X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการไอของลูก บอกโรคอะไรได้บ้าง

บทความ 3 นาที
อาการไอของลูก บอกโรคอะไรได้บ้างอาการไอของลูก บอกโรคอะไรได้บ้าง

การไอแต่ละแบบส่งสัญญาณการป่วยที่ต่างกัน บางทีอาจไอเพราะเป็นหวัด แต่บางทีการไอก็เป็นสัญญาณให้เราระวังโรคที่รุนแรงกว่านั้น แล้วอาการ ไอบอกโรค อะไรได้บ้างนะ

ไอบอกโรค วิธีสังเกตอาการไอแบบต่างๆ ของลูก

หากคุณพ่อคุณแม่รู้จักการไอแบบต่างๆ รวมถึงสาเหตุการไอ จะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่าลูกมีโอกาสป่วยเป็นอะไรได้บ้าง

1. ไอเสียงก้อง

หากเจ้าตัวน้อยไอเสียงก้อง (barking cough)  คล้ายเสียงสุนัขเห่า และพบว่าลูกหายใจลำบาก อาจเป็นสัญญาณของโรคครูป

โรคครูปในเด็ก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในหลอดลมและกล่องเสียง สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อลูกเป็นหวัด จากนั้น การติดเชื้อจะลามไปยังหลอดลมและกล่องเสียง ทำให้เกิดการบวมและการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อประเมินความรุนแรงของโรคค่ะ หากอาการไม่รุนแรง คุณหมอจะให้ดื่มน้ำมากๆ ร่วมกับกินยาแก้ไอละลายเสมหะ หรือยาขยายหลอดลม สังเกตอาการอยู่ที่บ้าน อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้เองภายใน 7 วัน

2. ไอมีเสมหะ

หากเจ้าตัวน้อยไอมีเสียงเสมหะจำนวนมากอยู่ในลำคอ อาจเกิดจากโรคหวัด

ควรให้ลูกดื่มน้ำมากๆ และอาบน้ำอุ่น จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นและบรรเทาอาการไอ โรคหวัดมักจะหายภายใน 1-2 สัปดาห์ หากเจ้าตัวน้อยเป็นหวัดยาวนานกว่านี้ ควรพาไปพบคุณหมอดีที่สุดค่ะ

3. ไอแห้งๆ ตอนกลางคืน

หากเจ้าตัวน้อยไอตอนกลางคืน หรือไอเมื่ออากาศหนาวเย็น หรือเมื่อออกกำลังกาย อาจเป็นสัญญาณของโรคหอบหืด

โรคหอบหืด เป็นภาวะที่หลอดลมเกิดการอักเสบและตีบ ทำให้มีอาการไอ หอบ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด อาการจะเป็นๆหายๆ และมักเป็นมากในเวลากลางคืนหรือเวลาที่สัมผัสสิ่งกระตุ้นที่ก่อภูมิแพ้ หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคหอบหืด ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ยิ่งได้รับการวินิจฉัยเร็ว คุณหมอก็จะจัดยาสำหรับป้องกันและรับมือโรคหอบหืดได้อย่างทันท่วงทีค่ะ

4. ไอแรง

หากเจ้าตัวน้อยมีอาการไอจนเสียงแหบ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จาม และมีไข้สูง อาจจะเป็นสัญญาณของโรคไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคไวรัสที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ทำได้โดยการดื่มน้ำมากๆ และทานยาลดไข้ อย่างไรก็ตามโรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนค่ะ คุณแม่ควรพาลูกไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน

ไอบอกโรค

5. ไอ หายใจมีเสียงวี้ด

หากเจ้าตัวน้อยอาการเหมือนไข้หวัด และประมาณ 2-5 วันต่อมาอาการรุนแรงขึ้น ไอ หายใจหอบ มีเสียงวี้ด อาจเป็นสัญญาณของหลอดลมฝอยอักเสบ

หลอดลมฝอยอักเสบ (bronchiolitis) มักจะเกิดขึ้นกับทารกในช่วงเดือนที่หนาวเย็น หากคุณแม่สงสัยว่าเจ้าตัวน้อยมีอาการหลอดลมฝอยอักเสบ ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว ก่อนที่อาการของลูกจะแย่ลง

6. ไอกรน

หากเจ้าตัวน้อยมีอาการไอรุนแรง หรือไอติดกันเป็นชุดๆ มากกว่า 20 ครั้งในลมหายใจเดียว อาจเป็นสัญญาณของโรคไอกรน (Whooping cough)

ไอกรนมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบ และปิดกั้นทางเดินหายใจ ไอกรนจึงเป็นการไอมีเสียงที่เกิดจากการหายใจลำบากตามหลังอาการไอ ซึ่งประมาณ 10% ของทารกเชื้ออาจเข้าสู่ปอดตามทางเดินหายใจและทำให้เกิดปอดบวม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

ดังนั้น ทารกควรได้รับภูมิต้านทานโรคไอกรนครั้งแรกผ่านการได้รับวัคซีนโรคไอกรนระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ และครั้งต่อไปเมื่อลูกน้อยมีอายุได้ 2 เดือน

7. ไอ เจ็บหน้าอก

หากเจ้าตัวน้อยไอ มีเสมหะ มีไข้ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย อาจเป็นสัญญาณของโรคปอดบวม

โรคปอดบวม หรือโรคปอดอักเสบเป็นภาวะอันตราย เนื่องจากเชื้อโรคเข้าสู่เนื้อปอด หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคปอดบวม ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพื่อทำการเอ็กซเรย์ปอด หากอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะและกลับไปพักผ่อนที่บ้าน แต่กรณีที่รุนแรงจำเป็นต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อรับยาทางหลอดเลือด

คุณแม่ได้รู้จักอาการไอแบบต่างๆ เพื่อประเมินอาการเจ้าตัวน้อยในเบื้องต้นแล้วนะคะ อย่างไรก็ตาม หากไม่มั่นใจในอาการของลูกควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยโดยเร็วที่สุดค่ะ

ที่มา sg.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บทความจากพันธมิตร
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

ลูกไอเรื้อรังเป็นเดือน เกิดจากสาเหตุอะไร?

ลูกไอมาก ทำไงดี?

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • อาการไอของลูก บอกโรคอะไรได้บ้าง
แชร์ :
  • ทารกเป็นหวัด ลูกยังเล็กมากจะเป็นอะไรไหม วิธีป้องกันทารกเป็นหวัด ทำแบบนี้

    ทารกเป็นหวัด ลูกยังเล็กมากจะเป็นอะไรไหม วิธีป้องกันทารกเป็นหวัด ทำแบบนี้

  • 7 สิ่ง ที่แม่จ๋าไม่ควรทำ

    7 สิ่ง ที่แม่จ๋าไม่ควรทำ

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

app info
get app banner
  • ทารกเป็นหวัด ลูกยังเล็กมากจะเป็นอะไรไหม วิธีป้องกันทารกเป็นหวัด ทำแบบนี้

    ทารกเป็นหวัด ลูกยังเล็กมากจะเป็นอะไรไหม วิธีป้องกันทารกเป็นหวัด ทำแบบนี้

  • 7 สิ่ง ที่แม่จ๋าไม่ควรทำ

    7 สิ่ง ที่แม่จ๋าไม่ควรทำ

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