จูบเด็กอันตราย ? ภัยที่มาจากจูบมีอะไรบ้าง ? ผู้ปกครองควรป้องกันอย่างไร ?
เด็กจูบกับพ่อแม่ได้ไหม
รู้หรือไม่ว่าการ จูบเด็กอันตราย ผู้ปกครองหลายคนอาจจะไม่ทราบว่า การกระทำที่แสนจะอ่อนโยนอย่างจูบนั้นอาจนำภัยร้ายมาสู่ลูกของเราโดยไม่รู้ตัว ภัยจากการจูบลูกน้อยมีอะไรบ้าง เราจะรับมือและป้องกันปัญหานี้อย่างไร เรามีคำตอบให้คุณ
ภัยที่มาจากจูบมีอะไรบ้าง?
เคสน่าสงสารจากหนูน้อยที่โดนจุ๊บแล้วชีวิตต้องเปลี่ยนไปตลอดกาลนั้นมีให้พบเห็นอยู่บ่อยครั้งในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามเราควรระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ขึ้นกับลูกของเรา มีโรคอะไรที่พบเห็นได้บ่อยๆบ้าง เรามาดูกัน
เด็กจูบกับพ่อแม่ได้ไหม คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังและป้องกันลูกน้อยเรื่องการจุ๊บเล่นจากคนอื่น
โรคจูบ
- โรคจูบ หรือ infectious mononucleosis (IM) ซึ่งเกิดจากไวรัส Ebstein Barr ย่อว่า EB ไวรัส
- ติดต่อได้ทางสัมผัสและทางน้ำลาย
- ส่วนใหญ่การติดเชื้อ EB ในประเทศไทย จะเกิดขึ้นใน 2 ขวบปีแรกโดยไม่มีอาการของโรค จากการศึกษาของศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลีนิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- หลังจากนั้นจะมีเชื้อซ่อนเร้นอยู่ในร่างกายแบบไม่แสดงอาการ (latent infection)
- แต่สำหรับในเด็กโตที่ยังไม่เคยติดเชื้อ หรือไม่มีภูมิ เมื่อได้รับเชื้อจะมีอาการรุนแรงขึ้น แม้ไม่เคยมีการติดเชื้อมาก่อน
- เป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อในวัยรุ่นที่เกิดจากการจูบ โดยสัมผัสจากน้ำลาย
อาการของโรค
- ไข้สูง เจ็บคอ จากคอหอย หรือทอนซิล มีการอักเสบ และมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
- อาการอื่นๆที่อาจจะพบร่วมด้วยคือ อาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลำได้ ตับโต ม้ามโต มีจุดเลือดออกที่เพดานปาก ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน มีน้ำมูก
- อาการส่วนใหญ่จะหายภายในเวลา 2 สัปดาห์ ยกเว้นอาการอ่อนเพลียที่ยังอาจหลงเหลืออยู่ได้นานหลายเดือน สามารถปนเปื้อนออกมาได้ในน้ำนม
การรักษาโรค
- ไม่มีการรักษาจำเพาะ ซึ่งการให้ยาต้านไวรัส เช่น Acyclovir พบว่า ไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้นแต่อย่างใด
- การรักษาหลัก คือการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ส่วนการให้ยาสเตียรอยด์ พบว่าอาจช่วยทำให้ระยะเวลาป่วยสั้นลงได้
- แต่แพทย์จะแนะนำให้ใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่รุนแรงเท่านั้น เช่น ไข้สูงมาก หรือเจ็บคอมากจนดื่มน้ำไม่ได้
เด็กจูบกับพ่อแม่ได้ไหม สิ่งสำคัญในการป้องกันคือ หลีกเลี่ยงให้คนอื่นเล่นหอมหรือจูบลูก
โรคเริม
- โรคเริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เฮอร์ปีส์ซิมเพลกซ์ (Herpes simplex virus หรือ HSV)
- มี 2 ชนิด คือ ชนิด HSV-1 และ HSV-2
- HSV-1 มักก่อให้เกิดการติดเชื้อในช่องปากและริมฝีปาก
- HSV-2 มักก่อให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ ระบบประสาท
- โรคเริมชนิดแพร่กระจายทั่วร่างกายในทารกแรกเกิด
- แต่ HSV ทั้งสองชนิดอาจเป็นสาเหตุติดเชื้อกับเนื้อเยื่อส่วนไหนก็ได้เมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำลง เช่น ที่เยื่อหุ้มสมอง สมอง ตา เป็นต้น
- โรคเริมในเด็กแรกเกิดอาจติดจากคุณแม่ได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ แต่มีรายงานการเกิดน้อยมาก
- ทารกจะมีอาการผื่นหรือแผลเริม ตาอักเสบ และขนาดหัวเล็กกว่าปกติ
- ส่วนมากโรคเริมในเด็กแรกเกิดมักเกิดจากการติดเชื้อในช่วงระหว่างการคลอดทางช่องคลอด ถ้าขณะคลอดมารดาติดเชื้อนี้ที่อวัยวะเพศ
อาการของโรคเริมมีอะไรบ้าง?
- อาการของโรคเริมมีได้หลายแบบ ทั้งโรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปาก โรคเริมที่อวัยวะเพศ โรคเริมแบบแพร่กระจายทั่วตัว และโรคเริมในระบบประสาท เป็นต้น
- เมื่อเป็นโรคเริมครั้งแรกจะมีอาการรุนแรง แตกต่างจากอาการที่เป็นซ้ำครั้งต่อๆ มา ที่มักเป็นเพียงรอยอักเสบหรือถลอกเล็กน้อย และหายเร็วกว่า
- โดยเมื่อเป็นครั้งแรกแล้วเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในปมประสาท และเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น เชื้อจะออกมาตามเส้นประสาทและเกิดโรคซ้ำที่ผิวหนังหรือเยื่อบุผิว
บทความนี้จะเน้นที่โรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปาก และโรคเริมแบบแพร่กระจายทั่วตัว ซึ่งพบในเด็ก
โรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปากในเด็กมีอาการอย่างไร?
- โรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปากในเด็กมักจะเป็นครั้งแรกจึงมีอาการมาก
- มีรอยบวมแดงบริเวณที่มีการติดเชื้อ ได้แก่ ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปาก เกิดเป็นตุ่มน้ำใสเป็นกลุ่มๆ อย่างรวดเร็ว แตกเป็นแผล ปวด อาจมีต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้รอยโรคอักเสบและโตขึ้น บางคนอาจมีไข้ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว เกิดขึ้นก่อน
ถึงแม้ว่า เจ้าตัวน้อยจะน่าเอ็นดู น่าจุ๊บซักแค่ไหนก็ตาม ก็ควรหลีกเลี่ยงการจูบเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่จะมีผลต่อลูกน้อยของคุณ
การรักษาโรคเริมในเด็กทำได้อย่างไร?
- คุณหมอรักษาโรคเริมในเด็กได้ด้วยการให้ยาต้านไวรัสเริม ซึ่งมียาหลายตัว และหลายรูปแบบ
- โดยคุณหมอจะพิจารณาให้ตามข้อบ่งชี้ในการรักษาและความรุนแรงของอาการที่เป็น
- ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเริม ดังนั้นการป้องกันโรคเริมจึงทำได้โดย การไม่ให้เด็กสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรค
- คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หากเคยเป็นโรคเริมมาก่อน หรือมีอาการของโรคอยู่ ควรแจ้งให้คุณหมอที่ดูแลทราบด้วย
แม้ภัยจากการจูบจะดูอันตรายและน่ากลัวกว่าที่คิด แต่แน่นอนว่าทุกโรคมีวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ ผู้ปกครองควรหมั่นศึกษาข้อมูลเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ นอกจากนั้นเรายังจะต้องคอยสังเกตและแนะนำคนที่มาเล่นกับลูกน้อยของเราด้วยเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้นกับลูกของเรา
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “ พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง ”
source หรือ บทความอ้างอิง : pedseast.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกไอมาก ลูกไอตอนกลางคืนบ่อย นอนแล้วไอ เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง?
วิธีป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่มากับฝน ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย ต้องทำแบบนี้!
โรคชิคุนกุนยา โรคร้ายที่มาจากยุงลาย กำลังระบาด พ่อแม่สังเกตอาการลูกให้ดี!!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!