ปัจจัยการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ ไปจนถึงเด็กเล็ก มีหลายสาเหตุ ทั้งอุบัติเหตุไม่คาดฝัน เรื่องใกล้ตัว หรือแม้แต่ปัจจัยที่เกิดมาจากพ่อแม่เอง และนี่คือ13 อย่าง ที่ พ่อแม่ต้องเลี่ยง ถ้าไม่อยากให้ ลูกตายก่อนวัย
เรื่องที่ พ่อแม่ต้องเลี่ยง ถ้าไม่อยากให้ ลูกตายก่อนวัย อันควร
เด็ก ๆ เสียชีวิตจากอะไรบ้าง
- ภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด
- การคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกคลอดต่ำ
- อาการตายเฉียบพลันในทารก
- อุบัติเหตุการจมน้ำ
- อุบัติเหตุจราจร
เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ในเด็กทารกและเด็กวันเตาะแตะ บางอย่างต้องมีการวางแผนล่วงหน้า บางอย่างมีการป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ มาดูกันค่ะว่า ถ้าไม่อยากให้ลูกตายก่อนวัยอันควร ควรจะต้องรู้อะไร ทำอะไรบ้าง
1.ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
เพราะสุขภาพก่อนแต่งและก่อนท้องก็สำคัญเช่นกันนะคะ หากคุณพ่อคุณแม่เป็นโรคบางโรค เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคดาวน์ซินโดรม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะนอกจากจะทำให้การตั้งครรภ์มีความเสี่ยงและมีโรคแทรกซ้อนมากมายแล้ว ยังทำให้สุขภาพของทั้งตัวแม่เอง และสุขภาพลูกที่อยู่ในครรภ์อ่อนแอ และเสี่ยงเสียชีวิตได้ค่ะ
บทความ : หมอเตือนโรคต้องห้ามอย่าเพิ่งท้อง
2.แม่ท้องต้องดูแลครรภ์
สำหรับว่าที่คุณแม่นั้น นอกจากการกินอาหารให้ครบห้าหมู่ ได้รับสารอาหารที่จำเป็น เช่น โฟลิค และยาบำรุงเลือดแล้ว หากไม่ดูแลตัวเอง ยังมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ใช้หรือรับประทานวิตามินเอ เหล้ายังกิน บุหรี่ยังสูบ ไม่นับลูกดิ้น ไม่ยอมดูแลครรภ์ให้ดี ก็อาจจะทำให้สูญเสียลูกตั้งแต่อยู่ในท้องค่ะ
บทความ : ลูกตายในท้อง! แม่ท้องต้องระวัง สัญญาณร้ายส่อแววลูกตายในท้อง
3.คุณพ่อก็ต้องดูแลตัวเองด้วย
สุขภาพแม่ก่อนที่จะท้องนั้น สำคัญไม่แพ้ไปกว่าการดูแลตัวเองของคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ค่ะ สำหรับว่าที่คุณพ่อก็เช่นกันนะคะ หากอยากให้ลูกแข็งแรงไม่มีโรคภัย ไม่ป่วยง่าย และไม่เสี่ยงเสียชีวิต ก็จำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเองเช่นกันค่ะ
บทความ : 7 เคล็ดลับสำหรับผู้ชายที่อยากมีลูก
4.ป้องกันครรภ์เป็นพิษ
หมายถึงคุณแม่ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะที่ตั้งครรภ์ การป้องกันทำได้โดย
- ลดการกินเค็มหรือไม่กินอาหารที่มีโซเดียมสูง
- ดื่มน้ำมากขึ้นในแต่ละวัน อาจจะใช้วิธีจิบบ่อย ๆ แทนการดื่มรวดเดียว
- งดแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
- กินโปรตีนมากขึ้นในแต่ละมื้อ
- ลดการกินไขมัน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายเบา ๆ
ทั้งนี้ครรภ์เป็นพิษสามารถดูแลรักษาได้ หากประพฤติตัวตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดค่ะ
บทความ : ครรภ์เป็นพิษ อาการร้ายใกล้ตัวคนท้อง ไม่อยากเป็นต้องทำอย่างไร
5.ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
การคลอดก่อนกำหนดนั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่การป้องกันการคลอดก่อนกำหนดที่ทำได้ง่าย ๆ นั้น อย่างเช่น
- ไม่หักโหมทำงานหนักจนเกินไป
- ไม่เครียดและออกแรงมากเกินไป
- งดการมีเซ็กซ์และกระตุ้นตามอวัยวะที่ไวต่อการสัมผัสเนื่องจากส่งผลต่อการบีบรัดของมดลูก
- ไม่ควรมีลูกติดกันจนเกินไป ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 18 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
- ไม่ลดน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากมีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดสูงในไตรมาสที่สอง
- หากลูกในครรภ์ตัวเล็ก อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ ดังนั้นจึงควรดูแลโภชนาการให้ครบถ้วนและออกกำลังกายเบา ๆ สม่ำเสมอ
บทความ : 8 ข้อต้องทำ ป้องกันการคลอดก่อนกําหนด ถ้าไม่อยากให้ลูกต้องออกก่อนกำหนด!!
