าจะดีว่าระยะทางผ่านของทารกย่นระยะลง แต่ความจริงแล้วผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ยกระดูกเชิงกรานมักจะเล็กและสอบเข้าหากันทำให้ช่องคลอดแคบ ดังนั้น เมื่อเชิงกรานแคบทำให้ช่องคลอดแคบตามไปด้วย โดยเฉลี่ยผู้หญิงที่มีความสูงน้อยกว่า 150 เซนติเมตร ถือว่าต้องระวัง ในขั้นตอนการคลอดทารกอาจคลอดออกมาติดหัวไหล่ ทำให้การคลอดทุลักทุเล อาจส่งผลร้ายทำให้ทารกพิการหรือเสียชีวิตได้
ดังนั้น รูปร่างของคุณแม่จึงเป็นตัวทำนายว่าสามารถคลอดเองได้หรือไม่ ยิ่งตัวสูงยิ่งได้เปรียบ แต่ถ้าสูงและอ้วนประกอบกันแบบนี้ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในการคลอดได้เหมือนกันนะคะ
อุ้งเชิงกรานทำงานตอนคลอดอย่างไร
กระดูกอุ้งเชิงกรานแคบ อุ้งเชิงการแคบ คนท้องคลอดเองได้ไหม
อุ้งเชิงกรานของคนท้องมีความสำคัญต่อการคลอดโดยตรงค่ะ เมื่อใกล้คลอดกระดูกเชิงกรานนี้จะสามารถยืดขยายออกจากกันได้เล็กน้อย จึงทำให้ช่องคลอดกว้างขึ้นทำให้คนท้องมีความรู้สึกปวดหัวเหน่าได้ การทำงานของข้อต่อเชิงกราน จะถูกยึดโยงด้วยเส้นเอ็นต่าง ๆ ที่จะช่วยในการเคลื่อนไหว เส้นเอ็นเหล่านี้จะมีความไวต่อฮอร์โมนรีแลกซิน ซึ่งถูกสร้างขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ดังนั้น ฮอร์โมนรีแลกซินจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและทำให้มีการเคลื่อนไหวต่ออุ้งเชิงกราน
อุ้งเชิงกรานแคบเป็นอย่างไร
กระดูกอุ้งเชิงกรานแคบ อุ้งเชิงการแคบ คนท้องคลอดเองได้ไหม
ความผิดปกติของช่องทางคลอดและกระดูกเชิงกราน (Bony passage) มีสาเหตุมาจากช่องเชิงกรานผิดปกติ ที่พบได้บ่อย คืออุ้งเชิงกรานแคบ แบ่งออกเป็น
1. แคบที่ช่องทางเข้า เส้นผ่าศูนย์กลางของช่องทางเข้า น้อยกว่า 10 เซนติเมตรเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวขวาง น้อยกว่า 12 เซนติเมตร ทำให้ศีรษะทารกเกิดคลอดไม่ได้ มักพบถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รวมไปถึงท่าการคลอดของทารกอยู่ในท่าผิดปกติเช่น ท่าก้น ท่าขวาง เป็นต้น
2. แคบที่ส่วนกลาง ระยะห่างของปุ่มกระดูกสองข้างระหว่างอุ้งเชิงกราน น้อยกว่า 9.5 เซนติเมตร
3. แคบที่ช่องทางออก ระยะห่างน้อยกว่า 8 เซนติเมตร และมุมใต้กระดูกหัวหน่าวแคบน้อยกว่า 85 องศา มักพบร่วมกับแคบที่ส่วนกลาง และส่งผลให้ฝีเย็บมีการฉีกขาดเพิ่มขึ้น
4. เชิงกรานแคบแบบผสม มักพบในคนท้องที่มีประวัติกระดูกเชิงกรานหัก หรือบิดเบี้ยว อาจเกิดจากสาเหตุเนื้องอกของมดลูก มะเร็งปากมดลูก ปากมดลูกผิดปกติ ช่องคลอดตีบหรือแคบ เป็นต้น
5. ความผิดปกติที่ตัวทารก รก และน้ำคร่ำ เช่น ส่วนนำผิดปกติ ทารกมีขนาดใหญ่ มีความพิการ รูปร่างผิดปกติ รกเกาะต่ำเป็นต้น
ไขข้อข้องใจ : อุ้งเชิงกรานแคบ คนท้องคลอดเองได้ไหม
คงเป็นปัญหาคาใจสำหรับแม่ท้องที่ตั้งใจจะคลอดลูกเองตามธรรมชาติ แต่ตอนนี้ทารกน้อยในครรภ์คุณหมอแจ้งว่า ทารกตัวใหญ่ แล้วแบบนี้จะคลอดเองได้หรือไม่
1. ตามปกติแล้วอุ้งเชิงกรานของคนท้องจะมีการขยับขายขึ้นในช่วงไตรมาสที่สาม เพื่อเตรียมเปิดทางให้ทารกคลอดออกมาได้
2. หากคุณแม่ที่มีอุ้งเชิงกรานแคบ และมีความประสงค์อยากจะคลอดเองนั้นสามารถคลอดแบบธรรมชาติได้ค่ะ เพียงแต่ทารกในครรภ์อาจจะต้องตัวเล็ก มีขนาดไม่เกิน 3000 กรัม และปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญ คือ มีลมเบ่งเก็บแรงเบ่งได้ดีมาก ลูกตัวไม่ใหญ่มาก ก็สามารถคลอดเองได้ แต่คุณแม่ต้องอึดและอดทนมากค่ะ และถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ก็สามารถคลอดเองได้ค่ะ
