วิธีพูดกับลูก พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน
วิธีพูดกับลูก พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง ไม่เอาหูทวนลม เด็กบางคนที่พ่อแม่เรียกแล้วไม่กระดิก นั่งเฉยๆ ส่วนหนึ่งมาจากสิ่งที่ตัวเองสนใจอยู่่ตรงหน้า หรือกำลังมีสมาธิกับสิ่งหนึ่งอยู่ แต่กับเด็กอีกกลุ่มหนึ่งคือ ไม่อยากคุยหรือไม่อยากทำในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ พวกเขาก็เลือกที่จะนิ่งเฉยแทน แล้วมีวิธีพูดกับลูกอย่างไรบ้าง เพื่อให้ลูกเป็นเด็กว่านอนสอนง่ายล่ะ
1.เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น
เด็กมักจะยึดหรือเลือนแบบพฤติกรรมตามสิ่งที่เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ที่เป็นคนใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ถ้าพ่อแม่เป็นแบบอย่างไม่ดี หรือทำในสิ่งที่ห้ามลูกทำ ลูกจะเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมพ่อแม่ทำได้ แล้วตัวเองถึงทำไม่ได้ล่ะ หลายคนคงไม่่รู้จะตอบกับลูกยังไงดี พอตอบไม่ได้ก็ว่าลูกเถียงอีก คราวนี้เด็กก็จะเริ่มไม่เชือฟังพ่อแม่แล้ว ทางที่ดีสิ่งไหนที่ตัวเองไม่อยากให้ลูกทำ ก็ต้องไม่ทำให้ลูกเห็นหรือไม่ทำเลยจะดีกว่าค่ะ
2.พูดด้วยความรัก ความอบอุ่น
เวลาที่พ่อแม่โมโหเมื่อลูกทำผิด หรือเรียกแล้วลูกไม่สนใจ พ่อแม่มักจะตะคอกแล้วต่อด้วยการด่าทอเสียงดัง ไม่ฟังที่ลูกพูด ทำให้เด็กไม่อยากจะบอก เพราะพูดไปพ่อแม่ก็ดุอยู่ดี สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่จะทำได้ต้องเริ่มจากการเรียกชื่อให้เขาสนใจก่อน จากนั้นก็พูดด้วยคำง่ายๆ ถามให้แน่ใจว่าลูกทำอะไร ให้เขาได้ทบทวนสิ่งที่ตัวเองทำลงไปด้วย อย่าเพิ่งด่าลูกเอาเป็นเอาตาย ให้ลูกได้สำนึกผิดจะดีกว่า การพูดแรงๆ ถึงแม้จะทำให้ลูกสงบลงได้ แต่อาจเป็นแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ในอนาคตลูกก็จะทำอีกเหมือนเดิม
3.พูดด้วยเหตุผล มากกว่าการบังคับ
เด็กทุกคนจะมีเรื่องที่ตัวเองสนใจ และเรื่องที่ตัวเองไม่ชอบอยู่แล้ว และบ่อยครั้งที่พ่อแม่มักจะบังคับให้ลูกทำในสิ่งทที่ไม่ชอบเป็นเวลานานๆ แน่นอนว่าลูกจะเกิดการต่อต้านต่อสิ่งที่ให้ทำโดยทันที ดังนั้น พ่อแม่ต้องให้ข้อเสนอให้ลูกที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน เช่น ถ้าลูกช่วยแม่เก็บเสื้อผ้า แม่จะเล่านิทานให้ฟัง หรือว่าเดี๋ยวแม่จะให้ทานไอศกรีม
วิธีพูดกับลูก วัยอนุบาล
4.ฝึกให้ลูกได้คิดเองบ้าง
พ่อแม่ลองเปลี่ยนคำพูดที่ใช้กับลูกจาก ของเล่นกระจายรกไปหมด ไปเก็บของเล่นสิลูก มาใช้คำพูดว่า ไหนลูกลองคิดสิว่า จะเอาตุ๊กตาตัวนี้ไปเก็บไว้ไหน รถของเล่นนี้ล่ะเอาไปไว้ไหนดี ให้ลูกลองใช้ความคิดในการแก้ปัญหาด้วยตนเองบ้าง อย่าคอยชี้ให้เขาทำตามเพียงอย่างเดียว
