X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปากนกกระจอก เกิดขึ้นในเด็ก แผลมุมปาก ต้องรักษาอย่างไรถึงจะหาย

บทความ 5 นาที
ปากนกกระจอก เกิดขึ้นในเด็ก แผลมุมปาก ต้องรักษาอย่างไรถึงจะหาย

ปากนกกระจอกเกิดจากอะไร ทำไมเด็กชอบเป็น มาดูวิธีรักษาอาการปากนกกระจอกกันเถอะ

ปากนกกระจอก มุมปากเป็นแผล ที่เด็ก ๆ หลายคน เป็นกัน ว่าแต่ ปากนกกระจอก เกิดจากอะไร ทำไมเด็ก ๆ ถึงชอบเป็นกัน ปากนกกระจอกเกิดจากอะไร วันนี้เรามีคำตอบ พร้อมกับวิธีการรักษาปากนกกระจอก มาฝากค่ะ

 

ปากนกกระจอก มุมปากเป็นแผล มุมปากเปื่อย

ปากนกกระจอกเกิดจาก อะไรกันนะ ปากนกกระจอก คือ ภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นตรงมุมปาก โดยจะเกิดอาการเจ็บปาก ปากแห้งและแตก เป็นแผล อาจมีรอยแดง บวม และตึงที่มุมปากข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการของโรคนี้เพียง  2-3 วัน หรือนานกว่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุ ที่ทำให้เกิดปากนกกระจอก

ทำไมถึงเป็นปากนกกระจอก ปากนกกระจอกเกิดจาก ?

 

ปากนกกระจอก ปากนกกระจอกรักษา ยังไง

ปากนกกระจอก รักษายังไง ปากนกกระจอก คืออะไร ปากนกกระจอกรักษา ยังไง ปากนกกระจอกเกิดจาก

 

ปากนกกระจอกเกิดจาก เป็นแผลที่มุมปาก โรคปากนกกระจอกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคนี้คือเชื้อแคนดิดา (Candida) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็กทารก นอกจากนี้ โรคปากนกกระจอกยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ ดังนี้

  • ปากนกกระจอก น้ำลายจากการเลียปาก
Advertisement

เนื่องจากน้ำลายจะหมักหมมอยู่บริเวณมุมปาก ทำให้ปากแห้งและแตก เมื่อเลียมุมปากที่แห้ง จะทำให้เชื้อราตรงแผลที่มีอยู่ก่อนแล้วเจริญและแบ่งเซลล์มากขึ้น จนนำไปสู่การติดเชื้อได้ โดยผู้ป่วยอาจเกิดการอักเสบที่ริมฝีปาก หรือเกิดผื่นแพ้จากการระคายเคือง (Irritant Contact Dermatitis) ร่วมด้วยได้

  • มุมปากตก มุมปากเป็นแผล มุมปากเปื่อย

เนื่องจากริมฝีปากบนคร่อมริมฝีปากล่างมากเกินไป ผิวหนังรอบปากห้อยลงมา เนื่องจากอายุมากขึ้นหรือน้ำหนักลดลง ทำให้รอยย่นที่มุมปากลึกมาก

  • เกิดการติดเชื้อที่ปาก ปากนกกระจอก

ผู้ป่วยอาจติดเชื้อต่าง ๆ ที่ปาก โดยเชื้อนั้นได้ลุกลามขึ้น เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราจากโรคเชื้อราในช่องปาก หรือเชื้อไวรัสจากโรคเริมที่ริมฝีปาก ปากแห้งแตก

บทความที่เกี่ยวข้อง : จูบเด็กอันตราย? ภัยที่มาจากจูบมีอะไรบ้าง? ผู้ปกครองควรป้องกันอย่างไร?

