โรคปอดบวมในเด็ก อันตรายกว่าที่คิด
โรคปอดบวม คืออะไร
โรคปอดบวม (Pneumonia) หมายถึง ภาวะที่เกิดการติดเชื้อในปอดโดยเฉพาะในถุงลมหนึ่งหรือทั้งสองข้าง โดยถุงลมอาจจะเต็มไปด้วยหนอง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการโรคปอดบวม ดังต่อไปนี้
อาการโรคปอดบวม
- หายใจลำบาก
- มีไข้ หรือตัวอุ่นๆ
- รู้สึกไม่สบายตัว ซึม
- อาการเหมือนคนเป็นหวัด หรือไข้หวัด เช่น เจ็บคอ หนาวสั่น ปวดศีรษะ
- ไอแห้งๆ ถี่ๆ
- หายใจเร็ว มีเสียงหวีด
- ปวดท้อง
- เจ็บหน้าอก
- อาเจียน
- มีเสมหะปนเลือด หรือมีสีเขียวหรือสีสนิม
- ไม่ยอมกินนม และเบื่ออาหาร
ทั้งนี้อาการปอดบวมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่า เกิดการติดเชื้อที่ส่วนไหนของปอด หากติดเชื้อบริเวณส่วนกลางหรือส่วนบนของปอดอาจทำให้หายใจลำบากกว่าติดเชื้อที่ปอดส่วนล่าง
สาเหตุ
โรคปอดบวมสามารถเกิดได้จากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ไมโครพาสมา เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา สารเคมี
การติดต่อของโรค
- การหายใจเอาเชื้อโรคปอดบวมหรือที่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไป รวมถึงการรับเชื้อจากการไอ จามของผู้ป่วย
- มีการติดเชื้อไวรัสในในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด หรือไข้หวัด
- พบภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคอื่นๆ เช่น โรคอีสุกอีใส หรือ โรคหัด
- หายใจเอาน้ำย่อยและอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าไปในปอด หรืออาเจียนเข้าไปในปอด ซึ่งมักเกิดเมื่อมีอาการชักหรือโรคหลอดเลือดสมอง
หมายเหตุ จมูกของคนเรา แม้ในช่วงที่มีสุขภาพแข็งแรงก็จะมีเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมอาศัยอยู่แล้ว เมื่อเชื้อโรคเหล่านี้แพร่กระจายไปยังปอด ทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ ซึ่งจะมีโอกาสเกิดมากขึ้นระหว่าง หรือหลังมีอาการหวัด หรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
กลุ่มเสี่ยง
- ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี หรือเป็นโรคเอดส์ และได้รับโคมี สเตียรอยด์ในระยะยาว และผู้ที่เพิ่งได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
- โรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด
- อายุ โรคปอดบวมอาจรุนแรกในทารก เด็ก และ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง หรือมีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว
- โรงพยาบาล ผู้ที่อยู่ในห้องไอซียู โดยเฉพาะคนไข้ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
อาการแทรกซ้อนที่สำคัญ
- หายใจลำบาก ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้หายใจเอาออกซิเจนเข้าไปไม่เพียงพอ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย
- โรคฝีในปอด เชื้อแบคทีเรียสามารถสร้างพิษขึ้นมาทำลายปอด ทำให้มักเกิดฝีในปอดตามมา
- แบคทีเรียในกระแสเลือดแพร่กระจายไปยังปอด และในบางเคสอาจทำให้อวัยวะล้มเหลวได้
- น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอดลามออกมาถึงเยื่อหุ้มปอด ถ้ามีไม่มากก็อาจหายเองได้ ในรายที่มีจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการหอบจะต้องทำการรักษาโดยการเจาะดูดเอาน้ำออก
เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ
หากลูกมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นปอดบวม คือ มีไข้ ไอ เจ็บหน้าอก และเหนื่อยง่าย ควรรีบพบแพทย์ ภายใน 1-2 วัน เพื่อรับการวินิจฉัย ไม่ควรดูแลตนเอง
การวินิจฉัยโรคปอดบวม
ปอดบวมวินิจฉัยได้โดย การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และฟังเสียงหายใจ
ถ่ายภาพรังสีทรวงอก (เอกซเรย์ปอด) ตรวจเลือดซีบีซี การตรวจและเพาะเชื้อจากเสมหะ การเพาะเชื้อจากโลหิต ตรวจการเต้นของชีพจร วัดระดับออกซิเขนในเลือด
ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ อาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การทำ CT สแกน และ ตรวจน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อหาประเภทของการติดเชื้อ
การรักษาโรคปอดบวม
โรคปอดบวมรักษาโดย แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะตามกำหนดเวลาเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งยาอื่นๆ ตามอาการ ได้แก่
- ยาแก้ไอ ที่จะช่วยให้ขับของเหลวในปอด
- ยาลดไข้ เช่น ibuprofen และ acetaminophen โดยหลีกเลี่ยงการให้ยาแอสไพรินในเด็ก เพราะมันอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการเรย์ Reye’s syndrome ได้
เด็กควรรับการรักษาตัวใน โรงพยาบาล เมื่อมี อาการ ต่อไปนี้
- อายุน้อยกว่า 2 เดือน
- หายใจลำบาก
- มีอาการขาดน้ำ
- ง่วงนอนผิดปกติ
- ออกซิเจนในเลือดต่ำ
- อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
การป้องกัน โรคปอดบวมในเด็ก
- ล้างมือบ่อยๆ อย่างถูกวิธี
- หลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำ จานชาม และสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
- ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ ตามกำหนด
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกให้แข็งแรง โดยการนอนหลับอย่างเพียงพอ ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบ 5 หมู่
ที่มา ph.theasianparent.com , haamor.com
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
เรื่องน่าเศร้า ลูกอายุ 3 เดือนจากไปเพราะเป็นหวัดจนปอดบวมและติดเชื้อ
ลูกมีอาการไข้ ไอ และหายใจหอบเหนื่อย ระวังโรคปอดบวมนะคะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!