ลูกโป่งฟองสบู่ เสริมพัฒนาการ
ลูกโป่งฟองสบู่เสริมพัฒนาการ
ดวงตาของเด็กทารกยังไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับการได้ยินที่พัฒนาเต็มที่เมื่อทารกมีอายุ 1 เดือน สายตาของลูกค่อย ๆ พัฒนาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งลูกมีอายุ 4 เดือน ลูกเริ่มมีการรับรู้ความลึกของวัตถุ แต่อาจจะยากสักหน่อยที่ลูกจะรู้ตำแหน่ง ขนาด รูปร่างของวัตถุ แล้วรอคำสั่งจากสมองให้เอื้อมมือไปคว้าวัตถุเหล่านั้น พอลูกอายุ 6 เดือน ลูกเริ่มนั่งได้ สายตาของลูกสามารถมองได้ไกลขึ้น ในวัยนี้เป็นวัยที่สมองสามารถสั่งการให้การเคลื่อนไหวและสายตาทำงานประสานกัน ดังนั้นคุณจึงสามารถช่วยให้ฝึกให้ลูกพยายามคว้าของเล่นที่มีที่จับ เขย่าแล้วมีเสียงได้ ไม่อย่างนั้นลูกอาจจะดึงผมหรือต่างหูของคุณแทน
การเล่นเป่าลูกโป่งฟองสบู่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการการทำงานร่วมกันของการมองเห็นและการเคลื่อนไหวของลูก คุณสามารถเล่นเกมส์นี้กับลูกได้เกือบทุกที่ เช่น เป็นกิจกรรมที่คุณสอดแทรกระหว่างอาบน้ำ เพื่อให้ลูกสนุกกับการอาบน้ำมากขึ้น ที่สำคัญคุณยังทำความสะอาดคราบฟองสบู่ได้ง่ายอีกด้วย นอกจากนี้คุณอาจจะเล่นกับลูกเวลาออกไปที่ส่วนสาธารณะหรือแม้แต่เล่นในห้องก็ได้เช่นกัน
เวลาที่คุณเล่นกับลูก คุณควรเป่าลูกโป่งฟองสบู่ให้เป็นวงกว้างให้ลูกโป่งกระจายตัวห่างจากลูกแต่ยังคงอยู่ในระยะที่เด็กสามารถมองตามทันแล้วตัดสินใจเอื้อมมือไปคว้าฟองสบู่เล่นกับคุณ
การเล่นเป่าลูกโป่งฟองสบู่เป็นการช่วยเสริมพัฒนาการของลูกวิธีหนึ่ง แต่คุณอย่าเพิ่งคาดหวังว่าลูกจะโต้ตอบคุณและอย่าท้อแท้หากลูกอยู่เฉย ๆ เท่านั้น ลองหาวัตถุอื่น ๆ หรือของเล่นโปรดเพื่อลองเรียกความสนใจของลูกดูแล้วจึงค่อย ๆ พัฒนามาเป็นการเล่นเป่าลูกโป่งฟองสบู่ก็ได้ค่ะ
ตัวอย่างวิดีโอเล่นเป่าฟองสบู่เสริมพัฒนาการ
ขอบคุณข้อมูลและสถานที่จากภาควิชากาพภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เด็กๆ (และผู้ใหญ่บางคน) ชอบเล่นเป่าฟองสบู่จนซื้อใหม่แทบไม่ทัน บทความวิกิฮาวนี้เลยจะมาแนะนำวิธีการผสมน้ำยาเป่าฟองสบู่ไว้ใช้เองซะเลย เป็นสูตรง่ายๆ ทำเองได้สบาย เช่น ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำนิดหน่อย ถ้าอยากได้ฟองสบู่แบบไม่ยอมแตกง่ายๆ ก็ต้องผสมน้ำตาลหรือกลีเซอรีนเพิ่มเข้าไป ถ้าฟองสบู่แบบเดิมๆ มันจืดชืด ก็ใส่สีผสมอาหารหรือกลิ่นวานิลลาไปด้วยซะเลย!
ส่วนประกอบ
-
น้ำอุ่น 4 ถ้วยตวง (950 มล.)
-
น้ำตาลทรายป่น 1/2 ถ้วยตวง (120 กรัม)
-
น้ำยาล้างจาน 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.)
-
น้ำเปล่า 6 ถ้วยตวง (1.5 ลิตร)
-
แป้งข้าวโพด (cornstarch) 1/2 ถ้วยตวง (70 กรัม)
-
น้ำยาล้างจาน 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.)
-
ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ (13 กรัม)
-
กลีเซอรีน (glycerin) หรือน้ำเชื่อมข้าวโพด (corn syrup) 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.)
-
น้ำอุ่น 1 1/4 ถ้วยตวง (300 มล.)
-
น้ำตาลทรายป่น 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
-
น้ำยาล้างจาน 1/3 ถ้วยตวง (80 มล.)
-
สีผสมอาหาร
-
น้ำอุณหภูมิห้อง 1 ถ้วยตวง (240 มล.)
-
สบู่เหลวไม่แต่งกลิ่นหรือสบู่เด็ก 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.)
-
น้ำมันหอมระเหยหรือสารสกัด
-
กลีเซอรีนหรือน้ำเชื่อมข้าวโพด 2 – 4 ช้อนโต๊ะ (30 – 60 มล.) (ไม่จำเป็น)
-
ฟองสบู่ธรรมดา
1
เทน้ำอุ่น 4 ถ้วยตวง (950 มล.) ใส่ขวดโหลขนาดใหญ่. จะใช้ภาชนะอื่นก็ได้ เช่น เหยือก หรือชามใบใหญ่ ขอแค่ใหญ่พอจะจุน้ำมากกว่า 4 ถ้วยตวง (950 มล.) นิดหน่อย จะได้เว้นที่เผื่อไว้สำหรับใส่ส่วนผสมอื่นๆ[1]
- จะใส่น้ำน้อยกว่านี้ก็ได้ แล้วปรับปริมาณของส่วนผสมอื่นๆ ให้สัมพันธ์กัน
- อุณหภูมิของน้ำก็ไม่จำเป็นต้องเป๊ะๆ จะใช้น้ำร้อนจากก๊อกก็ได้ แต่ถ้าเป็นน้ำกลั่นได้จะดีที่สุด
2
ผสมน้ำตาลทรายป่น 1/2 ถ้วยตวง (120 กรัม) แล้วคนให้เข้ากัน. จะใช้เวลานานแค่ไหน ก็แล้วแต่ว่าใช้น้ำอุ่นหรือร้อนแค่ไหน แต่ไม่ควรนานเกิน 2 – 3 นาที[2]
- ถ้าใช้ขวดโหล ก็ให้ปิดฝาแน่นๆ แล้วเขย่าให้เข้ากันซะเลย
- อาจจะฟังดูแปลกๆ ที่ให้ผสมน้ำตาลในน้ำยาเป่าฟองสบู่ แต่บอกเลยว่าน้ำตาลจะช่วยยึดส่วนผสมต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ฟองสบู่ที่เป่าไปไม่แตกง่ายเหมือนเดิม!
- ถ้าบังเอิญไม่มีน้ำตาลติดบ้าน จะไม่ใส่ก็ได้ แต่ก็แน่นอนว่าฟองสบู่จะแตกง่ายหน่อย
3
คนผสมน้ำยาล้างจาน 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.) เข้าไป. ระวังอย่าใส่เยอะเกินไป! ให้ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำ แต่อย่าตีให้แตกฟอง[3]
- ถ้าใช้ขวดโหล ก็ให้คนผสมโดยใช้ช้อนด้ามยาว ห้ามปิดฝาแล้วเขย่า
- หลายคนใช้น้ำยาล้างจานยี่ห้อ Dawn สีฟ้า แล้วเห็นผลที่สุด แต่จริงๆ จะใช้ยี่ห้อไหนก็ตามสะดวก
4
ทิ้งไว้ 2 – 3 ชั่วโมง แล้วค่อยเอามาเป่าเล่น. ถ้าทิ้งไว้ข้ามคืนได้ยิ่งดี เพราะพอเราทิ้งน้ำยาไว้แล้วทำให้เกิดฟองสบู่เยอะกว่าเดิม[4]
- เก็บน้ำยาเป่าฟองสบู่นี้ไว้ในที่มืดๆ เย็นๆ ถ้าแช่ตู้เย็นไว้จะยิ่งอยู่ได้นานเข้าไปอีก
- แต่แนะนำให้รีบเอามาเป่าเล่นให้เร็วที่สุด เพราะพอผสมน้ำตาลเข้าไปแล้ว อายุการใช้งานจะอยู่ที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์
พัฒนาการทารกวัย 0-1 ปี
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/68706/-parpres-par-parsch-
ลูกโป่งฟองสบู่ เสริมพัฒนาการ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!