 

ปากนกกระจอกเกิดจาก อาการของปากนกกระจอก มุมปากเป็นแผล เป็นอย่างไร 

  • เป็นแผลที่มุมปาก มีรอยแดงและเลือดออก
  • เกิดตุ่มพองขึ้นมา เป็นแผล มีของเหลวไหลเยิ้มออกมา หรือเกิดสะเก็ดแผลที่มุมปาก
  • ปากลอก รวมทั้งแห้งและแตก โดยปากอาจตึง ซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบายปาก
  • รู้สึกคันระคายเคืองตรงมุมปากที่เป็น ทำให้ผู้ป่วยอาจรับประทานอาหารลำบากในกรณีที่เกิดอาการดังกล่าวอย่างรุนแรง อาจส่งผลให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือน้ำหนักตัวลดลง
  • เกิดอาการบวมบริเวณมุมปาก

 

ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้เสี่ยงเป็นปากนกกระจอก เป็นแผลที่มุมปาก 

 

ปากนกกระจอก

ปากนกกระจอก รักษายังไง  ปากนกกระจอก คืออะไร ปากนกกระจอกรักษา ยังไง ปากนกกระจอกเกิดจาก

 

  • มีเชื้อราในช่องปาก โดยมักเกิดกับเด็กทารกหรือผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือใช้ยาปฏิชีวนะ
  • ต้องใส่ฟันปลอม เนื่องจากการใส่ฟันปลอมนั้นเกี่ยวข้องกับปัญหาเหงือกร่น โดยเฉพาะฟันปลอมที่ไม่พอดีกับขนาดของช่องปาก
  • ได้รับการจัดฟัน เนื่องจากต้องใส่ยางสำหรับจัดฟัน ส่งผลให้มีน้ำลายล้นออกมาหมักหมมอยู่ที่มุมปากได้
  • ป่วยเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease: IBD) เช่น ลำไส้อักเสบ หรือโรคโครห์น (Crohn Disease)
  • ผิวแพ้ง่าย เช่น ป่วยเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)
  • ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น รับประทานอาหารที่มีวิตามินบีหรือธาตุเหล็กน้อยเกินไป
  • ป่วยเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)
  • รับประทานยาเรตินอยด์ เช่น รับประทานยาไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) เพื่อรักษาสิว หรือรับประทานยาอะซิเทรติน เพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงิน
  • ป่วยเป็นโรคอื่น ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง มะเร็งที่เกี่ยวกับเลือดหรือมะเร็งที่ไต ตับ ปอด หรือตับอ่อน รวมทั้งติดเชื้อเอชไอวีและโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันร่างกาย

 

ปากนกกระจอก มุมปากเป็นแผล ควรรักษาอย่างไร 

 

การรักษาด้วยตนเอง

  • รับประทานอาหารประเภทข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง ผักและผลไม้
  • ถ้าเป็นปากนกกระจอก จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากเซลล์หนังกำพร้ามุมปาก ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษา
  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ
  • ควรเช็ดมุมปากให้แห้งอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการอับชื้น (แนะนำให้พกผ้าเช็ดหน้าสะอาด ติดตัวไว้เสมอ เพื่อใช้เช็ดซับน้ำลาย)
  • ไม่เลียริมฝีปาก และมุมปาก เพราะการทำแบบนี้ จะทำให้เกิดการอักเสบของแผล และเกิดการติดเชื้อของแบคทีเรีย ทำให้แผลไม่หายและอาจจะแย่ลงกว่าเดิม
  • หมั่นทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟัน และบ้วนปากให้สะอาด หลังรับประทานอาหาร
  • รักษาความสะอาดเครื่องนอน เช่น ผ้าห่ม ปลอกหมอน รวมไปถึงผ้าเช็ดหน้าที่ใช้เป็นประจำ
  • หากแผลที่มุมปาก มีอาการเจ็บและตึง ให้ทาปากด้วยครีมทาปาก ปิโตรเลี่ยมเจล ลิปบาล์ม หรือขี้ผึ้ง ที่มีส่วนผสมของวิตามินอีอยู่เสมอ ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 20 อาหารเสริมโอเมก้าสูง ต้องกินอะไร ดีต่อสุขภาพอย่างไร

 

การรักษาด้วยยาต้านเชื้อรา

  • ไมโคนาโซล (Miconazole)

ยานี้ใช้รักษาเชื้อราแคนดิดา และเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก (Gram-Positive Cocci) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยควรทาครีม ไมโคนาโซล ตรงมุมปาก ที่เกิดการติดเชื้อวันละ 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) ไม่ควรใช้ยานี้ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการต้านฤทธิ์กันอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลให้มีเลือดออกมาก

  • ไนสแตนดิน (Nystatin)

ผู้ป่วยจะรับประทานยานี้ เพื่อรักษาการติดเชื้อราที่ปาก หรือโรคเชื้อราในช่องปาก หรือในทางเดินอาหาร โดยแพทย์จะให้ใช้ยาวันละ 4 ครั้ง อมไว้ปาก ให้นานก่อนกลืนลงไป ทารกควรงดน้ำ และอาหารเป็นเวลา 5-10 นาที หลังจากใช้ยานี้ ทั้งนี้ ตัวยาจะไม่ซึมเข้ากระแสเลือด

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
  • โคลไตรมาโซล (Clotrimazole)

ยานี้ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับเชื้อรา ได้แก่ น้ำกัดเท้า ติดเชื้อราที่ขาหนีบ และกลาก โดยตัวยาจะส่งผลต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อราให้สลายลง ส่งผลให้เชื้อราตายได้

  • คีโตโคนาโซล (Ketoconazole)

มีสรรพคุณ ขัดขวางการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อรา อย่างไรก็ตาม แพทย์จะใช้รักษาผู้ป่วย ในกรณีที่ตัวยาอื่นไม่สามารถรักษาอาการป่วยให้ทุเลาลง ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ ก่อนใช้ยาดังกล่าว ทั้งนี้ อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับตับได้

การรักษาด้วยยาต้านแบคทีเรีย

  • มิวพิโรซิน (Mupirocin)

ยานี้ใช้รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยตัวยายับยั้งการผลิตโปรตีนที่ใช้เลี้ยงแบคทีเรียบนผิวหนัง ผู้ป่วยโรคปากนกกระจอกที่ติดเชื้อจากโรคพุพอง

  • กรดฟูซิดิก (Fusidic Acid)

ชนิดครีม หรือขี้ผึ้ง เป็นยาต้านแบคทีเรีย ชนิดทาภายนอก ที่รักษาการติดเชื้อผิวหนัง โดยอาจใช้รักษาเชื้อสแตปฟิโลค็อกคัส ออเรียส และเชื้อโครีนแบคทีเรียม (Corynebacterium) ยานี้ใช้รักษาโรคผิวหนังหลายโรค เช่น โรคพุพอง รูขุมขนอักเสบ ผู้ป่วยปากนกกระจอก ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ควรทายาตรงบริเวณที่ติดเชื้อ ตามแพทย์สั่ง

 

ปากนกกระจอก ป้องกันอย่างไร

ปากนกกระจอก

ปากนกกระจอก คืออะไร ปากนกกระจอกรักษา ยังไง 

 

  • ไม่ควรกัดหรือเลียริมฝีปากเมื่อปากแห้งหรือแตก

เนื่องจากการกัดปากจะทำให้เลือดออกและแผลหายได้ช้า ทั้งนี้ น้ำลายที่เลียริมฝีปากจะล้างความชุ่มชื้นของผิวหนังออกไป ส่งผลให้ปากแห้งกว่าเดิม

  • ควรทาลิปบาล์มที่ผสมเจลหรือขี้ผึ้งเป็นประจำ

เมื่อเกิดอาการปากแห้ง โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง

  • รักษาความสะอาดในช่องปาก

ผู้ป่วยโรคเชื้อราในช่องปากที่มีปัญหาสุขภาพอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าว เช่น ป่วยเป็นเบาหวาน ควรรักษาความสะอาดช่องปากและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้อาการของโรคแย่ลง

  •  กินอาหารที่มีวิตามินบี

เช่น ปลา ตับ ถั่ว นม

  • กินอาหารที่มีธาตุเหล็ก

เนื้อแดง ใบกะเพรา หอย ไข่แดง ธัญพืช

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : 

ลูกทานสารอาหารไม่ครบ ส่งผลเสียต่อลูกอย่างไร

อาการมือเท้าปาก แผลร้อนใน ในเด็กโรคยอดฮิตของเด็กทุกวัยหน้าตาเป็นยังไง?

แผลฟกช้ำ ตามร่างกายเด็ก ทำยังไงให้หาย ต้องไปหาหมอหรือเปล่า

ที่มา : (pobpad.),(thaihealth.),(thaijobsgov)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ปากนกกระจอก เกิดขึ้นในเด็ก แผลมุมปาก ต้องรักษาอย่างไรถึงจะหาย
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว