TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การเล่นเสริมพัฒนาการ ลูก (1-12 เดือน) อยากให้เบบี๋พัฒนาการดี ลูกต้องเล่นอะไร

บทความ 5 นาที
การเล่นเสริมพัฒนาการ ลูก (1-12 เดือน) อยากให้เบบี๋พัฒนาการดี ลูกต้องเล่นอะไร

การเล่นถือเป็นกิจกรรมสำคัญลูกน้อยเลยก็ว่าได้ นอกจากเด็ก ๆ จะได้รับความสนุกสนานจากการเล่นแล้ว ยังเป็นการเล่นเสริมพัฒนาการแทบทุกด้านให้กับเด็ก ๆ การได้จัดการเล่นที่สอดคล้องกับความสามารถและทักษะตามวัยของลูกได้ถูก ก็ยิ่งส่งเสริมพัฒนาการดีต่อลูกมากยิ่งขึ้นด้วย เรามาดู การเล่นเสริมพัฒนาการ ของลูกกัน ว่ามีอะไรบ้าง

 

ตาราง การเล่นเสริมพัฒนาการ สำหรับลูกน้อยตามวัย

 

การเล่นเสริมพัฒนาการ

 

อายุ 1-3 เดือน

พัฒนาการของหนู ๆ ในช่วงนี้

  • จะเคลื่อนไหวร่างกาย แขน ขา ได้ 2 ข้างเท่ากัน
  • เริ่มสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวโดยใช้สายตาจ้องมองและเคลื่อนสายตาตามวัตถุที่เคลื่อนที่
  • ใช้มือคว้า เอื้อมหยิบสิ่งของที่อยู่ใกล้ ๆ อาจจะจับถูกบ้างผิดบ้าง เนื่องจากการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อตาและมือยังไม่สมบูรณ์

ลูกวัยนี้ควรเล่นอะไร

  • ใช้ของเล่นกระตุ้นสายตา เช่น โมบายล์สีสดใส
  • เสริมทักษะการฟังด้วยของเล่นกรุ๋งกริ๋ง เขย่ามีเสียงดัง หรือเปิดให้ฟังเพลงบรรเลงเบา ๆ
  • การอุ้ม สัมผัส และพูดคุย จะช่วยทำให้ลูกได้ยิ้มและรู้จักตอบสนองต่อเสียงรอบข้าง

 

อายุ 4-5 เดือน

พัฒนาการของหนู ๆ ในช่วงนี้

  • ลูกจะเริ่มจำหน้าพ่อแม่หรือวัตถุสิ่งของที่อยู่ใกล้ ๆ ได้
  • คอแข็ง พลิกคว่ำได้ ใช้แขนได้ดีขึ้น หมุนตัวหรือคืบไปข้างหน้า และพยายามไขว่คว้าสิ่งของที่ต้องการด้วยตัวเอง
  • ชอบถือของเล่นฟาดไปมา หรือชอบเอาของเข้าปาก
  • ยังนั่งด้วยตัวเองไม่ได้

ลูกวัยนี้ควรเล่นอะไร

  • ของเล่นที่ใช้เล่นกับลูกในวัยนี้ควรเป็นของเล่นที่ปลอดภัย ไม่มีคม เพราะเด็กจะชอบเอาเข้าปาก
  • ของเล่นที่ใช้มือจับ เขย่ามีเสียงเมื่อเล่นหยอกล้อจะทำให้ลูกอารมณ์ดี หัวเราะเสียงดัง

 

การเล่นเสริมพัฒนาการ

อายุ 5-6 เดือน

พัฒนาการของหนู ๆ ในช่วงนี้

  • เริ่มเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น
  • อยากรู้อยากเห็นและสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
  • ทารกบางคนสามารถนั่งได้เองแล้ว และเมื่ออุ้มตัวจับยืนจะวางแนบกับพื้น
  • เด็กบางคนจะร้องเมื่อเห็นคนแปลกหน้า

ลูกวัยนี้ควรเล่นอะไร

  • ของเล่นที่จับแกว่งแล้วมีเสียงดัง
  • ยางกัดนิ่ม ๆ
  • ชวนลูกเล่นกับเงาตัวเองในกระจก

 

อายุ 6-7 เดือน

พัฒนาการของหนู ๆ ในช่วงนี้

  • สามารถนั่งพิงเก้าอี้โดยลำพังได้แล้ว
  • เริ่มพิจารณามองสิ่งของอย่างมีรายละเอียดมากขึ้น

ลูกวัยนี้ควรเล่นอะไร

  • ของเล่นประเภทที่มีเสียง เช่น ตุ๊กตาล้มลุก ตุ๊กตาไขลาน ชอบเพลงที่มีจังหวะ

 

อายุ 7-8 เดือน

พัฒนาการของหนู ๆ ในช่วงนี้

  • ลูกคลานได้และเริ่มซน ในวัยนี้พ่อแม่ต้องให้ความสนใจและดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กบางคนชอบปีนป่าย ขึ้นเก้าอี้ คลานขึ้นบันได ชอบรื้อของเล่นออกจากกล่องของเล่น
  • เริ่มมีภาวะทางอารมณ์ใช้มือปัดออกเมื่อไม่ต้องการสิ่งนั้น หรือเมื่อถูกแย่งของจะโกรธและร้องไห้
  • เจ้าตัวน้อยฟันเริ่มขึ้นแล้ว

ลูกวัยนี้ควรเล่นอะไร

  • ใช้ของเล่นที่มีเสียงดนตรี มีจังหวะเพื่อเล่นกับลูกน้อยได้
  • เริ่มสนใจสิ่งของภายในบ้าน และเลือกของเล่นด้วยตัวเอง เช่น ของเล่นที่ไม่ใช่ของเล่นอย่าง โทรศัพท์มือถือ ถังขยะ ของชิ้นใหญ่ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อคลานไปหยิบมาเล่น

 

อายุ 8-9 เดือน

พัฒนาการของหนู ๆ ในช่วงนี้

  • น้องหนูจะคลานได้คล่องขึ้น เริ่มที่จะกลายเป็นวัยซน ปีนป่ายเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน
  • เริ่มเข้าใจความหมายที่พ่อแม่พูดและเปล่งเสียงได้ เช่น หม่ำ ๆ
  • เลียนแบบคำสั่งง่าย ๆ ได้ เช่น “ดีจ้า บ๊ายบาย ธุจ้า”

ลูกวัยนี้ควรเล่นอะไร

  • เล่นจ๊ะเอ๋ ที่จะเสริมทักษะด้านการมองเห็น เด็กจะชอบใจและหัวเราะเสียงดัง
  • ของเล่นที่เคาะแล้วมีเสียงดัง เช่น กลอง ระนาด ทำให้ลูกขยับร่างกายเคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง

 

การเล่นเสริมพัฒนาการ

อายุ 9-10 เดือน

พัฒนาการของหนู ๆ ในช่วงนี้

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
  • สามารถเกาะยืนได้แล้ว เด็กบางคนเริ่มที่จะเกาะเดินตามโซฟา
  • เจ้าตัวน้อยจะเริ่มซนและไม่อยู่นิ่งมากขึ้น
  • สนใจสิ่งของทุกอย่างที่มองเห็น
  • ชอบเลียนแบบท่าทางผู้ใหญ่
  • เริ่มเข้าใจคำศัพท์ เช่นคำว่า “ไม่ โน ๆ ”

ลูกวัยนี้ควรเล่นอะไร

ลูกจะเริ่มมองข้ามของเล่นตัวเอง แล้วหันไปสนใจสิ่งของชิ้นอื่น ๆ ภายในบ้าน เช่น ปลั๊กไฟ แก้วน้ำ ฯลฯ ในวัยนี้นอกจากมีพื้นที่ปล่อยให้ลูกเล่นอย่างอิสระแล้ว พ่อแม่ควรต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อคอยระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการของเด็ก คอยเก็บสิ่งของที่อันตรายขึ้นให้ห่างจากตัวเด็ก หรือไม่ควรวางไว้บนที่สูง เพราะเด็กจะเอื้อมมือและทำให้ตกหล่นลงมาได้

 

อายุ 10-11 เดือน

พัฒนาการของหนู ๆ ในช่วงนี้

  • ทารกวัยนี้จะเริ่มเกาะเดินได้เก่งขึ้น น้องหนูบางคนอาจเริ่มปล่อยมือ ทรงตัวได้ และเริ่มตั้งไข่
  • กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่เริ่มแข็งแรงขึ้น มีแรงที่จะเปิดลิ้นชักรื้อของเล่น เพราะสนใจอยากทดลองทำทั้ง ๆ ที่รู้ว่าห้ามทำ
  • ทารกบางคนเรียกพ่อ แม่ ให้เป็นที่ชื่นใจได้แล้ว

ลูกวัยนี้ควรเล่นอะไร

  • ต่อบล็อก เพื่อเสริมพัฒนาการทางสมองและกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่จากการจับเข้าจับออก
  • ของเล่นไม้ต่าง ๆ เช่น รูปทรง
  • หนังสือภาพ ที่ทำให้ลูกได้เกิดการสัมผัส รู้สึกผิวของวัตถุที่แตกต่างกันไป
  • เล่นเป่าฟองสบู่ เป่ากังหันลมกระดาษ

 

อายุ 11-12 เดือน

พัฒนาการของหนู ๆ ในช่วงนี้

  • ลูกจะเริ่มเดินได้ และค่อย ๆ ไต่ขึ้นบันไดเองได้
  • เริ่มพูดเป็นคำได้ เช่น หมา ไป ไม่ เดิน ฯลฯ เด็กบางคนฟังรู้เรื่อง แต่อาจจะยังไม่ยอมพูด
  • ชอบออกไปเที่ยวนอกบ้าน และมองนู้นนี่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น

ลูกวัยนี้ควรเล่นอะไร

  • ลูกเริ่มที่จะสนุกกับการเห็นสิ่งต่าง ๆ พ่อแม่สามารถชวนลูกมาเป็นเดินเล่นสำรวจทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน เล่นสนามเด็กเล่น
  • ของเล่นที่จะเสริมพัฒนาการและได้ความสนุก เช่น รถลาก แกว่งชิงช้า ม้าโยก ม้าหมุน

 

จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่าเด็ก ๆ แต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการเล่นที่แตกต่างกัน โดยเริ่มจากการมองและฟังก่อน แล้วค่อย ๆ พัฒนาเรื่อย ๆ ซึ่งของเล่นก็มีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กของเด็ก ๆ แข็งแรงนะคะ เช่น การต่อบล็อก การเปิดหนังสือผ้า การเล่นตุ๊กตา เป็นต้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย เล่นกับลูก เสริมพัฒนาการ ปั้นความฉลาดได้ตั้งแต่แรกเกิด

แนะนำ 10 หนังสือเด็ก 3 ขวบ เสริมพัฒนาการ ด้านความคิด การสังเกต !

เหตุผลที่การเล่นต่อบล็อก เสริมพัฒนาการให้ลูกได้อย่างดี

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • การเล่นเสริมพัฒนาการ ลูก (1-12 เดือน) อยากให้เบบี๋พัฒนาการดี ลูกต้องเล่นอะไร
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

powered by
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว