สารเคมีในชีวิตประจำวันที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง ถ้าไม่อยากเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น มักจะเกี่ยวข้องกับสารเคมีอยู่เสมอ ๆ บ้างก็มีฤทธิ์อ่อน ๆ บ้างก็ฤทธิ์รุนแรง หากใช้สารเคมีผิดประเภท อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ ยิ่งต้องระวังสารเหล่านี้เป็นพิเศษ เนื่องจากอาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ ดังนั้น แม่ท้องควรรู้ว่า สารเคมีในชีวิตประจำวันที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง และส่งผลร้ายแรงแค่ไหน
คนเรามัก จะเกี่ยวข้องกับสารเคมีอยู่เสมอ บ้างก็มีฤทธิ์อ่อน ๆ บ้างก็ฤทธิ์รุนแรง
จากการศึกษาของ Winthrop University Hospital and Kaiser Permanente Southern California พบว่า แม่ท้องที่มีระดับของสารเคมีพลาสติก (Bisphenol A หรือ BPA) ในโลหิตสูงขึ้น มีแนวโน้มที่จะคลอดก่อนกำหนด
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Ramkumar Menon มหาวิทยาลัย The University of Texas Medical Branch (UTMB) สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “ผู้หญิงมีการสัมผัสสาร BPA อย่างต่อเนื่อง เพราะมันใช้ในการผลิตและการเคลือบผิวของภาชนะบรรจุอาหาร และมันสามารถปนเปื้อนลงไปในอาหารได้ เมื่อได้รับความร้อนจากเตาไมโครเวฟ หรือแหล่งความร้อนอื่น ๆ”
แม่ท้องที่มีระดับ ของสารเคมีพลาสติกในเลือดสูงขึ้น มีแนวโน้มที่ จะคลอดก่อนกำหนด
และยังบอกเพิ่มเติมว่า “ในความเป็นจริง BPA ใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้หญิงเกือบทุกคน ล้วนสัมผัสสารนี้ ไม่มากก็น้อยต่างกันไป ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันที่มีสารเหล่านี้อย่างแพร่หลาย และผลการวิจัยของเราที่พบว่า ผู้ป่วยทุกรายมีระดับของการสัมผัส ชี้ให้เห็นว่า การสัมผัสกับพลาสติกที่มีสาร BPA เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก”
ทารกที่อยู่ในครรภ์ หรือเกิดมาใหม่ ๆ ได้รับสารชนิดนี้จะมีผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ทั้งชายหญิง
นอกจากนี้ นักวิจัย ยังพบอีกว่า การวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดจากหญิงตั้งครรภ์ เมื่อพวกเขาได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อทำการคลอดบุตร และจากน้ำคร่ำของทารกในครรภ์ที่เก็บรวบรวมในการคลอด พบระดับความเข้มข้นของสาร BPA เพิ่มขึ้น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการคลอดก่อนกำหนด โดยผลการวิจัยนี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Maternal-Fetal and Neonatal Medicine
คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยง ยากันยุง หรือ ยาฆ่าแมลง ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
สารเคมีอีก 3 ชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงตั้งครรภ์ ได้แก่ :
1. สารพาทาเลต (Phthalates)
สารพาทาเลต เป็นสารเคมีที่ใช้ในการเพิ่มความทนทาน ความยืดหยุ่น และความโปร่งใสของพลาสติก ซี่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นสารเคมีที่ขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ หากทารกที่อยู่ในครรภ์ หรือเกิดมาใหม่ ๆ ได้รับสารชนิดนี้ จะมีผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ทั้งชาย และหญิง ทำให้เกิดรูผิดปกติที่อวัยวะเพศชาย หรือมีอัณฑะเล็ก ตัวอสุจิน้อย หรือทำให้ผู้หญิงไม่มีประจำเดือนจากรังไข่ที่ผิดปกติ
2. ยากันยุง ยาฆ่าแมลง
ยาฆ่าแมลง สารเคมีที่ประกอบด้วยยาฆ่าแมลง ที่ใช้ในการทำลายระบบประสาทของแมลง และทำให้แมลงตาย คุณแม่ที่กำลังตั้งท้องอยู่ ควรหลีกเลี่ยงสารเคมีเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบประสาทของลูกน้อยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
3. สารไตรโคลซาน (Triclosan)
ไตรโคซาน เป็นส่วนผสมที่พบบ่อยในสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไตรโคซาน และ ไตรโคลคาร์บาน เนื่องจากมีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารเคมีเหล่านี้ สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติในด้านพัฒนาการ และการเจริญพันธุ์
หญิงตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนประกอบ สารต้านเชื้อแบคทีเรีย
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวัน ลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ที่มา : theindusparent, nstda
บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ :
รู้ไว้ไม่เสี่ยง ! 6 ข้อห้ามสำหรับคนท้อง 1 – 3 เดือนแรก
เตือนแม่ท้อง และแม่ที่ให้นมบุตร ห้ามกินฟ้าทะลายโจร เสี่ยงลูกพิการ
ทําไมคนท้องต้องกินไข่ ? ไข่สุดยอดอาหาร ที่ทำให้แม่ท้อง และลูกแข็งแรง !

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!