6.ป้องกันจากการตายเฉียบพลัน
การตายเฉียบพลัน หรือ SIDs นั้น เป็นภาวะการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของหลาย ๆ ประเทศ มีคำแนะนำถึงวิธีป้องกันไว้ดังนี้ค่ะ
- ไม่ควรให้ลูกนอนตะแคงหรือนอนคว่ำ ท่านอนที่ปลอดภัยที่สุดคือนอนหงาย
- จัดเตียงให้ปลอดภัยที่สุด นั่นคือไม่ควรมีอะไรอยู่บนเตียง และผ้าคลุมเตียงควรปูให้ตึงที่สุด
- การนอนห้องเดียวกับลูกช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกตัวได้ไว และลดการเสียชีวิตเพราะ SIDs ได้
บทความ : วิธีป้องกันลูกน้อย จากการตายเฉียบพลัน
7.ป้องกันจากการป้อนอาหารก่อนวัย
ไม่ว่าจะเป็นกล้วยหรือน้ำ ที่คนเฒ่าคนแก่นิยมป้อนให้หลาน ๆ นั้น ล้วนทำบนพื้นฐานของความรักความเป็นห่วงลูกหลาน แต่ถ้าผลที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ลูกเราต้องเสียชีวิตหรือร่างกายไม่แข็งแรงเป็นปกติอีกละ จะรับมือยังไงดีน้า
บทความ : รับมือ “ปู่ย่าตายาย” เรื่องป้อนอาหารลูกยังไง ให้ได้ผล
8.ป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน
อุบัติเหตุกับเด็กเล็ก ๆ สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ในบ้านที่คุณพ่อคุณแม่อาจวางใจว่าปลอดภัยนะคะ สิ่งที่ต้องทำคือป้องกันตามจุดเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ปลั๊กไฟต้องซื้อที่ปิดมาปิดให้หมด หน้าต่างประตูต้องมีที่ล็อคไม่ให้เด็ก ๆ เปิดเองได้ เหลี่ยมมุมของโต๊ะตู้ต้องหุ้มที่กันกระแทก ชักโครกห้องน้ำเด็ก ๆ ต้องเปิดเองไม่ได้ บ้านไหนที่มีบันไดต้องมีที่กั้นบันได หากมีสระว่ายน้ำต้องมีที่กั้น หรือที่คลุมสระกันตก เครื่องไม้เครื่องมือที่แหลมคมต้องอยู่พ้นมือเด็ก ๆ ลิ้นชักก็ไม่ควรให้เด็ก ๆ เปิดเองได้ค่ะ
นอกจากนี้เศษต่าง ๆ หรือของที่หักได้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยก็ไม่ควรมีอยู่ในที่ ๆ เด็ก ๆ จะเอื้อมถึงค่ะ เพราะนอกจากเข้าไปในรูจมูกได้แล้วปิดกั้นทางเดินหายใจได้แล้ว เด็ก ๆ ยังสามารถกินเข้าไปและทำอันตรายต่ออวัยวะภายในอีกด้วยค่ะ
บทความ : 15 ไอเดียประหยัดจัดบ้านให้ปลอดภัยสำหรับลูกเตาะแตะ
9. ป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน
ที่นั่งเด็กในรถยนต์ คาร์ซีท หรือ Child seat อาจไม่จำเป็นมากนักเมื่อ 30-40 ปีก่อน ตอนที่อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุยังไม่สูงขนาดนี้ หากคุณพ่อคุณแม่มีรถยนต์ ควรให้ลูกนั่งที่นั่งสำหรับเด็กได้ตั้งแต่แรกเกิดเลยนะคะ เพราะแน่นอนว่าอุบัติเหตุไม่เลือกเกิดเฉพาะตอนที่ลูกโตแล้วค่ะ ทั้งนี้ก็ยังมีเรื่องของการลืมเด็กไว้บนรถด้วยเช่นกันนะคะ ที่เป็นอีกหนึ่งอุบัติเหตุที่น่าสลดในเป็นที่สุดค่ะ
นอกจากนั้นอุบัติการขับรถทับเด็กก็เป็นอีกหนึ่งอุบัติเหตุที่เห็นได้บ่อยในหน้าหนังสือพิมพ์นะคะ ทั้งที่เกิดในรั้วประตูบ้าน และเกิดตามท้องถนนค่ะ ทั้งที่เป็นอุบัติเหตุที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะป้องกันได้ค่ะ ทั้งการปิดประตูบ้าน ไม่ให้เด็กเล็ก ๆ คลานหรือเดินออกไปยังที่จอดรถ และการดูจุดบอดทั้งหมดก่อนที่จะถอยรถ
บทความ : คาร์ซีท ใช้ตอนกี่เดือน ทารกแรกเกิดนั่ง Car Seat ได้ไหม
10.ป้องกันจากโรคภัยไข้เจ็บ
วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะป้องกันลูกน้อยจากโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นมากมายในทุกวันนี้ คือการฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้ครบตามกำหนดค่ะ และพิจารณาการฉีดวัคซีนเสริม ถ้าลูกน้อยเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วยเช่นกัน สำหรับโรคอื่น ๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก ฯลฯ หากเป็นแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปหาคุณหมอให้เร็วที่สุด และไม่ควรซื้อยากินเองนะคะ
บทความ : อัปเดตล่าสุด ตารางการให้วัคซีนเด็กไทยประจำปี 2560 เช็คเลย!
