X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด ข้อควรปฎิบัติอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้!

บทความ 5 นาที
คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด ข้อควรปฎิบัติอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้!

คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด วิธีปฎิบัติตัวหลังคลอด แม่หลังคลอดต้องดูแลเรื่องอะไรบ้าง เรื่องอะไรบ้างที่ควรรู้ และควรทำหลังจากคลอดลูก

คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด ข้อควรปฎิบัติอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้!

คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด แม่ๆ คนไหนที่กำลังใกล้คลอดกำลังท้องแก่เต็มที่ ต้องไม่ควรพลาดข้อปฏิบัติตัวหลังคลอดของแม่ให้นม ที่จะมาพร้อมเทคนิคและคำแนะนำต่างๆ ให้คุณแม่ได้ปรับสภาพและฟื้นฟูร่างกายได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงข้อควรรู้สำหรับแม่มือใหม่

1. อาหารเลือกทานให้ดี

เรื่องการกินเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับคุณแม่ให้นม เพราะทุกสิ่งที่แม่กินเข้าไปนั้นมักจะถูกถ่ายทอดเป็นน้ำนมไปสู่ลูก ดังนั้นแม่ต้องเลือกอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ ผักสด ผลไม้ ดื่มนม และน้้ามากๆ งดอาหารรสจัดของหมักดอง แอลกอฮอล์ ชา และกาแฟ

2. นอนให้เพียงพอถึงแม้จะยากก็ตาม

ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง ไม่ควรท้างานหนักหรือยกของหนักในระยะหลังคลอด 6 สัปดาห์ เวลานอนคุณแม่ควรปรับหัวเตียงให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้แผลตรงหน้าท้องหย่อนไม่ตึง จะได้ไม่เจ็บแผลมากครับ ส่วนเวลาจะลุกจะนั่งจากเตียงก็ให้ใช้วิธีตะแคงตัวครับ แล้วค่อย ๆ ใช้มือยันตัวลุกขึ้นในท่าตะแคง

3. ทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

โดยปกติแล้ว เราจะอาบน้ำกันวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น แต่แม่ๆ ควรที่จะสระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง บางคนสระทุกวันเลยก็ แลไม่ควรแช่ในอ่างอาบน้้า หรือตามแม่น้ำลำคลองเป็นระยเวลานานๆ นะคะ

สำหรับคุณแม่ที่คลอดโดยการผ่าคลอด จะอาบน้ำเลยก็ไม่ได้ ต้องรอให้ครบ 7 วันก่อน ในระหว่างนั้นแม่ๆ ก็ต้องหมั่นเช็ดตัว และต้องระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ ซึ่งคุณแม่สามารถกลับมาอาบน้ำได้ตอนที่ตัดไหมไปแล้ว หรือต้องรอจนกว่าไหมละลาย

แต่หลังอาบน้ำให้ใช้เพียงผ้าสะอาดธรรมดาเช็ดแผล ไม่จำเป็นต้องใช้แอลกอฮอล์ และไม่ต้องไปทำแผลใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนสะเก็ดที่ติดอยู่ที่แผลก็ไม่ควรแกะออก ควรปล่อยให้ลอกไปเองจะดีกว่า

4. ทำความสะอาดฝีเย็บให้สะอาด

แผลฝีเย็บเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณแม่ทำความสะอาดไม่ดีอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงได้ สำหรับวิธีการ คือ ทำควาามสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งภายหลังจากการขับถ่าย และต้องไม่ลืมเปลี่ยนผ้าอนามับทุกๆ 3-4 ชั่วโมง เมื่อรู้สึกว่าผ้าอนามัยเริ่มชุ่มแล้ว

5. อย่าลืมยาขับเลือดเด็ดขาด

ความเชื่อของคนโบราณบางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อแม่และลูกน้อย เนื่องจากแม่ยังอยู่ในช่วงให้นมลูกการจะทานยาอะไรต้องระวัง จะหยิบทานจากความเคยชินไม่ได้ ทางที่ดีควรปรึกษาคุณหมอที่ดูแลจะดีที่สุดค่ะ เพราะอย่าลืมว่าร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน ยาบางตัวคนนี้ใช้แล้วดี แต่ไม่แน่เราอาจใช้ไม่ได้ผลก็ได้นะคะ ให้คุณหมอวินิจฉัยจะดีกว่าตัวคุณแม่มากกว่าค่ะ

คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด

คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด

6. ฟื้นฟูร่างกายด้วยกายบริหาร

แนะนำให้คุณแม่หาเวลาสำหรับบริหารร่างกายหลังคลอดอยู่เสมอ วิธีการก็ไม่ยาก เพียงแค่คุณแม่นอนคว่ำลง แล้วหาหมอนขนาดพอดีมารองบริเวณท้องน้อย แค่นี้เอง ไม่ยากเลยใช่ไหมค่ะ สำหรับระยะเวลาในการทำก็ทำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น นานครั้งละ 20 นาที ท่านี้จะช่วยขับน้ำคาวปลา ทำให้แม่ๆ สามารถฟื้นฟูร่างกายได้เร็วยิ่งขึ้น ลองทำตามกันดูนะคะ

อีกวิธีที่อยากให้ทำ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สามารถฟื้นฟูสภาพช่องคลอดให้กลับมาสู่สภาพเดิมเหมือนสมัยยังสาว โดยการทำ “Squeeze exercise” หรือการ “ขมิบก้น” โดยควรทำวันละ 20-30 ครั้ง แน่นอนว่าคุณแม่สามารถทำได้ทันทีในหลังจากคลอด หรืออาจจะเริ่มทำในสัปดาห์ที่สองหลังคลอดก็ได้ หากยังรู้สึกเจ็บแผลอยู่ หรือจะทำระหว่างให้นมลูกก็ได้ จะได้ช่วยบริหารกะบังลมให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

7. อยู่ไฟต้องไม่ในช่วงแรก

แม่ๆ ที่คิดจะอยู่ไฟ อยากจะแนะนำว่าไม่ควรอยู่ไฟ หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนมาประคบท้องน้อยในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด หากจะทำต้องรอหลังสัปดาห์ที่ 6 ไปก่อน และต้องไม่กลั้นปัสสาวะ พร้อมทั้งต้องเลือกใส่เสื้อยกทรงขนาดพอเหมาะอีกด้วยนะคะ

8. ยาต้องทานต่อเนื่อง

โดยปกติแล้วคุณหมอจะให้ทานยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด และยาบำรุงเท่านั้น ในระยะหลังคลอด คุณแม่ควรรับประทานอย่างเคร่งครัดต่อเนื่องจนหมดส่วนยาวิตามินธาตุ เหล็ก ก็ควรรับประทานต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน เพื่อช่วยเสริมสร้างทดแทนเลือดที่เสียไปในระหว่างการคลอดและช่วยฟื้นฟูสภาพของร่างกายให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

9. น้ำนมไม่ไหลต้องกระตุ้น

ในช่วง 1-2 วันแรกหลังคลอดอาจจะยังไม่มีน้ำนมไหลออกมาคุณแม่ไม่ต้องตกใจหรือกังวลว่าจะไม่มีน้ำนมให้ลูกกกิน คงต้องอาศัยเวลาบ้าง เทคนิคสำคัญคือ พยายามให้ลูกได้ดูดนมจากอกแม่บ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นน้ำนม ควรดูดนมสลับกันทั้งสองข้างนานอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง และทีสำคัญลูกควรจะดูดอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากเขาหยุดดูดแล้วหลับไปก็ต้องปลูกเขาให้ดูดต่อให้ต่อเนื่อง ถ้าปฏิบัติอย่างถูกต้องก็จะมีน้ำนมไหลภายใน 1-2 วันต่อมา บางคนอาจจะมาช้ากว่านี้ก็ได้น้ำนมที่ออกมาในช่วงแรก ๆ จะมีลักษณะเป็นสีเหลืองใส ๆ คล้ายน้ำเหลือง อันนี้เป็นน้ำนมที่มีความสำคัญมากที่เรียกว่า “Colostrum” หรือนมน้ำเหลือง ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ รวมทั้ง “ภูมิคุ้มกัน” ของแม่ที่จะถ่ายทอดไปให้ลูกด้วย น้ำนมนี้จะช่วยให้ลูกมีถูมิต้านทานต่อเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ดีอีกด้วย นมน้ำเหลืองจะมีอยู่ประมาณ 5 วัน แล้วก็จะขุ่นขาวขึ้นจนกลายเป็นน้ำนมปกติ

10. นมคัดต้องนวด

เมื่อคุณแม่มีอาการ “นมคัด” ก็ควรใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ๆ ประคบโดยรอบเต้านมพร้อมกับนวดเบา ๆ จนทั่วทั้งเต้า หลังจากนั้นก็บีบเอาน้ำนมออก โดยใช้ฝ่ามือขาวประคองเต้านมเอาไว้ กดหัวแม่มือเบา ๆ ที่ส่วนบนของเต้านมนวดลงมาที่บริเวณหัวนมแรงขึ้นตามลำดับ เมื่อนวดมาถึงบริเวณลานหัวนมแล้ว ให้กดบีบที่บริเวณลานหัวนม น้ำนมก็จะพุ่งออกมาจากบริเวรหัวนม คุณแม่ควรระวังหลีกเลี่ยงการบีบที่ตัวหัวนม ซึ่งจะทำให้หัวนมแตกได้ง่าย ถ้าหากว่าคุณแม่ไม่สามารถบีบน้ำนมออกมาได้ถนัดนักอาจจะใช้ที่ปั๊มน้ำนมชนิดที่เป็นยางบีบ ในปัจจุบันมีเครื่องปั๊มน้ำนมแบบไฟฟ้าก็สะดวกดีเหมือนกัน

วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด

วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด

11.จัดการกับหัวนมแตก

เมื่อคุณแม่ประสบปัญหาหัวนมแตก ก็ควรให้ลูกได้ดูดนมอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ไม่เจ็บหัวนมและหัวนมไม่แตกมากขึ้น หลังจากให้นมลูกเสร็จแล้ว ก็เช็ดทำความสะอาดด้วยสำลี ชุบน้ำสะอาด แล้วทาด้วยลาโนลินครีม เพื่อช่วยให้หัวนมอ่อนนุ่มลง หัวนมก็จะหายแตกในเวลาไม่นานนัก เมื่อถึงเวลาให้นมก็เช็ดทำความสะอาดหัวนมอีกครั้ง และให้นมลูกได้ตามปกติ

ในรายที่หัวนมแตกมาก มีเลือดออก มีการอักเสบ หรือมีอาการเจ็บปวดมากขณะให้นมลูกก็ควรหยุดให้นมข้างนั้น อาจใช้วิธีบีบน้ำนมใส่ขวดให้ลูกดูดนมรอจนแผลหายดีแล้วก็ให้ลูกกลับมาดูดได้เหมือนเดิม

12. มีเซ็กซ์หลังคลอดตอนไหนดี

ปกติแล้วจะให้คุณแม่งดการมีเพศสัมพันธ์ใน 3 สัปดาห์แรกหลังคลอด แต่ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลฝีเย็บอักเสบก็อาจต้องงดการมีเพศสัมพันธ์นานกว่านี้ การมีเพศสัมพันธ์ในระยะแรก ๆ คุณพ่อต้องมีความนุ่มนวล ค่อยเป็นค่อยไปเพราะคุณแม่มักจะเจ็บได้ง่ายอีกทั้งความกลัว ความกังวลเกี่ยวกับแผลก็มักจะทำให้คุณแม่ไม่มีอารมณ์ร่วมเท่าที่ควร ทำให้มีการสร้างมูกหล่อลื่นออกมาน้อย ดังนั้นคุณแม่ก็ควรปล่อยตัวตามสบาย ไม่ต้องกังวลกว่าแผลจะปริแยก เพราะมักติดสนิทตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์หลังคลอดแล้ว การร่วมเพศโดยเข้าทางด้านหลัง จะช่วยลดอาการเจ็บที่บริเวณฝีเย็บได้ ลองดูสักครั้งแล้วก็ยาลืมคุมกำเนินด้วยนะครับ

อาการผิดปกติเหล่านี้ แม่ๆ อย่ารอช้า ต้องรีบไปหาหมอด่วน

  1. มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกจากช่องคลอด น้้าคาวปลามีสีแดงสดหลัง 7 วันแล้ว
  2. น้้าคาวปลามีกลิ่นเหม็น แผลฝีเย็บบวมแดงปริแยก
  3. มีไข้สูงติดต่อกัน หนาวสั่น 2 วัน
  4. ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะกระปิดกระปรอย
  5. เต้านมอักเสบ
  6. มดลูกเข้าอู่ช้า คล้าพบก้อนมดลูกตรงหน้าท้องหลัง 2 สัปดาห์
  7. ปวดศีรษะ ปวดท้องน้อยมา

 

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

ที่มา: โรงพยาบาลศรีนครินทร์, นพ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

5 การเปลี่ยนแปลงของแม่หลังคลอดที่คาดไม่ถึง
อาการฟื้นตัวหลังคลอดต้องเป็นแบบนี้!!
7 วิธีการลดหุ่นหลังคลอด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด ข้อควรปฎิบัติอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้!
แชร์ :
  • คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด สำหรับคุณแม่มือใหม่ มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้!

    คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด สำหรับคุณแม่มือใหม่ มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้!

  • รู้ไว้ซะ!! 6 วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด ที่คุณแม่ควรทำ

    รู้ไว้ซะ!! 6 วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด ที่คุณแม่ควรทำ

  • คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด สำหรับคุณแม่มือใหม่ มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้!

    คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด สำหรับคุณแม่มือใหม่ มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้!

  • รู้ไว้ซะ!! 6 วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด ที่คุณแม่ควรทำ

    รู้ไว้ซะ!! 6 วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด ที่คุณแม่ควรทำ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