100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 41 การทานยาบำรุงเลือด สำหรับแม่ท้อง

การทานยาบำรุงเลือด เป็นสิ่งที่แม่ ๆ หลายคนสงสัย ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับการทานยาบำรุงเลือดมาแบ่งปันคุณแม่กัน มาดูกันว่ายาบำรุงเลือดมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
การทานยาบำรุงเลือด เป็นสิ่งที่แม่ ๆ หลายคนสงสัย ทำไมต้องทานยาบำรุงเลือด ตัวยาส่งผลอย่างไรบ้าง วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับการทานยาบำรุงเลือดมาแบ่งปันคุณแม่กัน มาดูกันว่ายาบำรุงเลือดมีประโยชน์อย่างไรกับแม่ท้องบ้าง
ยาบํารุงเลือด
ยาบำรุงเลือด หรือที่เรียกกันว่าธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาของตัวอ่อน และรก รวมถึงการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงของมารดา ปริมาณของธาตุเหล็กที่ต้องสูญเสียไปในระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมบุตรนั้นอยู่ที่ประมาณ 1,000 มิลลิกรัม ดังนั้นการให้ธาตุเหล็กเสริมระหว่างตั้งครรภ์ 15 – 30 มิลลิกรัมต่อวัน นั้นมีความพอเพียงกับคุณแม่ที่ไม่มีภาวะซีดอยู่ก่อน และสามารถลดการเกิดภาวะซีดช่วงคลอดได้ ในบางรายที่มีผลข้างเคียงจากการทานยาธาตุเหล็กก็สามารถที่จะให้ทานเพียงอาทิตย์ละ 1 – 3 ครั้งก็ได้โดยที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะซีดได้เท่ากัน สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ควรที่จะได้รับการเสริมธาตุเหล็ก 30 – 120 มิลลิกรัมต่อวัน จนกระทั่งความเข้มข้นของเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

การทานยาบำรุงเลือด
ประเภทของยาบำรุงเลือด
ยาในกลุ่มนี้มีจำหน่ายทั้งชนิดเป็นยาเดี่ยวและในรูปแบบยาบำรุงเลือดหลายชนิดผสมเป็นวิตามินรวมในเม็ดเดียว เนื่องจากการสร้างเม็ดเลือดแดงต้องอาศัยสารอาหารหลายชนิดร่วมกัน ได้แก่ ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และโฟเลต
- สารประกอบของธาตุเหล็ก (Ferrous Compound) เช่น เฟอร์รัสซัลเฟต (Ferrous Sulfate) เฟอร์รัสกลูโคเนต (Ferrous Gluconate) เฟอร์รัสฟิวมาเรต (Ferrous Fumarate)
- วิตามินบี 12 (Vitamin B12) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “ไซยาโนโคบาลามีน (Cyanocobalamine)” เช่น ไซยาโนโคบาลามีน (Cyanocobalamin) และไฮดรอกโซโคบาลามิน (Hydroxocobalamin)
- กรดโฟลิก (Folic acid) หรือนิยมเรียกว่า “โฟเลต (Folate)”

การทานยาบำรุงเลือด
ส่วนยาในกลุ่มนี้เป็นยาเฉพาะ แพทย์จะสั่งจ่ายเฉพาะในผู้ป่วยบางรายที่มีความผิดปกติของระบบเลือด กล่าวคือ ผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง แต่ร่างกายยังสามารถสร้างเม็ดเลือดเองได้
- ยากระตุ้นการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดแดง (Erythropoiesis-Stimulating Agent : ESAs) เช่น ยาอิโพอิติน (Epoetin) หรืออีพีโอ (EPO)
- ยากระตุ้นให้มีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแกรนูโลไซต์ (Granulocyte Colony-Stimulating Factor : G-CSF) เช่น ยาฟิลกราสทิม (Filgrastim) เพกฟิลกราสทิม (Pegfilgrastim) ลีโนกราสทิม (Lenograstim)
- ยากระตุ้นให้มีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแกรนูโลไซต์และเซลล์มาโครฟาจ (Granulocyte-Macrophage Colony-Stimulating factor : GM-CSF) เช่น ยาซาร์กรามอสทิม (Sargramostim)
หากแม่ท้องขาดแคลเซียมจะเป็นอย่างไร?
ในช่วงที่คุณแม่ตั้งท้องควรได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้น เพราะหากขาดแคลเซียมจะทำให้แม่ท้องเกิดอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเรียกว่าเป็น “ตะคริว” ขึ้นมาง่าย ๆ นั้นเอง ซึ่งแม่ท้องส่วนใหญ่จะเป็นตะคริวมากถึงร้อยละ 26.8 และเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 25 สัปดาห์ มักจะเป็นบริเวณน่องและเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งทั้งที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก ดังนั้นหากคุณแม่ได้รับการเสริมแคลเซียมก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นและช่วยลดการเกิดตะคริวในแม่ท้องได้
ในอีกกรณีคือทารกในท้องจะมีการดึงแคลเซียมจากคุณแม่ไปใช้ประมาณ 2.5% ของแคลเซียมในตัวแม่ หากคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อยก็จะส่งผลเสียต่อตัวคุณแม่ในระยะยาว คือทำให้ฟันผุง่ายขึ้น กระดูกเปราะบางและผุได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลในช่วงวัยทอง ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอทั้งต่อตัวเองและลูกน้อยในครรภ์

การทาน ยาบำรุงเลือด
กินแคลเซียมและยาบํารุงเลือดอย่างไร ดีต่อแม่ท้องและลูกที่สุด
ยาเสริมธาตุเหล็กกับแคลเซียมมีอันตรกิริยา หรือภาษาทั่วๆ ไปเรียกว่าตีกันนั่นเอง โดยยาเสริมแคลเซียมในรูปของ calcium carbonate จะไปเพิ่มความเป็นด่างในกระเพาะอาหารทำให้เกลือ carbonate ของ calcium ไปจับกับ Ferrous ได้เป็นสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ งผลให้การดูดซึมของธาตุเหล็กลง อย่างไรก็ตาม
คุณแม่สามารถเลี่ยงปฎิกิริยาระหว่างยาทั้งสองได้โดยรับประทานห่างกันประมาณ 2 ชั่วโมง หรือทานแยกมื้อกันไปเลยก็ได้ค่ะ เช่น ถ้าคุณแม่ลองทานยาเสริมธาตุเหล็กก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วไม่คลื่นไส้ ก็ให้ทานก่อนอาหารมื้อเช้าไปได้ก็ดีค่ะ เพราะธาตุเหล็กจะดูดซึมดีที่สุดตอนท้องว่าง แต่ถ้าคลื่นไส้ก็เปลี่ยนไปทานหลังอาหารจะช่วยได้ค่ะ หากทานตามด้วยผลไม้ เช่น ส้มยิ่งดีค่ะเพราะวิตามินซีช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก แล้วคุณแม่ก็ค่อยกินแคลเซียมพร้อมหรือหลังอาหารมื้อกลางวันหรือเย็น ดื่มน้ำตามมากๆ หน่อยนะคะคุณแม่ เพราะจะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องผูก จากแคลเซียม
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ระวัง!!! ยาชาและยากล่อมประสาทเกินขนาด ในเเม่ท้องกระทบลูกในครรภ์