11.ป้องกันจากการจมน้ำ
ประเทศไทยกับแหล่งน้ำ คือของที่อยู่คู่กันมายาวนานนะคะ สำหรับสาเหตุที่เด็ก ๆ จมน้ำนั้นหลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าต้องเป็นในสระน้ำหรือแม่น้ำเสมอไป แต่สำหรับเด็กเล็ก ๆ ที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ แค่น้ำนองแค่เซนหรือสองเซนติเมตรก็สามารถทำให้เจ้าตัวเล็กอันตรายได้แล้วละค่ะ สิ่งสำคัญคือแหล่งน้ำภายในบ้าน เช่น โอ่ง ไห กะละมัง ขัน หรือแม้แต่ชักโครกที่ควรจะปิดอยู่เสมอ และเด็ก ๆ ไม่สามารถเปิดเองได้
บทความ : รู้ก่อนดีกว่า อย่าปล่อยให้เด็กจมน้ำ เรื่องสะเทือนใจของชีวิต
12.ป้องกันจากการแกล้งที่รุนแรง
แม้คุณพ่อคุณแม่จะป้องกันไม่ได้โดยตรง เพราะแน่นอนว่าเหตุที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นโรงเรียนหรือเนิสเซอรี่ แต่การป้องกันทางอ้อมอย่างการผูกมิตรกับเด็ก ๆ ที่เป็นเพื่อนของลูก พ่อแม่ของเด็ก ๆ และคุณครูเอาไว้ ก็จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการโดนเพื่อน ๆ แกล้งรุนแรงได้ค่ะ
นอกจากนี้ ควรสอนให้ลูกรู้จักป้องกันตัวเองเบื่องต้น รวมทั้งวิธีแก้ปัญหาอย่างการรีบไปบอกผู้ใหญ่ หรือทักษะการเอาตัวรอดให้พ้นจากที่ตรงนั้นให้เร็วที่สุด
บทความ : ใครมีลูกวัยเรียนต้องอ่าน “สอนลูกให้รับมือกับการถูกแกล้ง” งานนี้ต้องรอด!
13.ป้องกันจากคนแปลกหน้าและคนคุ้นเคย
ภัยอันตรายมีอยู่รอบตัวนะคะ แม้คุณพ่อคุณแม่จะแน่ใจว่าลูกอยู่ในหูในตาตลอด คิดว่าปลอดภัยแล้ว แต่มันก็ยังไม่ได้ปลอดภัยที่สุดอยู่ดี การสร้างเงื่อนไขระมัดระวังภัยจากคนแปลกหน้า และเดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่คนแปลกหน้าแล้วค่ะ คนที่คุ้นหน้าคุ้นตาดี ก็ยังไม่ปลอดภัยอยู่ดีน่ะแหละ ดังนั้นถ้าจะให้ชัวร์คุณพ่อคุณแม่จึงต้องมีเงื่อนไขกับลูก เช่นการโทรเช็ค หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถรู้ได้ว่าลูกอยู่ที่ไหน เช่น GPS หรืออื่น ๆ ค่ะ
บทความ : สอนลูกอย่างไรให้ปลอดภัยจากคนแปลกหน้า บทเรียนจากน้องการ์ตูน
ที่มา CDC helpourbabies who.int และ สสส.
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ความสำคัญในการนอนของเด็ก ประโยชน์ และเทคนิคดูแลลูกเพื่อป้องกันอันตราย
วิธีฝึกลูกลุกนั่งเอง ลูกวัยทารก นั่ง ลุก ยืน ตอนกี่เดือน พัฒนาการทารก ลุก นั่ง ยืน เดิน ทำได้ตอนกี่เดือน
มาดูความน่ารักของพ่อครัวตัวน้อย ที่มีผู้ติดตามถึง 2.4 ล้านบน Instagram
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!