5.หากิจกรรมทำร่วมกัน
การเล่นกีฬา หรือเล่นเกมด้วยกันก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถสอนลูกในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมไปในตัวด้วย อีกทั้งยังทำให้ลูกได้ฝึกการควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่เอาแต่ใจ ต้องบอกให้ลูกรู้ว่า ทุกคนต้องอยู่ร่วมกันในสังคมใหญ่ จะเอาความคิดเห็นตนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฟังงคนอื่นด้วย เป็นต้น การที่ได้ทำกิจกรรมด้วยกัน จะทำให้ลูกเข้าใจและรู้ตัวว่า ถ้าเกิดเหตุกาณ์แบบนี้ตัวเองต้องทำอย่างไร แต่ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องสอนด้วยเหตุและผล ไม่ใช่ด้วยอารมณ์เช่นเดียวกัน
วิธีการพูดกับลูกวัยอนุบาล
6.เปลี่ยนมาเป็นผู้ฟังที่ดีบ้าง
อย่าคิดว่าตัวเองเป็นพ่อเป็นแม่คนแล้วจะถูกเสมอไป บางทีเด็กก็มีความคิดของเขา สิ่งที่พ่อแม่ทำได้ต้องถามให้รู้ให้ได้ว่า ลูกของเราคิดอะไร ทำไปเพราะอะไร ให้ลูกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจทั้งหมด และอย่าขัดต้องตั้งใจฟังลูก สบตาเขา บอกให้รู้ว่าเราสนใจที่ลลูกบอกน่ะ เพราะบางทีสิ่งที่ลูกคิดลูกทำมันจะผิด แต่ลูกไม่ได้รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นผิดหรือถูก พ่อแม่ต้องค่อยๆ ปรับความคิดให้ลูก และอธิบายให้เข้าใจนะคะ
7.สนใจในสิ่งที่ลูกแสดงออกมา
เด็กบางคนพูดไม่เก่ง สิ่งที่ทำได้คือการแสดงออกทางสีหน้าหรือท่าทาง พ่อแม่ต้องคอยจับสังเกตนั่นให้ได้ แล้วดูว่าลูกเราต้องการจะสื่อสารอะไร อาจจะถามซ้ำๆ ว่าลูกจะบอกแม่แบบนี้ใช่ไหม ยืนนยันในสิ่งที่เขาทำ มากกว่าที่จะบ่นว่าลูกพูดอะไรแม่ไม่รู้เรื่องเลย พูดให้มันดีๆ หน่อย หรือไม่สนใจเลย พอเป็นแบบนั้นไปนาน ลูกก็เริ่มไม่อยากจะบอกพ่อกับแม่ล่ะ เพราะพ่อแม่ไม่เข้าใจลูกนั่นเอง
เด็กดื้อ ไม่เชื่อฟัง บางคนอาจเกิดจากโรค เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนของร่างกาย แต่เด็กอีกกลุ่มอาจเกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่เอง ถ้าไม่อยากให้ลูกดื้อรั้น ต่อต้าน ไม่ยอมฟัง โดยเฉพาะเด็กวัยอนุบาล พ่อแม่ก็ต้องเรียนรู้ที่จะเลี้ยงดูลูกให้ถูกวิธีค่ะ
ที่มา: สิ่งเล็กๆ ที่สร้างลูก
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ลูกชอบปาข้าวของ ขว้างสิ่งของ ห้ามเท่าไหร่ไม่ฟัง ต้องแก้ยังไงดี
การ์ตูนเสริมพัฒนาการ เสริมความรู้ เสริมทักษะ สำหรับลูกน้อย (รวมคลิป)
ลูกชอบตีหัวตัวเอง เอาหัวโขกพื้น จะเป็นอันตรายไหม?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!