X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีป้องกันลูกน้อย จากการตายเฉียบพลัน

บทความ 3 นาที
วิธีป้องกันลูกน้อย จากการตายเฉียบพลัน

วิธีป้องกันลูกน้อย จากการตายเฉียบพลัน เพราะภัยอันตรายที่สุดมักจะมาเงียบที่สุด ภัยร้ายที่คร่าลูกยามหลับ มีวิธีป้องกันได้นะคะ เพียงเเค่คุณพ่อคุณเเม่...

วิธีป้องกันลูกน้อย จากการตายเฉียบพลัน

วิธีป้องกันลูกน้อย จากการตายเฉียบพลัน เเม้จะไม่ได้เป็นเรื่องยาก เเต่สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน ก็ยังเป็นการตายเฉียบพลัน หรือ SIDS อยู่ดีค่ะ

อัตราการเสียชีวิตจาก SIDS ลดลงเพราะ…

มีการเเนะนำให้เด็กทารกเเรกเกิดถึง 12 เดือน นอนหงายเเทนการนอนคว่ำหรือนอนตะเเคงค่ะ อัตราการเสียชีวิตลดลงถึง 50% เลยทีเดียว เเต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม SIDS ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ อยู่ดี เนื่องจากทุกปียังมีเด็กจำนวนถึง 2,000 คน เสียชีวิตด้วยโรค SIDS อยู่ดีค่ะ

ดังนั้นมีไม่กี่เรื่องหลักๆ ที่สามารถป้องกันการเสียชีวิตเฉียบพลันของเด็กๆ ได้ ซึ่งได้เเก่

1.ไม่ใส่ตุ๊กตานุ่มนิ่มไว้ในเตียงลูก

คุณพ่อคุณเเม่อาจจะคิดว่าตุ๊กตาตัวเล็กๆ กับลูกนั้นเป็นสิ่งที่น่ารัก ใช่ค่ะ ไม่ผิดหรอก ถ้าเเค่วางเพื่อการถ่ายรูปน่ะนะ เเต่ตุ๊กตานุ่มนิ่ม หมอนใบเล็กๆ สามารถอุดกั้นจมูกเเละปาก ทำให้ลูกหายใจได้ยากขึ้น หรือถึงขั้นหายใจไม่ออกได้ค่ะ

2.ไม่ใส่ผ้าห้มไว้ในเตียงของลูก

ด้วยเหตุผลเดียวกันกับในข้อ 1 ผ้าห้มอาจอุดกันทางเดินหายใจของลูกได้ หากคิดว่าลูกหนาวเกินไป ให้เเต่งตัวลูกให้หนาขึ้นอีก อาจจะใส่เสื้อผ้าให้หนาขึ้นอีกชั้น 2 ชั้นก็ได้ค่ะ เเต่ก็ต้องระวังไม่ให้ลูกร้อนเกินไปเช่นกันนะคะ

3.ระวังเเละควบคุมอุณหภูมิ

เเต่งตัวลูกให้เหมาะสมกับอุณหภูมิค่ะ เนื่องจากเด็กๆ ยังปรับตัวกันอุณหภูมิได้ไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่ ใช้วิธีสังเกตลูกค่ะว่า มีเหงื่อไหม มือเท้าเย็นไหม เพราะบางทีอุณหภูมิที่ผู้ใหญ่เรารู้สึกว่าสบาย ลูกอาจจะหนาวไปหรือร้อนไปได้ค่ะ

4.ดึงผ้าปูให้ตึง

ผ้าปูเตียงต้องไม่นิ่ม ไม่เป็นขุย ใช้ผ้าปูเตียงธรรมดา ดึงให้ตึงที่สุด ผ้าจะไม่ไปอุดกั้นระบบทางเดินหายใจค่ะ

5.ให้ลูกนอนหงาย

ท่านอนหงายคือท่าที่ปลอดภัยที่สุดค่ะ หากคุณพ่อคุณเเม่กังวลเรื่องการนอนหงายจะทำให้ลูกหัวเเบน ลองหาหมอนที่รูปทรงเหมือนโดนัท มีรูตรงหลาง ก็พอจะช่วยได้เช่นกันนะคะ

เด็กบางคนเเม้คุณพ่อคุณเเม่จะจับนอนหงาย เด็กๆ ก็จะหงายกลับมาคว่ำเองได้ เเม้เด็กส่วนใหญ่จะยังไม่มีเเรงที่จะคว่ำเองได้ เเต่เด็กบางทีก็ทำได้ค่ะ วิธีนี้ให้ใช้หมอนจัดท่าช่วยก็ได้ เเต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญอีกส่วน บอกว่าหมอนจัดท่าก็อาจจะให้ผลเช่นเดียวกับหมอนหรือตุ๊กตานุ่มนิ่ม อุดกั้นทางเดินหายใจเด็กๆ ได้เช่นกันค่ะ

6.อย่านอนกับลูก

Advertisement

เเม้จะมีทฤษฎีที่ออกมาบอกว่าการนอนกับลูกช่วยป้องกัน SIDS ได้ เเต่ก็มีอีกหนึ่งทฤษฎีที่บอกว่าการนอนกับคุณพ่อคุณเเม่อาจจะทำให้เด็กๆ เสียชีวิตเฉียบพลันได้จากปัจจัยอื่นๆ เช่น ผ้าห่ม หมอน หรือการกลิ้งทับลูกของพ่อแม่ค่ะ

มีงานวิจัยหนึ่งที่เปรียบเทียบระหว่างเด็กเเรกเกิดถึง 3 เดือน กลุ่มที่นอนเเยกออกมา กับกลุ่มที่นอนกับพ่อแม่ พบว่า กลุ่มที่นอนกับพ่อแม่นั้นมีความเสี่ยงถึง 5 เท่าที่จะเสียชีวิตด้วย SIDS เเต่หากคุณพ่อคุณเเม่ยังกังวลอยู่ ให้ลากเตียงลูกมาอยู่ใกล้ๆ หรือติดกับเตียงของคุณพ่อคุณเเม่ก็ได้เช่นกันค่ะ

ประมาณ 90% ของเด็กที่เสียชีวิตด้วย SIDS เกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เเละเด็กที่อายุมากกว่า 1 ขวบ ก็จะยิ่งเสี่ยงเสียชีวิตด้วย SIDS น้อยลงไปอีกค่ะ เนื่องจากเด็กๆ ที่โตขึ้น สามารถตื่นมาร้องไห้ได้เร็วเเละดีกว่า เเละสามารถควบคุมการหายใจของตัวเองได้ค่ะ

ที่มา Familyshare

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ครึ่งหนึ่งของเด็กทารกเสียชีวิตเฉียบพลัน (SIDS) มาจากการนอนบนเตียงที่ไม่ปลอดภัย

โรคไหลตาย (SIDS) มัจจุราชเงียบคร่าชีวิตลูกน้อย

parenttown

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • วิธีป้องกันลูกน้อย จากการตายเฉียบพลัน
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว