X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ป้อนน้ำทารก อันตรายถึงชีวิตจากภาวะน้ำเป็นพิษ

บทความ 3 นาที
ป้อนน้ำทารก อันตรายถึงชีวิตจากภาวะน้ำเป็นพิษ

ความเชื่อผิดๆ ที่ว่า มนุษย์ต้องกินน้ำ เพื่อดับกระหาย ต้องป้อนน้ำทารกจะได้ถ่ายง่าย ท้องไม่ผูก ขับสารเหลือง อาจทำร้ายลูกถึงแก่ชีวิตจากภาวะน้ำเป็นพิษ

ผลเสียของการป้อนน้ำทารก

ป้อนน้ำทารก, ภาวะน้ำเป็นพิษ

1.เปลืองพื้นที่กระเพาะ

เมื่อป้อนน้ำทารก จะทำให้เจ้าตัวน้อยได้รับสารอาหารต่างๆ จากนมน้อยลง เนื่องจากพื้นที่ในกระเพาะน้อยๆ ของลูกถูกแทนที่ด้วยน้ำไปเสียแล้ว หากป้อนน้ำลูกเป็นประจำ อาจทำให้ลูกน้ำหนักขึ้นช้า กินนมได้น้อยลง 11% สำหรับคุณแม่ให้นม เมื่อลูกอิ่มน้ำก็จะดูดนมน้อยลง ส่งผลต่อการผลิตน้ำนมของคุณแม่ ทำให้นมแม่ลดลงอีกด้วย

2.อาจเสียชีวิตจากภาวะน้ำเป็นพิษ

ผลเสียที่รุนแรงสำหรับทารกเมื่อได้รับน้ำมากเกินไป คือ เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ(water intoxication) พบได้บ่อยที่สุดในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน เนื่องจากไตของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถกรองของเหลวได้อย่างรวดเร็ว น้ำจึงไปเจือจางความเข้มข้นของโซเดียม  ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในร่างกาย ทำหน้าที่รักษาสมดุลน้ำระหว่างนอกเซลล์และภายในเซลล์ โดยที่เด็กดื่มน้ำปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายจะปรับสมดุลได้ ส่งผลระดับเกลือโซเดียมต่ำ จนเกิดความผิดปกติของสมดุลสารน้ำในร่างกายทารก น้ำจึงเข้าไปคั่งในเซลล์ทั่วร่างกาย ทำให้เกิดอาการกระตุกหรือชัก สมองบวม ปอดบวม โคม่า และเสียชีวิตได้

บทความแนะนำ เด็กแรกเกิดควรกินน้ำหรือเปล่า

ข้อมูลจากเพจ นมแม่แบบแฮปปี้ แนะนำว่า

ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน หากกินนมแม่ ไม่จำเป็นต้องป้อนน้ำ เนื่องจากนมแม่มีน้ำเพียงพออยู่แล้ว สำหรับทารกที่กินนมชง ในนมชงก็มีน้ำมากพอ คุณแม่อาจป้อนน้ำตามเพียงแค่ล้างปากก็พอ

สำหรับทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ให้ทานน้ำหลังอาหารก็เพียงพอ โดยให้จิบจากแก้ว ไม่จำเป็นต้องดื่มเป็นออนซ์ๆ

ไม่เว้นแม้แต่ผู้ใหญ่ หากแข่งขันดื่มน้ำมากๆ เร็วๆ ทีเดียวหลายลิตร ก็สามารถเกิดภาวะน้ำเป็นพิษและเสียชีวิตได้เช่นกัน

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการเมื่อเจ้าตัวน้อยสำลักน้ำหรือดื่มน้ำมากกว่าปกติ ดังนี้

1. สับสน ซึม เหม่อลอย
2. กล้ามเนื้อเป็นตะคริว มีลักษณะเกร็ง
3. มึนงง อาเจียน
4. หายใจหอบ อ่อนแรง

ให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาล ห้ามรอดูอาการเด็ดขาด เพราะหากถึงมือหมอได้ทันท่วงที ลูกอาจรอดชีวิต

ทารกไม่ทานน้ำเลย 6 เดือนเป็นไปได้อย่างไร?

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยอธิบายว่า จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ลูกน้อยที่กินนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรกจะมีผลดีกับการเติบโตและพัฒนาการของลูก เพราะนมแม่มีคุณค่าและพลังงานที่เหมาะสมกับความต้องการของทารก การกินนมแม่ล้วนในช่วง 6 เดือนแรก ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในทารกจากโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร ในทางเดินหายใจ (ปอดบวม) หรือหูอักเสบ ช่วยให้ร่ายกายของทารกฟื้นตัวเร็วเมื่อเจ็บป่วย และยังช่วยแม่คุมกำเนิดโดยธรรมชาติด้วย

ทำไมน้ำจึงไม่จำเป็นใน 6 เดือนแรก?

ในช่วงแรกทารกต้องการปริมาณน้ำ 80–100 มล.ต่อ 1 กก. และประมาณ 140–160 มล.ต่อ 1 กก. ในช่วงอายุ 3–6 เดือน ซึ่งปริมาณน้ำที่ลูกได้รับจากน้ำนม เป็นปริมาณที่เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการแล้ว เพราะ80% ของนมแม่ คือ น้ำ

ดังนั้น การป้อนน้ำทารกก่อน 6 เดือนจึงไม่มีประโยชน์ แถมยังเกิดความเสี่ยงถึงแก่ชีวิตอีกด้วย โดยข้อยกเว้นเดียวในการป้อนน้ำทารก คือเมื่อเจ้าตัวน้อยไม่สบายหรือร่างกายสูญเสียน้ำเนื่องจากท้องเสียหรืออาเจียน ซึ่งควรให้น้ำทารกภายใต้คำแนะนำของแพทย์ค่ะ

ที่มา www.whattoexpect.com, เพจนมแม่แบบแฮปปี้, www.thaibreastfeeding.org

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ให้เด็กดื่มนมแม่ผสมน้ำ อันตรายถึงชีวิต

แม่โพสต์เล่า ลูกโดนป้อนน้ำจนลำไส้ติดเชื้อ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำคนเป็นแม่ใจจะขาด

TAP mobile app

 

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ป้อนน้ำทารก อันตรายถึงชีวิตจากภาวะน้ำเป็นพิษ
แชร์ :
  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

  • อัณฑะค้าง อัณฑะคาช่องท้อง ภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิด ควรรักษาก่อน 1 ขวบ

    อัณฑะค้าง อัณฑะคาช่องท้อง ภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิด ควรรักษาก่อน 1 ขวบ

  • ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อ ทำอย่างไรดี? สิ่งนี้แก้ไขได้หรือเปล่า

    ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อ ทำอย่างไรดี? สิ่งนี้แก้ไขได้หรือเปล่า

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

  • อัณฑะค้าง อัณฑะคาช่องท้อง ภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิด ควรรักษาก่อน 1 ขวบ

    อัณฑะค้าง อัณฑะคาช่องท้อง ภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิด ควรรักษาก่อน 1 ขวบ

  • ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อ ทำอย่างไรดี? สิ่งนี้แก้ไขได้หรือเปล่า

    ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อ ทำอย่างไรดี? สิ่งนี้แก้ไขได้หรือเปล่า

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