3. คุณหมอจะพิจารณาจากลักษณะของอุ้งเชิงกรานหรือดูทางออกของทารกนั่นแหละค่ะว่า พร้อมจะคลอดเองได้หรือไม่ เช่นมีกระดูกส่วนก้นกบแหลมยื่นออกมา หรือว่าส่วนกระดูกเชิงกราน 2 ข้างแหลมเข้าไป แล้วก็แคบผิดปกติ ซึ่งจะสามารถรู้ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ตรวจภายใน คือ มีส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางด้านหน้า และหลังน้อยกว่า 10.5 เซนติเมตร
กรณีนี้แม่ตั้งครรภ์ต้องผ่าคลอดอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถใช้เครื่องมือช่วยได้ เพราะจะอันตรายมาก เนื่องจากเวลาใส่เครื่องมือเข้าไป ในจังหวะที่ใช้เครื่องมือดูด หรือคีบอาจกระทบต่อ สมองของลูกจะเกิดอันตรายได้ ดังนั้น หากประเมินได้ตั้งแต่แรกก็ควรตัดสินใจผ่าตัดเลย ไม่ต้องเสี่ยงให้เกิดอันตรายกับลูก
4. ขนาดของทารกและท่าทารกในการคลอด มีตั้งแต่ ตัวลูกโตเกินไป ท่าของลูกไม่ถูกต้อง เช่น ลูกอยู่ในท่าขวาง คือ ทารกอยู่ในท่านอนขวางท้อง ท่าก้น หรือเป็นท่าศีรษะ แต่ว่าลูกไม่ยอมก้ม แหงนหน้าออกมา หรือว่าเอียง ก็จะทำให้คลอดยาก ซึ่งกรณีเช่นนี้สามารถคาดการณ์ได้จากการอัลตราซาวด์ และการตรวจภายในว่า กระดูกเชิงกรานแคบหรือไม่ รวมถึงแนวโน้มท่าคลอดของลูก ส่วนกรณีอื่นที่อาจเกิดขึ้นคงต้องอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอขณะที่ทำคลอดค่ะ
บทความแนะนำ จำเป็นหรือไม่? คนท้องต้องอัลตราซาวด์
Tip : ท่าบริหารอุ้งเชิงกรานสำหรับคนท้อง
– Extended Kegel exercise : ขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่เรียกกันว่ากล้ามเนื้อพีซี เหมือนคุณพยายามหยุดน้ำปัสสาวะ ให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นเวลา 5 วินาที ทำแบบนี้ซ้ำกัน 10 ถึง 20 ครั้งต่อวัน วันต่อ ๆ ไปพยายามยืดเวลาออกไปจาก 5 วินาทีไปเรื่อย ๆ เป็น 10 วินาที ต่อมาก็ค่อย ๆ เพิ่มเป็น 20 วินาที
– Pulsing Kegel : ขมิบกล้ามเนื้อพีซีและคลายกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว คุณสามารถบริหารลักษณะนี้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ คุณสามารถปรับความเร็วได้แต่อย่างน้อยต้องมีการขมิบหนึ่งครั้งต่อวินาที
– Elevator Kegel: นี่เป็นการบริหารแบบเคเกิ้ลขั้นสูงซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นอย่างมาก ขมิบกล้ามเนื้อพีซีแล้วค่อย ๆ เพิ่มความแน่นขึ้นในขณะที่พยายามดึงกล้ามเนื้อขึ้นเหมือนลิฟท์ที่กำลังขึ้น จากนั้นค่อย ๆ ลดความแน่นลงเหมือนกับลิฟท์ที่กำลังเลื่อนลงมา
– คุณสามารถรวมการบริหารนี้เข้ากลับการบริหารแบบ Pulsing Kegel (คือระหว่างที่คุณกำลังดึงกล้ามเนื้อให้ตึง ก็ให้ขมิบกล้ามเนื้อพีซีแบบ Pulsing Kegel)
ได้ทราบกันแล้วนะคะว่า อุ้งเชิงกรานแคบคนท้องจะคลอดเองได้ไหม มีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ ควรดูแลสุขภาพระมัดระวังอย่าให้น้ำหนักขึ้นมากเกินไปส่งผลให้ทารกตัวใหญ่ มีผลกระทบต่อการคลอดแน่นอนหากคุณแม่มีอุ้งเชิงกรานแคบ แต่อย่างไรก็ตามคุณหมอจะวินิจฉัยให้ได้ค่ะว่าจะสามารถคลอดเองได้หรือไม่
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://healthtipsing.com
https://my.dek-d.com
https://th.theasianparent.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลดปวดก่อนคลอดแบบไหน ไม่ต้องใช้ยา
เหตุผลที่ควรเลือกการคลอดแบบธรรมชาติ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!