X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคไอกรน ในเด็กเล็ก ป้องกันได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

บทความ 5 นาที
โรคไอกรน ในเด็กเล็ก ป้องกันได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

เมื่อลูกป่วย ผู้ใหญ่ก็ป่วนเพราะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ยิ่งเด็กเล็ก ๆ ป่วยนั้นจะงอแงเพราะไม่สบายตัว เจ็บปาก เจ็บคอ น่าสงสารเหลือเกิน การโดยเฉพาะป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อย่างไอกรน ทำให้ลูกไออย่างรุนแรง ไอกรนเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาอย่างไร ร่วมไขข้อข้องใจด้วยกันค่ะ

ลักษณะทั่วไปของโรคไอกรน

ไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และเกิดอาการไอที่มีลักษณะไอ ซ้อน ๆ ติด ๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ทำให้เด็กหายใจไม่ทัน เสียงไอของโรคนี้เป็นการไปที่มีเอกลักษณ์ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Whooping cough เป็นการไอลึก ๆ เป็นเสียงวู้ป สลับกับการไอเป็นชุด ๆ บางครั้งอาจมีอาการเรื้อรังนาน 2-3 เดือน

สาเหตุการเกิดโรคไอกรน

โรคไอกรน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Bordettella โรคนี้ติดต่อกันง่ายมาก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีภูมิต้านทานจะติดเชื้อโรคจากผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันมีโอกาสมากถึง 80 – 100% ถึงแม้จะมีภูมิต้านทานก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ถึง 20 % โดยเชื้อโรคจะแพร่กระจายอยู่ในละอองของเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และจะติดต่อไปยังผู้อื่นต่อไป ไอกรนจะพบได้บ่อยในเด็กส่วนใหญ่จะติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว โรคไอกรนเป็นได้ตั้งแต่เดือนแรก เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมาก ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราการตายสูง ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอาการรุนแรงและมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตมักจะเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี

ไอกรนเกิดขึ้นได้อย่างไร

เชื้อแบคทีเรียชื่อ Bordettella เมื่อเข้าสู่ทางเดินหายใจแล้วจะไปเกาะเยื่อบุเซลล์ หรือเยื่อเมือกของเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก เกิดการแบ่งตัวและผลิตสารพิษออกมา ก่อให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และก่อให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา ประมาณ 10% ของทารกเชื้ออาจเข้าสู่ปอดตามทางเดินหายใจทำให้เกิดอาการปอดบวม อาจทำให้เสียชีวิตได้ เชื้อโรคของไอกรนมักไม่แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด จึงมักไม่แสดงอาการกับอวัยวะอื่น นอกจากระบบทางเดินหายใจส่วนบน

อาการของโรคไอกรน

อาการของโรคแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

1.ระยะแรก เด็กจะเริ่มมีน้ำมูก และไอ อาการเริ่มแรกดูเหมือนเป็นหวัดธรรมดา อาจมีไข้ต่ำ ๆ ตาแดง น้ำตาไหล อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ระยะนี้จะยังวินิจฉัยโรคไอกรนยังไม่ได้ แต่มีข้อสังเกตว่าไอนานเกิน 10 วัน และไอแบบแห้ง ๆ

2.ระยะไอ หรือระยะอาการกำเริบ เป็นระยะที่มีอาการไอเด่นชัด มีอาการไอเป็นชุด ๆ ไม่มีเสมหะ จะเริ่มมีลักษณะอาการไอกรน คือ มีอาการไอถี่ ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้ง ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียง “วู้ป” (Whoop) เป็นเสียงการดูดลมเข้าอย่างแรง ในช่วงที่ไอผู้ป่วยจะหน้าแดง น้ำมูก น้ำตาไหล เส้นเลือดที่คอโป่งพอง การไอเป็นกลไกของร่างกายที่ขับเสมหะที่เหนียวข้นในทางเดินหายใจออกมา ผู้ป่วยจะไอติดต่อกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะขับเสมหะที่เหนียวข้นออกมา ในเด็กเล็กอาจจะไอจนหน้าเขียว เพราะหายใจไม่ทัน ซึ่งอาการหน้าเขียวอาจเกิดจากเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่ในเด็กเล็กจะมีอาการอาเจียนตามหลังการไอเป็นชุด ๆ อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2-4 สัปดาห์

Advertisement

3.ระยะฟื้นตัว หรือระยะพักฟื้น ระยะนี้กินเวลาตั้งแต่ 1 – 3 เดือน เป็นระยะที่อาการไอจะค่อย ๆ ทุเลาลงจนหายในที่สุด

ควรพบแพทย์เมื่อใด

1.ผู้ที่อาการชัดเจนว่าเป็นไอกรน คือ มีอาการไอเป็นชุด ๆ ช่วงสุดท้ายมีเสียงดังวู้ป หรือหลังไอมีอาการอาเจียนตามมาและมีไข้ ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว

2.ในกรณีที่อาการไม่ชัดเจน แต่ไอติดต่อกันมาประมาณ 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาต่อไป

3.ถ้าในบ้านของผู้ป่วยมีทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี หรือมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคไอกรนกับบุคคลเหล่านี้ ผู้ป่วยควรแยกน้ำดื่ม อาหารการกิน ของใช้ส่วนตัว และแยกห้องนอนจนกว่าจะผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อไปแล้วมากกว่า 5 วัน

การรักษาโรคไอกรน

การรักษาหลักในโรคไอกรน คือ การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และรักษาแบบประคับประคองตามอาการ

1.ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง จะรักษาแบบให้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน สำหรับยาแก้ไอไม่ได้ช่วยในการรักษาหรือบรรเทาอาการไอ จึงไม่จำเป็นต้องใช้

2.สำหรับเด็กทารกและผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อดูแลเกี่ยวกับเรื่องระบบทางเดินหายใจไม่ให้ร่างกายขาดออกซิเจน ในบางครั้งอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และต้องแยกห้องผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

การป้องกันโรคไอกรน

1.โรคไอกรนมีวัคซีนสำหรับป้องกัน ในเด็กเล็กต้องได้รับการฉีดวัคซีนช่วงอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 15 – 18 เดือน ในรูปของวัคซีนรวม คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หลังจากนั้นเมื่ออายุ 4 – 6 ปี ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก 1 ครั้ง

2.ในช่วงอายุ 11-12 ปี ปกติเด็กควรจะได้รับวัคซีนรวม คอตีบ บาดทะยัก กระตุ้นอีก 1 เข็ม แต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนรวมคอตีบไอกรน บาดทะยัก แทนการฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก

3.สำหรับแม่ตั้งครรภ์ ควรได้รับการฉีควัคซีนไอกรน เพราะช่วยป้องกันโรคไอกรนในแม่และลูกที่คลอดมา ซึ่งเป็นที่รู้ว่า เกินร้อยละ 50 ของลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรน ติดมาจากเชื้อโรคไอกรนในแม่ ซึ่งหากลูกเป็นโรคไอกรนใน 3 เดือนแรก ลูกมีโอกาสเจ็บป่วยรุนแรงจนเสียชีวิต แต่หากฉีดวัคซีนไอกรนให้แม่ สามารถป้องกันโรคไอกรนในลูกที่คลอดออกมาได้ตั้งแต่ 2-6 เดือน

อ้างอิงข้อมูลจาก

haamor.com

thaigcd.ddc.moph.go.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เศร้า! แม่แชร์คลิปทารกไอหนัก ป่วยโรคไอกรนจนเสียชีวิต

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคไอกรน ในเด็กเล็ก ป้องกันได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว