TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คาร์ซีท ใช้ตอนกี่เดือน ทารกแรกเกิดนั่ง Car Seat ได้ไหม

บทความ 3 นาที
คาร์ซีท ใช้ตอนกี่เดือน ทารกแรกเกิดนั่ง Car Seat ได้ไหม

อุบัติภัยในการเดินทางด้วยรถยนต์เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย การใช้ car seat จะสามารถช่วยปกป้องสมองและไขสันหลังของเด็ก จากการถูกทำลายจากแรงกระแทก หากเกิดอุบัติเหตุได้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก สำหรับเด็กในการเดินทางที่อยากจะสนับสนุนให้ทุกบ้านใช้กันอย่างถูกต้อง และเคร่งครัด

คาร์ซีท ใช้ตอนกี่เดือน ทารกแรกเกิดนั่ง Car Seat ได้ไหม

เจาะลึก  Car Seat อุปกรณ์จำเป็นเพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ กับคำถามที่พบบ่อย คาร์ซีท ใช้ตอนกี่เดือน ทารกแรกเกิดนั่ง Car Seat ได้ไหม

การเลือกใช้ car seat จะขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัวของเด็กเป็นหลัก ดังนี้ค่ะ

  • carseat ทารกแรกเกิด จนถึงอย่างน้อยอายุ 2-4 ปี

ควรใช้ car seat สำหรับเด็กเล็กเป็นที่นั่งแบบปรับให้หันหน้าไปด้านหลังรถ (Rear-facing car seat) เดิม car seat แบบนี้ แนะนำให้ใช้จนถึงอายุ 2 ปี แต่ในการศึกษาวิจัยในปัจจุบันแนะนำให้เด็กนั่ง car seat แบบหันหน้าไปด้านหลังรถให้นานที่สุดจนกว่าอายุ 4 ปีหรือตัวโตจนความสูงเกินขนาดของ car seat ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสเกิดการหักของกระดูกต้นคอหากเกิดอุบัติรุนแรง

  • carseat เด็กอายุ 2-3 ปี จนถึง 4-7 ปี

สามารถใช้ car seat เป็นที่นั่งแบบหันมาด้านหน้าตามปกติ (Forward-facing car seat) โดยมีขนาดที่ครอบคลุมทั้งลำตัวและศีรษะเด็ก โดยมีสายรัดลำตัว เป็นเข็มขัดนิรภัยแบบ 5 จุดติดตั้งมาพร้อมที่นั่ง ยึดติดกับรถด้วยเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์

  • เด็กอายุ 4-7 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี

ควรใช้ car seat แบบ เป็นที่นั่งแบบหันมาด้านหน้าเช่นเดิม จนกว่าจะโตจนความสูงเกินขนาดของ car seat หรือ น้ำหนักตัวมากกว่า 18 กิโลกรัม ก็สามารถเปลี่ยนมาใช้ที่นั่งแบบหันไปด้านหน้า ไม่มีสายรัดติดตั้งมากับที่นั่ง ( Belt-positioning booster seat) เพื่อเสริมความสูงให้กับเด็กและปรับตำแหน่งเข็มขัดนิรภัยของรถให้พอดีกับลำตัวเด็ก

  • เด็กอายุมากกว่า 10 ปี

หรือนํ้าหนักมากกว่า 28 กก. สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยปรกติที่มีใน รถยนต์ได้ โดยไม่ต้องใช้ booster seat ทั้งนี้เมื่อคาดเข็มขัดนิรภัยแล้วสายคาดควรอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และไม่ทำให้เกิดอันตรายแก่เด็ก

 

หมายเหตุ

  • ปรับตำแหน่งสายเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ให้พอดีกับลำตัวเด็กเสมอ เพื่อกระจายแรงกระแทก ตำแหน่งของเข็มขัดนิรภัยต้องเหมาะสมกับตัวเด็ก โดย ตำแหน่งของเข็มขัดนิรภัยที่เหมาะสมกับตัวเด็ก คือ สายพาดเฉียงข้ามไหล่ ต้องอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของไหล่ด้านที่สายพาดผ่านกึ่งกลางหน้าอก ห้ามพาดอยู่บนคอของเด็ก ส่วนสายพาดบริเวณหน้าตัก ต้องอยู่ต่ำและพาดผ่านส่วนบนของโคนขา ห้ามพาดอยู่บนสะโพกของเด็ก (หากสายพาดเฉียงข้ามไหล่พาดผ่านหัวหรือหน้าเด็ก หรืออยู่สูงกว่าตัวเด็ก หรือสายพาดบริเวณหน้าตักพาดอยู่บนท้องเด็ก แสดงว่าเด็กคนนั้นยังไม่สามารถใช้สายเข็มขัดนิรภัยปรกติที่มีใน รถยนต์โดยไม่ต้องใช้ booster seat ได้ซึ่งอันตรายมากค่ะ)
  • การติดตั้งคาร์ซีทที่ถูกต้องสำหรับเด็ก คือ อยู่ที่เบาะหลัง ซึ่งเป็นตำแน่งที่ปลอดภัยกว่าเบาะหน้า และหากวางไว้ที่เบาะหน้าอาจจะได้รับอันตรายจากถุงลมนิรภัยกระแทกได้
  • การใช้ car seat มือสอง สามารถทำได้ แต่ควรเลือกให้เหมาะสม อย่าใช้อันที่มีอายุการใช้งานนานเกินไป โดยเฉลี่ยไม่ควรเกิน 5-6 ปี โดยควรเช็คดูโครงสร้างปกติ อุปกรณ์ต่างๆ มีอยู่ครบถ้วน

ขอย้ำอีกครั้งว่าการป้องกันอุบัติเหตุจากการเดินทางในเด็กนอกจากการขับขี่ยานพาหนะอย่างระมัดระวังแล้ว การใช้ car seat ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลานะคะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เตือนภัย!!! รถชนลูกเเค่ขาหัก ถ้าไม่นั่งคาร์ซีทอาจตายไปเเล้ว

เจ๋ง! อุปกรณ์ช่วยเด็กติดในรถ พร้อมส่งสัญญาณแจ้งเตือน

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • คาร์ซีท ใช้ตอนกี่เดือน ทารกแรกเกิดนั่ง Car Seat ได้ไหม
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว