การเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย
การเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย วิธีเล่นกับลูกแต่ละช่วงวัย การเล่นกับลูกที่เสริมพัฒนาการ เล่นกับลูกได้ตั้งแต่วัยทารก
เล่นกับหนูนะแม่! แค่เล่นกับลูกให้เหมาะกับช่วงวัย ปั้นความฉลาดได้ตั้งแต่แรกเกิด
เพจตามใจนักจิตวิทยา แนะนำการเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย ว่า สำหรับเด็กการเล่นช่วยพัฒนาเขาในทุกๆ ด้านที่จำเป็นต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข (ผู้ใหญ่ที่มีความสุขส่วนใหญ่ มักจดจำได้ว่า ในวัยเด็กของพวกเขาได้เล่นอย่างมีความสุข) เพราะขณะที่เล่น เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญในการใช้ชีวิต เช่น การแก้ปัญหา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเข้าสังคม การค้นพบความชอบ และตัวตนของเขาบางส่วน
ขั้นพัฒนาการ ‘การเล่น’ ของเด็กแต่ละวัย การเล่นของเด็กตั้งแต่แรกเกิด
ขั้นที่ 1 Unoccupied Play (เด็ก 0-3 เดือน)
เด็กวัยนี้จะเล่นผ่านเคลื่อนไหวร่างกายตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการขยับแขนขา หน้าตา และการสำรวจสภาพแวดล้อมรอบร่างกายตนเองเท่านั้น ดังนั้นหากสภาพแวดล้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัย เมื่อเด็กทำอะไรไม่ได้ด้วยตนเอง พอเขาร้อง มีผู้ใหญ่ตอบสนองเขา เด็กจะค่อยๆ พัฒนา
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ส่งเสริมการเล่นของเด็กวัย 0-3 เดือน คือ การตอบสนองที่เพียงพอและเหมาะสมของผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กเป็นหลัก (Primary care giver-พ่อแม่และผู้ปกครอง) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัยสำหรับเด็ก เป็นพื้นที่ที่เด็กสามารถวางใจ เรียนรู้ และเล่นเพื่อเติบโตต่อไป
การเล่นของเด็ก แต่ละช่วงวัย 3
ขั้นที่ 2 Solitary Play (เด็ก 0-2 ปี)
เด็กแรกเกิดจนถึงวัย 2 ปี การเล่นของเขายังต้องอาศัยผู้อื่นช่วยสร้างความสนุกให้กับเขา เขาจะใช้ร่างกายเพิ่มแสวงหาการตอบสนองจากคนรอบตัวเขา เช่น การเล่นจ๊ะเอ๋ เด็กจะเอาผ้าคลุมตัวเอง แล้วโผล่หน้าออกมา หากคนรอบตัวหรือผู้ใหญ่รอบตัวเขาเล่นด้วยโดยการส่งเสียง ทำหน้าทำตาตอบสนองการเล่นของเขา เด็กจะฝึกการเล่นที่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น นอกจากนี้เด็กวัยนี้ต้องการการเล่นที่ใช้ร่างกายตอบสนองต่อร่างกาย เช่น การกอด การหอม การเป่าพุงให้เกิดเสียง และการเล่นอื่นๆ ที่ใช้ร่างกายในการเล่น และไม่ซับซ้อนจนเกินไป เป็นการเล่นเเบบ Cause and effect play คือ เล่นอะไรไปแล้ว ได้รับการตอบสนองทันที เช่น กดปุ่มแล้วได้ยินเสียง เทน้ำแล้วน้ำไหลลงไป กลิ้งบอลไปแล้วมีคนรับแล้วส่งกลับมาให้เขา เป็นต้น
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ส่งเสริมการเล่นของเด็กวัย 0-2 ปี คือ การที่ผู้ใหญ่ต้องเอาตัวเองลงมาเล่นกับลูกนั่นเอง
การเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย
ขั้นที่ 3 Spectator/Onlooker Behaviour (2 ปี)
เด็กวัย 2 ปีจะเริ่มสังเกตว่า เด็กคนอื่นๆ เล่นอะไร เขาจะสนใจเลียนแบบการเล่นของเด็กวัยใกล้เคียงกับตนเองมากกว่าเลียนแบบการเล่นของเด็กที่วัยต่างกับเขามาก (อายุมากกว่าหรือเด็กกว่ามาก) เพราะเด็กวัยนี้เริ่มสนใจเด็กวัยเดียวกับตนเองมากขึ้น แต่ยังไม่รู้วิธีการเข้าไปเล่นกับเด็กคนอื่น เขาจึงใช้การเลียนแบบ แทนการแสดงออกถึงความสนใจในเด็กคนอื่น (สนใจสังคม)
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ส่งเสริมการเล่นของเด็กวัย 2 ปี คือ การที่ผู้ใหญ่เล่นไปเด็ก (เล่นให้เขาดู แต่ไม่ใช่การสั่งให้เขาเล่นตาม เราเล่นของเราไปเรื่อยๆ ถ้าเขาสังเกตเห็น และอยากเล่นแบบเรา เขาจะเลียนแบบการเล่นของเราเอง บางทีเขาจะเก็บข้อมูลไว้ แล้วไปเล่นแบบที่เราเล่นในครั้งต่อไปก็เป็นได้) หรือ ถ้าเขามีโอกาสไปเล่นกับเด็กวัยเดียวกับเขา ก็ลองปล่อยให้เขาได้เล่นในบริเวณเดียวกับเด็กคนอื่นๆ ดู และเราสังเกตดูแลความปลอดภัยอยู่ห่างๆ
การเล่นของเด็ก แต่ละช่วงวัย4
ขั้นที่ 4 Parallel Play (2 ปีขึ้นไป)
เด็กวัย 2 ปีขึ้นไปยังไม่เล่นร่วมกับเพื่อนนัก พวกเขายังเล่นในสิ่งที่ตนเองสนใจเป็นหลัก แต่พวกเขาสามารถเล่นในบริเวณเดียวกับเด็กคนอื่นได้ เช่น เล่นทรายบ่อเดียวกัน แต่เล่นกับอุปกรณ์คนละอย่าง หรือ เล่นในห้องเดียวกัน แต่เล่นของเล่นของใครของมัน ดังนั้นการแบ่งปัน การผลัดกันเล่น การเล่นตามกติกา ยังไม่เกิดขึ้นในวัยนี้
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ส่งเสริมการเล่นของเด็กวัย 2 ปีขึ้นไป คือ การให้เขาได้เล่นในสิ่งที่เขาสนใจ และสิ่งที่ผู้ใหญ่สามารถช่วยปูพื้นฐานการเล่นในวัยนี้ได้ คือ การให้กติกาอย่างง่าย เช่น ไม่ทำให้ตัวเอง หรือ ผู้อื่นเจ็บตัว เล่นแล้วเก็บ ไม่ทำลายข้าวของ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม การเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิดถึง 4 ปี
การเล่นของเด็ก แต่ละช่วงวัย2
การเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัยสำคัญที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือคนในครอบครัว จะต้องมีส่วนร่วมในการเล่นกับลูก ยิ่งได้ใกล้ชิดเล่นกับทารกตั้งแต่แรกเกิด ก็ยิ่งทำให้ลูกฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สำหรับของเล่นของลูก ไม่จำเป็นต้องแพง เพราะลูกจะมีพัฒนาการที่ดีได้ ต้องมีคนเล่นด้วย และพ่อแม่ก็คือของเล่นที่ดีที่สุด เหมาะสมกับพัฒนาการของลูกในทุกช่วงวัย
ที่มา : เพจตามใจนักจิตวิทยา
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทำไมลูกถึงชอบกัด เดี๋ยวกัดแม่ กัดของเล่น เป็นเพราะอะไร โตไปลูกจะก้าวร้าวไหม
วิธีเลือกของเล่นให้ลูกแต่ละช่วงวัย ซื้อแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยมากที่สุด
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารก ชั่งน้ำหนักทารก วัดความยาวทารก วัดเส้นรอบศีรษะลูก ลูกโตตามเกณฑ์ไหม
โรคในทารกแรกเกิด โรคที่พบบ่อย ทารก 0-1 ปี ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย การแก้ไขเบื้องต้น
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!